ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์
ความหมายของความคิดสร้างสรรค์เชิงวิทยาศาสตร์
องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
ขั้นตอนการเกิดความคิดสร้างสรรค์
การสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
การวัดความคิดสร้างสรรค์
หน้าหลักสืบค้น
|
นักการศึกษาหลายท่านเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ไว้ เช่น
กัมปนาท วัชรธนาคม (2534 : 67) ได้เสนอแนวทางปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้
1. ให้การยอมรับผลงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน
2. สนับสนุนแนวความคิดใหม่
3. สนับสนุนให้นักเรียนได้ชมการสาธิตและได้ทำการทดลองด้วยตนเอง
4. กำหนดให้นักเรียนทำงานในลักษณะที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์
5. สนับสนุนงานโครงการหรืองานวิจัยที่มีลักษณะที่เป็นความคิดสร้างสรรค์
6. จัดการเรียนการสอนที่เป็นแบบสืบเสาะหาความรู้
7. จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกการใช้ความคิด จากภาพปริศนาทางวิทยาศาสตร์
8. ผู้สอนจะต้องคิดสร้างสรรค์วิธีการสอนด้วยตนเอง
9. เปิดโอกาสให้นักเรียนเริ่มและรับผิดชอบในการพิจารณาหัวข้อการเรียนที่นักเรียนสนใจและปรารถนาที่จะเรียน
10. ไม่เน้นงานที่เป็นทีมมาเกินไป
11. สนับสนุนการผลิตหรือการปรับปรุงเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
12. แสดงผลงานที่มีลักษณะสร้างสรรค์ ซึ่งผลิตโดยนักเรียนอื่นให้นักเรียนในชั้นได้ทราบ
13. ส่งเสริมการแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์หลายๆรูปแบบ เช่นการทดลองศิลปะ และการประพันธ์ เป็นต้น
14. ส่งเสริมการสืบเสาะหาความรู้ การคิดค้น และการประดิษฐ์สิ่งใหม่
15. ปรับปรุงช่วงเวลาในการอภิปรายปัญหาต่างๆ ในชั้นเรียนให้เหมาะสม
ณัฎพงษ์ เจริญพิทย์ (2539 : 54) ได้เสนอแนวทางในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ไว้ ดังนี้
1. พึงให้การส่งเสริมแรงด้วยการยกย่อง หรือแสดงความยินดีตามความเหมาะสมในทุกโอกาสที่บุคคลแสดงออกว่ามีความคิดหรือกระทำที่สร้างสรรค์ในทางวิทยาศาสตร์
2. พึงกระตุ้นให้บุคคลแสดงออก ซึ่งจินตนาการในทางวิทยาศาสตร์ ในลักษณะที่สัมพันธ์กับการคิดแบบอเนกนัยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การเล่น การตอบคำถาม การสัมผัส หรือสำรวจสิ่งแวดล้อมที่มีความหลากหลาย
3.พึงยอมรับการแสดงออกและผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่มีลักษณะแปลกประหลาดของบุคคลและพึงถือว่าคำถามการแสดงออกและผลงานที่มีลักษณะดังกล่าวมีคุณค่าด้วยจริงใจ
4. พึงตอบคำถามทางวิทยาศาสตร์ที่มีเนื้อหาสาระแปลกๆ อย่างตรงไปตรงมาด้วยความตั้งใจ ด้วยความอบอุ่นและเป็นกันเอง
5. พึงให้กำลังใจประคับประคองและช่วยเหลือ แนะนำในทุกโอกาสที่บุคคลยังไม่ประสบความสำเร็จ หรือมีความล้มเหลวในการคิด การแสดงออกและการกระทำเชิงสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
6. พึงให้โอกาสสูงสุดแก่บุคคลที่มีวุฒิภาวะทางความคิดต่ำกว่าได้มีส่วนร่วมในการวางแผนและดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ในทางวิทยาศาสตร์อย่างเหมาะสม
7. พึงให้โอกาสบุคคลได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การทดลอง การสำรวจ การอ่าน การทัศนศึกษา รวมทั้งให้มีโอกาสถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความคิดกับบุคคลอื่น
อ้างอิงจาก
กัมปนาท วัชรธนาคม. (2534). การศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตการศึกษา 11. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณัฎพงษ์ เจริญพิทย์. (2539). ทางเลือกในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ : แนวคิดและ
แนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ดวงกมล.
|