4. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic theory)

    กลุ่มจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นความสำคัญของ "จิตไร้สำนึก" (uncoscious mind) ว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรม
กลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่ม "พลังที่หนึ่ง" (The first force) ที่แหวกวงล้อมจากจิตวิทยายุคเดิม นักจิตวิทยาใน
กลุ่มจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, 1856-1939)
และส่วนใหญ่แนวคิดในกลุ่มจิตวิเคราะห์นี้เป็นของฟรอยด์ซึ่งเป็นจิตแพทย์ ชาวออสเตรีย เขาอธิบายว่า

     จิตของคนเรามี 3 ส่วน คือ จิตสำนึก (conscious mind) จิตกึ่งรู้สำนึก (preconscious mind) และ
จิตไร้สำนึก (unconscious mind) ซึ่งมีลักษณะดังนี้
จิตสำนึก เป็นสภาพที่รู้ตัวว่าคือใคร อยู่ที่ไหน
ต้องการอะไร หรือกำลังรู้สึกอย่างไรต่อสิ่งใด เมื่อแสดงพฤติกรรมอะไรออกไปก็ แสดงออกไปตาม
หลักเหตุและผล แสดงตาม แรงผลักดันจากภายนอก สอดคล้องกับหลักแห่งความเป็นจริง (principle of reality)
จิตกึ่งรู้สำนึก เป็นจิตที่เก็บสะสมข้อมูลประสบการณ์ไว้มากมาย มิได้รู้ตัวในขณะนั้น แต่พร้อมให้ดึงออกมาใช้
พร้อมเข้ามา อยู่ในระดับจิตสำนึก เดินสวนกับคนรู้จัก เดินผ่านเลยมาแล้วนึกขึ้นได้รีบกลับไปทักทายใหม่
เป็นต้น และอาจถือได้ว่าประสบการณืต่างๆ ที่เก็บไว้ในรูปของความจำก็เป็นส่วนของจิตกึ่งรู้สำนึกด้วย
เช่น ความขมขื่นในอดีต ถ้าไม่คิดถึงก็ไม่รู้สึกอะไร แต่ถ้านั่ง ทบทวนเหตุการณ์ทีไรก็ทำให้เศร้าได้ทุกครั้งเป็นต้น
จิตไร้สำนึก เป็นส่วนของพฤติกรรมภายในที่เจ้าตัวไม่รู้สึกตัวเลย อาจเนื่องมาจากเจ้าตัวพยายามเก็บกดไว้
เช่น อิจฉาน้อง เกลียดแม่ อยากทำร้ายพ่อ ซึ่งเป็นความต้องการที่สังคมไม่ยอมรับ หากแสดงออกไปมักถูกลงโทษ
ดังนั้นจึงต้องเก็บกดไว้ หรือ พยายามที่จะลืม ในที่สุดดูเหมือนลืมได้ แต่ที่จริงไม่ได้หายไปไหนยัมีอยู่ในสภาพ
จิตไร้สำนึก จิตไร้สำนึกยังอาจเป็นเรื่องของอิด (id) ซึ่งมีอยู่ในตัวเรา เป็นพลังที่ผลักดันให้เราแสดงพฤติกรรม
ตามหลักแห่งความพอใจ (principle of plessure) แต่สิ่งนั้นถูกกดหรือ ข่มไว้จนถอยร่นไปอยู่ในสภาพที่เราไม่รู้ตัว
ส่วนของ

     จิตไร้สำนึกจะแสดงออกมาในรูปของความฝัน การละเมอ การพลั้งปากพูด การแสดงออกทางด้าน
จินตนาการ วรรณคดี ศิลป ผลงานด้านวิทยาศาสตร์ การกระทำที่ผิดปกติต่างๆ แม้กระทั่งการระเบิดอารมณ์
์ รุนแรงเกินเหตุ บางครั้งก็เป็นเพราะจิตไร้สำนึกที่เก็บกดไว้ ฟรอยด์มีความเชื่อว่า จิตไร้สำนึกมีอิทธิพลและ
มีบทบาทสำคัญต่อ บุคลิกภาพและการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์มากที่สุด ทั้งยังเชื่อว่าความก้าวร้าวและ
ความต้องการทางเพศเป็นแรงผลักดัน ที่ สำคัญ ต่อพฤติกรรม
นอกจากจิตสำนึก จิตกึ่งรู้สึกนึก และจิตไร้สำนึก
ฟรอยด์ได้แบ่งองค์ประกอบของพลังจิต (psychic energy) เป็น 3 ส่วน คือ id, ego และ super ego
ซึ่งเป็นแรงขับให้กระทำพฤติกรรมต่างๆดังนี้

     อิด (id) เป็นส่วนที่ติดตัวมาโดยกำเนิด จัดเป็นเรื่องของแรงขับตามสัญชาตญาณ ความอยาก ตัณหา เป็นส่วนของจิตที่กระตุ้น
ให้บุคคลแสดงพฤติกรรมตามหลักแห่งความพอใจ ถ้าบุคคลใดแสดงพฤติกรรมตาม id นั่นคือ พฤติกรรมนั้น เป็นไปเพื่อสนอง
ความต้องการของตนเองเป็นส่วนใหญ่

     อีโก้ (ego) เป็นพลังส่วนที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้มาแล้ว เป็นส่วนที่ควบคุมการแสดงพฤติกรรมของคนๆ นั้นให้ดำเนินไปอย่าง เหมาะสม
ทั้งภายใต้อิทธิพลของอิดและซุปเปอร์อีโก้ พยายามแก้ไขข้อขัดแย้งต่างๆ ของอิดและซุปเปอร์อีโก้ จนในที่สุดบางคนจะ ทุกข์ร้อน
วิตก กระวน กระวาย จนอาจถึงขั้นโรคจิตประสาท ถ้าความขัดแย้งดังกล่าวมีมาก วิธีหนึ่งที่เป็นทางออกของอีโก้ก็คือ
ปรับตนโดยการใช้กลไกการป้องกันตัว (defense mechsnism) ซึ่งหมายถึงการที่บุคคลพยายามแก้ไขความคับข้องใจของตนเอง
โดยที่มิได้จงใจ เป็นไปเพื่อรักษาหน้าและศักดิ์ศรี

     ซุปเปอร์อีโก้ (super ego) เป็นพลังจากสังคมที่เกี่ยวกับหลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม อุดมคติในการดำเนินชีวิต
เป็นพลัง ส่วนที่ควบคุมให้บุคคลแสดงพฤติกรรมโดยสอดคล้องกับหลักแห่งความเป็นจริง (principle of reality)
เช่น บัญชาให้คนๆ นั้น เลือกกลไกการป้องกันตัวที่เหมาะสมมาใช้

     แนวคิดของฟรอยด์ส่วนใหญ่ได้มาจากการศึกษาคนปกติ เนื่องจากเขาเป็นจิตแพทย์ จึงมุ่งศึกษาสาเหตุความแปรปรวน
ทางแก้ ไขให้คืนดี แนวคิดของกลุ่มจิตวิเคราะห์นี้ช่วยให้เห็นความผิดปกติของพฤติกรรม เข้าใจ ผู้มีปัญหา และเป็นแนวทาง
ในการบำบัด รักษาความผิดปกติ และอาจจะเป็นแนวคิดแก่บุคคลทั่วไปในการระแวดระวัง ตัวเอง มิให้ตกเป็นทาสของ
จิตหรือความคิด ที่หมกมุ่น จนอาจส่งผลต่อความผิดปกติที่มากจนถึงขั้นอาการทางจิตประสาท

อ้างอิงจาก http://dit.dru.ac.th/home/023/human/05.htm

 

คุณคือผู้เยี่ยมชมคนที่
Free Hit Counter
Hit Counter