เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2560 สอบมีนาคม 2561

 

ดาวโหลดข้อสอบ O-net ปีการศึกษา 2560 สอบมีนาคม 2561

ข้อ 1 ( 4 )

ข้อ 2 ( 2 )

ข้อ 3 ( 3 )

ข้อ 4 ( 4 )

ข้อ 5 ( 4 )

ข้อ 6 ( 2 )

ข้อ 7 ( 3 )

ข้อ 8 ( 4 )

ข้อ 9 ( 2 )

ข้อ 10 ( 4 )

ข้อ 11 ( 5 )

ข้อ 12 ( 5 )

 

 

 

ข้อ 13 ( 4 )

ข้อ 14 ( 4 )

ข้อ 15 ( 2 )

 

 

 

 

สิ่งดีๆเกิดขึ้นได้เนื่องจากมีผู้สนับสนุน

ลิงก์ผู้สนับสนุน

ข้อ 6) นาย ก เคยเป็นโรคอีสุกอีใสตอนอายุ 8 ขวบ ต่อมามีการระบาดของโรคอีสุกอีใส แต่พบว่า นาย ก ไม่เป็นโรคนี้แล้ว ข้อใดกล่าวถึงระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของนาย ก ต่อเชื้อโรคอีสุกอีใส ได้ถูกต้อง (O-net 60)

1.   ร่างกายจะเกิดภูมิคุ้มกันแบบรับมา โดยมีเชื้อโรคอีสุกอีใสเป็นแอนติเจน
2.   ร่างกายจะเกิดภูมิคุ้มกันแบบก่อเอง โดยมีเชื้อโรคอีสุกอีใสเป็นแอนติเจน
3.   ร่างกายจะเกิดภูมิคุ้มกันแบบก่อเอง โดยมีเชื้อโรคอีสุกอีใสเป็นแอนติบอดี
4.   ร่างกายจะเกิดภูมิคุ้มกันแบบรับมา โดยมีเชื้อโรคอีสุกอีใสเป็นทั้งแอนติเจนและ แอนติบอดี
5.   ร่างกายจะเกิดภูมิคุ้มกันแบบก่อเอง โดยมีเชื้อโรคอีสุกอีใสเป็นทั้งแอนติเจนและแอนติบอดี

 


คำตอบข้อ 6 ) ตอบ  ( 2 ) ร่างกายจะเกิดภูมิคุ้มกันแบบก่อเอง โดยมีเชื้อโรคอีสุกอีใสเป็นแอนติเจน

เหตุผล
     ๐ ภูมิคุ้มกันแบบก่อเอง  (Active Immunization)  :: เป็นวิธีการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน   โดยการนำสารที่เป็นแอนติเจนซึ่งอาจเป็นเชื้อโรคที่อ่อนกำลังแล้วไม่สามารถที่จะทำอันตรายต่อร่างกาย นำมาฉีด กิน หรือทาที่ผิวหนังเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน   หรือจะสร้างแอนติบอดี ที่ทำปฏิกิริยาจำเพาะต่อแอนติเจนชนิดนั้น   เชื้อโรคที่ถูกทำให้อ่อนกำลังแล้ว   ที่นำมาให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีต่อต้านเชื้อนั้นเรียกว่า วัคซีน(vaccine)
     ๐ ดังนั้น กรณีที่นาย ก เป็นโรคอีสุกอีใสครั้งแรกเป็นการรับแอนติเจนคือเชื้ออีสุกอีใส เข้าไปกระตุ้น ให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อเชื้อได้ เมื่อเชื้อเข้ามาในครั้งที่สองระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ ก็จะสามารถผลิตแอนติบอดีมาต่อต้าน ได้รวดเร็วขึ้นจึงทำให้นาย ก ไม่ป่วยเป็นโรค
     ๐ สอดคล้องกับตัวเลือกข้อ ( 2 ) คือ ร่างกายจะเกิดภูมิคุ้มกันแบบก่อเอง โดยมีเชื้อโรคอีสุกอีใสเป็นแอนติเจน

 

ข้อ 7) กระบวนการแบ่งเซลล์ของกบ 2 รูปแบบดังแผนภาพ (O-net 60)

onet60

จากภาพจำลองการแบ่งเซลล์ของกบ ข้อใดกล่าวถูกต้อง
1.   ขั้นตอน 1A และ 2A ทำให้จำนวนชุดโครโมโซมเพิ่มขึ้นจาก 2n เป็น 4n
2.   ขั้นตอนที่ 1B ทำให้มีการแลกเปลี่ยนยีนของโครโมโซมคู่เหมือน
3.   ขั้นตอน 2B ทำให้เกิดการแปรผันทางพันธุกรรม
4.   ขั้นตอน 1C และ 2C ทำให้เกิดการแปรผันทางพันธุกรรม
5.   ขั้นตอน 1C และ 2C ทำให้จำนวนชุดโครโมโซมลดลงจาก 2n เป็น n


คำตอบข้อ 7 ) ตอบ  (3 ) ขั้นตอน 2B ทำให้เกิดการแปรผันทางพันธุกรรม

เหตุผล

     ขั้นตอน 2B เป็นการแบ่งเซลล์แบบไมโอซีสโดย 2B เป็นผลหลังจาก ฮอมอโลกัสโครโมโซมซึ่งมี 4 โครมาทิด มาเรียงตัวกันในระยะโพรเฟส I และอาจเกิดการไขว้กันของโครมาทิด เรียก ครอสซิงโอเวอร์ (Crossing over) ตำแหน่งที่ไขว้กันเรียก ไคแอสมา (chiasma) เป็นผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนของโครมาทิดต่างเส้นที่อยู่ชิดกัน สารพันธุกรรมจึงถูกแลกเปลี่ยนไปด้วย มีโอกาสเกิดการแปรผันทางพันธุกรรม

onet60

 
ข้อ 8) ชายคนหนึ่งตาบอดสี แต่งงานกับหญิงตาปกติ แล้วมีลูกชายคนแรกตาบอดสี ข้อใดกล่าวถึงลักษณะตาบอดสีในครอบครัวนี้ได้ถูกต้อง(O-net 60)

1.  ชายทุกคนจะตาบอดสี
2.  ลูกสาวทุกคนจะตาปกติ แต่เป็นพาหะ
3.  ลูกชายมีโอกาสตาบอดสีมากกว่าลูกสาว
4.  ลูกชายแต่ละคนมีโอกาสตาบอดสีร้อยละ 50
5.  ลูกชายและลูกสาวแต่ละคนมีโอกาสตาบอดสีร้อยละ 25

       


คำตอบข้อ 8 ) ตอบ (4) ลูกชายแต่ละคนมีโอกาสตาบอดสีร้อยละ 50

เหตุผล
     ๐ จากข้อมูล แสดงว่าชายตาบอดสีแต่งงานกับหญิงที่ตาปกติ แต่มีจีโนไทป์เป็นพาหะ โอกาาสที่ลูกจะแสดงจีโนไทป์ และแสดงลักษณะตาบอดสี และตาปกติตามแผนภาพ
     ๐ จากแผนภาพ โอกาสที่ลูกจะเป็นเพศชายตาปกติ คือร้อยละ 50 และโอกาสที่ลูกจะเป็นเพศชายตาบอดสี คือร้อยละ 50

Onet60

 
 

ข้อ 9) ข้อใดเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพไม่ถูกต้อง(O-net 60)

1. การตรวจหาคนร้ายโดยใช้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ
2. การระบุความต่างระหว่างแฝดร่วมไข่ด้วยลายพิมพ์ดีเอ็นเอ
3. การอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ให้มีลักษณะคงเดิมด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
4. การสร้างกระต่ายที่เหมือนกับกระต่ายต้นแบบด้วยการโคลนจากเซลล์ตับ
5. การสร้างแบคทีเรียที่ผลิตน้ำมันจากยีนของสาหร่ายด้วยการใช้โมเลกุลดีเอ็นเอลูกผสม


คำตอบข้อ 9 ) ตอบ (2)   การระบุความต่างระหว่างแฝดร่วมไข่ด้วยลายพิมพ์ดีเอ็นเอ

เหตุผล

        ๐ การระบุความต่างระหว่างแฝดร่วมไข่ด้วยลายพิมพ์ดีเอ็นเอ ข้อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะแฝดร่วมไข่ เกิดจากจากเซลล์ต้นแบบเซลล์เดียวกัน จึงมีข้อมูลพันธุกรรมภายในเซลล์ที่เหมือนกัน เมื่อนำมาตรวจสอบด้วยลายพิมพ์ดีเอ็นเอ จึงไม่สามารถระบุความแตกต่างได้

 
 
ข้อ 10) ข้อใดไม่ใช่ผลของการคัดเลือกทางธรรมชาติที่เกิดจากความแตกต่างของโครงสร้างร่างกาย(O-net 60)

1.  ยีราฟมีลำคอยาว เพื่อให้สามารถเล็มกินใบไม้บนต้นไม้สูงๆได้
2.   กระต่ายเลพัสมีขนสีขาวที่กลมกลืนกับหิมะ เพื่อช่วยพรางตัวในการหลบหลีกศัตรู
3.  สนุขจิ้งจอกทะเลทรายมีหาง หู และขายาว เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการระบายความร้อน
4.  กิ้งก่า ทะเลทรายมักออกหากินตอนกลางคืน เพื่อหลีกเลี่ยงอากาศร้อนในตอนกลางวัน
5.  นกจาบมีจะงอยปากใหญ่และแข็งแรงเพื่อให้สามารถกินเมล็ดพืชขนาดใหญ่และมีเปลือกแข็งได้

    


คำตอบข้อ 10 ) ตอบ ( 4 )  กิ้งก่า ทะเลทรายมักออกหากินตอนกลางคืน เพื่อหลีกเลี่ยงอากาศร้อนในตอนกลางวัน

เหตุผล

     ๐ เพราะ การที่ กิ้งก่า ทะเลทรายมักออกหากินตอนกลางคืน เพื่อหลีกเลี่ยงอากาศร้อนในตอนกลางวัน :: เป็นการปรับตัวด้านพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต ไม่จัดเป็น ผลของความแตกต่างของโครงสร้างร่างกาย


 
 
 
 

หน้าถัดไป >>

[ ข้อ 1-5 ] / [ ข้อ 6-10 ] / [ ข้อ 11-15 ]

 

 

 

 
 
 

 


กลับหน้าหลัก

พัฒนาโดย ครูนันทนา สำเภา
ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

ช่องทางติดตามผลงงานทาง Youtube ::

ติดตามผลงานทางแฟนเพจเฟสบุ๊ค  ::