เฉลยคำถามท้ายบทที่ 10
                                                          การลำเลียงของพืช

  

 

 5. จากการทดลองวัดอัตราการคายน้ำ กับกิ่งชบา 4 กิ่ง โดยให้แต่ละกิ่งมีจำ นวนใบเท่ากันและ มีพื้นที่รวมของผิวใบเท่ากัน โดยทำ การทดลองดังนี้
     กิ่งที่ 1 ไม่ทาวาสลิน
     กิ่งที่ 2 ทาวาสลินที่ผิวใบด้านบนและผิวใบด้านล่างของทุกใบ
     กิ่งที่ 3 ทาวาสลินที่ผิวใบด้านบนทุกใบ
     กิ่งที่ 4 ทาวาสลินที่ผิวใบด้านล่างทุกใบ เมื่อนำ แต่ละกิ่งมาทำ การทดลองวัดอัตราการคายน้ำ พบว่าได้ผลดังกราฟ         

การคายน้ำ ของกิ่งที่ 1-4 เทียบได้กับเส้นกราฟใด

แนวคำตอบ

ตอบ ( ก. )
      คำ อธิบาย ปริมาณน้ำ ที่พืชคายน้ำ ออกมาจะเกี่ยวข้องกับจำนวนใบ และการทาวาสลินซึ่ง จะปิดรูปากใบของพืช ทำ ให้พืชไม่สามารถคายน้ำ ผ่านปากใบบริเวณนั้นได้

     กิ่งที่ 1
ไม่ทาวาสลิน พืชจึงมีอัตราการคายน้ำ สูงที่สุด เทียบได้กับเส้นกราฟ A

     กิ่งที่ 2 ทาวาสลินที่ผิวใบด้านบนและผิวใบด้านล่างของทุกใบ พืชจึงมีอัตราการคายน้ำ ต่ำ ที่สุด เทียบได้กับเส้นกราฟ D

     กิ่งที่ 3 ทาวาสลินที่ผิวใบด้านบนทุกใบ ซึ่งชบาเป็นพืชบก โดยทั่วไปจะพบปากใบที่ผิวใบ ด้านล่างมากกว่าผิวใบด้านบน พืชจึงมีอัตราการคายน้ำ สูง มากกว่ากิ่งที่ 4 แต่ น้อยกว่ากิ่งที่ 1 เทียบได้กับเส้นกราฟ

     กิ่งที่ 4 ทาวาสลินที่ผิวใบด้านล่างทุกใบ พืชยังมีการคายน้ำ ได้บ้างทางรูปากใบที่ผิวใบ ด้านบน จึงมีอัตราการคายน้ำ สูงกว่ากิ่งที่ 2 แต่คายน้ำ ได้น้อยกว่ากิ่งที่ 3 ซึ่งทาวาสลินที่ผิวใบด้านบน เทียบได้กับเส้นกราฟ C ดังนั้นการคายน้ำ ของชบากิ่งที่ 1-4 จึงแทนด้วยเส้นกราฟ A D B และ C ตามลำดับ

 

 

         

 

หน้าหลัก .............<<<< ก่อนหน้า..............ถัดไป >>>>


อ้างอิงจาก :
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ชีววิทยาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3 ฉบับเผยแพร่ 2563.