5. กลุ่มพฤติกรรมวิเคราะห์ (Behavioralism)

นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นศึกษาเฉพาะ "พฤติกรรมทีสังเกตได้" ซึ่งได้แก่ พฤติกรรมภายนอก
โดยเชื่อว่าเรา จะ ทราบถึงเรื่องราวของจิตก็โดยศึกษาจากพฤติกรรมที่แสดงออก จัดเป็นกลุ่มพลังที่ 2
(the second force) ในการอธิบายพฤติ กรรมในแนวใหม่ที่มุ่งทำความเข้าใจบุคคลจากสิ่งที่เป็นรูปธรรม

ผู้นำของนักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยม เช่น วัตสัน (John B. Watson, 1878-1858)
พาฟลอฟ (Ivan P. Pavlo, 1846-1926) และสกินเนอร์ (B.F. Skinner, 1904-1990)
ผลงานของนักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่ง นำไปใช้มากในการปรับพฤติกรรม

ความเชื่อของกลุ่มพฤติกรรมนิยม คือ พฤติกรรมทุกอย่างจะต้องมีสาเหตุพฤติกรรมเป็นการตอบสนอง
บุคคลต่อสิ่งเร้า มุ่งศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองซึ่งแยกย่อยไปได้เป็น 2 แนวคิด
คือ แนวคิดของทฤษฎีที่ว่าด้วยการกำหนดเงื่อนไข (The Conditioning theory) ทฤษฎีที่ว่าด้วย
ความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (The Connectioning theory) ทฤษฎีที่ว่าด้วยการกำหนด เงือนไข เชื่อว่าสิ่งเร้าสิ่งหนึ่ง
เมื่อไม่สามารถทำให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการ ต้องหาสิ่งเร้าอื่นที่เหมาะสมเข้าคู่ เพื่อทำให้เกิด พฤติกรรมนั้น
ส่วนทฤษฎีที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ต่อเนื่อง เชื่อว่าการตอบสนองหรือการกระทำใดก็ตามเมื่อได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
และ แก้ปัญหาได้ บุคคลจะจำการตอบสนองหรือการกระทำนั้นๆ ไปใช้ในสถานการณ์อื่นที่คล้ายสถานการณ์เดิมอีก

แนวคิดและทฤษฎีจากนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมเป็นแนวทางในการพัฒนาและควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในแง่มุมต่างๆ
โดยใช้สิ่งเร้าที่เลือกสรรแล้วมาเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม ซึ่งกลุ่มพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของ
บุคคลได้โดยใช้สิ่งเร้าที่บุคคลต้องการมากำหนดการกระทำ และการใช้แรงเสริมหรือรางวัลมาทำให้พฤติกรรมที่ต้องการเกิดซ้ำขึ้น
อีกจนกลายเป็นพฤติกรรมที่ถาวรและทำดีโดยสม่ำเสมอ แต่ขณะเดียวกันกลุ่มนี้ก็เน้นการลงโทษกับพฤติกรรมที่ไม่ดีด้วย โดยเชื่อ
ว่าการลงโทษจะทำให้บุคคลลดการทำไม่ดีเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษกับพฤติกรรมที่ไม่ดีด้วย โดยเชือว่าการลงโทษจะทำให้
บุคคลลดการทำไม่ดีเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ ซึ่งการให้รางวัลกับพฤติกรรมที่ดีและลงโทษพฤติกรรมที่ไม่ดีนี้ บุคคลอาจใช้
เพื่อพัฒนาตนเองที่นอกเหนือจากการพัฒนาคนอื่นได้ด้วย โดยให้รางวัลแก่ตนเองเมื่อสามารถควบคุมตนให้ทำดีได้ และอาจเพิ่ม
งานให้ตนเองในบางครั้งเมื่อพบว่าได้ละเลยงานในความรับผิดชอบไปบ้าง เป็นต้น

อ้างอิงจาก http://dit.dru.ac.th/home/023/human/05.htm

คุณคือผู้เยี่ยมชมคนที่

 Free Hit Counter
Hit Counter