วิธีการหาความหนาแน่นของประชากรโดยการวางแปลง (Quadrant)

 

          

การใช้ควอแดรท (Quadrant) เหมาะกับการหาความหนาแน่นของพืชในป่า หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่กับที่ หรือเคลื่อนที่ได้ช้า ควอแดรท คือพื้นที่ ที่ จะเก็บตัวอย่างนิยมทำเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส เก็บตัวอย่างมาจากหลายๆ ควอแดรทแล้วนับจำนวนทั้งหมด ค่าของควอแดรทจะถูกต้องเพียงใดขึ้นอยู่กับ

 1.ทราบควอแดรทเหมาะสม (ถ้าในกิจกรรมคือควอแดทที่ควรหยุด)
 2. นับจำนวนสิ่งมีชีวิตทั้งหมดของแต่ละควอแดรทได้ถูกต้อง
 3. ตัวอย่างที่เก็บมาต้องเป็นตัวแทนที่แท้จริงของประชากรในพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งกระทำได้โดยการเก็บตัวอย่างแบบสุ่ม

 

วิธีการหาความหนาแน่นโดยการสร้างควอแดรท

1.  เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ได้แก่ เชือกฟาง / ไม้ปักมุม / สมุดบันทึก
2.  สุ่มพื้นที่ ไปยังพื้นที่ ที่จะสำรวจ จากนั้นหาพื้นที่โดยหลับตาหรือถอยหลังเดินประมาณ 10 ก้าว (หากพื้นที่ที่จะศึกษากว้างหรือมีพื้นมากหลายตารางกิโลเมตรอาจใช้วิธีการสุ่มพื้นศึกษาแบบอื่นที่เหมาะสมกับขนาดของแต่ละพื้นที่) จากนั้นโยนไม้ไปยังพื้นที่โดย  จะต้องไม่เจาะจงพื้นที่
3.  เริ่มกางควอแดทขนาด 1x1 จากนั้นสำรวจจำนวน และชนิด ของพืชพร้อมบันทึกข้อมูล
4.  การบันทึกข้อมูล   ทำ 2 แบบไปพร้อมๆกัน

แบบที่1  เป็นการเก็บข้อมูลดิบที่นักเรียนจะต้องบันทึกทั้งชนิดของพืช และจำนวน เช่น

พื้นที่ 1x1
 1.   ต้นสัก                            จำนวน                   1              ต้น
 2.    หญ้าคา                         จำนวน                  10           ต้น
 3.    หญ้าละออง                   จำนวน                  5              ต้น
 4.   ต้นลำใย                         จำนวน                 1              ต้น
 5.   ต้นย่านาง                       จำนวน                 1              เครือ

พื้นที่ 2x2
 1.   ต้นย่านาง                        จำนวน                   1              ต้น
 2.   ต้นยาง                             จำนวน                   1              ต้น
 3.   หญ้าคา                            จำนวน                   8              ต้น
 4.   ต้นลำใย                           จำนวน                   1              ต้น
 5.   ต้นขี้เหล็ก                         จำนวน                   1              ต้น

**** ถ้านักเรียนไม่ทราบชนิดของต้นไม้ให้แทนด้วบสัญลักษณ์ เช่น ต้นไม้ A  /หญ้า B เป็นต้น
****หากพื้นที่ใดมีจำนวนมากนับได้ยากให้ใช้การกะประมาณ เช่นหญ้าบางบริเวณมีมากอาจใช้การประมาณจำนวน

 

แบบที่2

พื้นที่

จำนวนชนิดใหม่

1x1

5

2x2

2

5.  จากนั้นเปลี่ยนควอแดรทจาก 1x1 เป็น 2x2 , 3x3  , 4x4 , 5x5 6x6…ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆโดยก่อนจะเปลี่ยนควอแดรทแต่ละควอแดรท เช่น จาก 1x1 เป็น 2x2 นักเรียนจะต้องหลับตาเดิน หรือถอยหลังเดิน 10 ก้าว แล้วค่อยโยนไม้แล้วค่อยกางพื้นที่ 2x2 ทำย่างนี้ทุกครั้งก่อนที่จะเปลี่ยนควอแดรท
6.  การหาแปลงหรือควอแดรทที่เหมาะสม ในการเพิ่มจำนวนควอแดรทนักเรียนจะทราบได้อย่างไรว่าควรหยุดเพิ่มจำนวนควอแดรทเมื่อใด  ให้ดูจากการเพิ่มของจำนวนสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่เมื่อเพิ่มจำนวนควอแดรทไปเรื่อยๆพบว่าเมื่อถึงควอแดรทที่เหมาะสมจำนวนชนิดใหม่จะไม่เพิ่ม หรือนำข้อมูลจากตารางบันทึกข้อมูลในแบบที่ 2 มาเขียนกราฟ โดยแกนตั้งเป็นจำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตแกนนอนเป็น พื้นที่ เช่น

 จากข้อมูลจำนวนแปลงที่เหมาะสมคือ 5x5 

7.  การวิเคราะห์ข้อมูล

          7.1  การหาจำนวนสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในพื้นที่ ทำได้โดยนำจำนวนสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดที่นับได้จนถึงควอแดรทที่เหมะสมหารด้วยจำนวนควอแดรทที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น
Ex  สมมติว่า ประชากรต้นสักที่เก็บได้จากตัวอย่างควอแดรท 5 ควอแดรท คือ ควอแดรทที่ 1x1 ,2x2 ,3x3 ,4x4 ,5x5 จำนวนทั้งหมดที่นับได้ 25 ต้น จำนวนต้นสัก = 25/5   = 5 ต้น

**ในการนับจำนวนของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะนับตั้งแต่ ควอแดรทที่ 1x1 ถึงควอแดรทที่เหมาะสมเท่านั้น ส่วนควอแดรทถัดไปจะไม่นำข้อมูลมาวิเคราะห์


          7.2  การหาความหนาแน่นของสิ่งมีชิวิต  หาได้จากนำจำนวนสิ่งมีชีวิตที่ได้หารด้วยพื้นที่ของควอแดรทที่เหมาะสม
ดังตัวอย่าง 7.1  มีประชากรต้นสัก 5 ต้น โดยควอแดรทที่เหมาะสมคือ 5x5 มีพื้นที่= 25 ตารางเมตร ดังนันความหนาแน่นของต้นสักในพื้นที่ จึงคำนาณได้ดังนี้
ความหนาแน่นของต้นสัก = 5/25  = 0.2 ต้น/ตารางเมตร
ประชากรของสิ่งมีชีวิตอื่นในควอแดนทก็คำนวณหาความหนาแน่นเช่นเดียวกัน หลังจากที่คำนวณหาความหนาแน่นเรียบร้อยแล้ว

การวิเคราะห์ผลถ้าสิ่งมีชีวิตใดมีความหนาแน่นสูงถือว่า เป็นสปีชีส์เด่นในพื้นที่ (Dominance species) ถ้าสิ่งมีชีวิตใดมีความหนาแน่นน้อยแสดงว่าเป็นสปีชีส์ด้อย (Recessive species)

*** ตัวอย่างที่นำเสนอเป็นการหาความหนาแน่นของพืชในป่า ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตหลายชนิด แต่หากสิ่งมีชีวิตที่เราศึกษาเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียว เช่น เพรียงหิน อาจสร้างควอแดรทขนาดเดิม แต่เก็บข้อมูลหลายครั้งแล้วหาค่าเฉลี่ยก็ได้
เช่น ใช้พื้นที่ 1X1 เมตร กางครั้งที่ 1 นับเพรียงเหินได้ 30 ตัว กางครั้งที่ 2 ขนาด 1X1 เท่าเดิม นับเพรียงหินได้ 28 ตัว กางคั้งที่ 3 (1x1) นับเพรียงหินได้ 21 ตัว ดังนั้นเพรียงหินบริเวณนั้นมี่ความหนาแน่น (30+28+21)/ 3 = 26.33 ตัวต่อตารางเมตร เป็นต้น

 

------------------------------------------------------------------------------------------------

[[:: เรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา :: โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ]]

 

 


กลับหน้าหลัก =>>