เฉลยคำถามท้ายบทที่ 12
                                             การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช

  

 

5.จงใส่เครื่องหมายถูก ( / ) หน้าข้อความที่ถูกต้อง ใส่เครื่องหมายผิด (×) หน้าข้อความที่ ไม่ถูกต้อง และขีดเส้นใต้เฉพาะคำ หรือส่วนของข้อความที่ไม่ถูกต้อง และแก้ไขโดยตัดออก หรือเติมคำ หรือข้อความที่ถูกต้องลงในช่องว่าง

ตอบ

( / )             

5.1 ออกซินมีประโยชน์ต่อการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชโดยจะกระตุ้น การสร้างรากพิเศษในกิ่งตอน

 

( / )           

5.2 เกษตรกรใช้จิบเบอเรลลินช่วยให้ก้านของผลองุ่นยืดยาวและทำ ให้ผลองุ่น มีขนาดใหญ่ขึ้น

 

( X )           

5.3 เอทิฟอนเป็นสารสังเคราะห์ที่มีสมบัติเหมือนกรดแอบไซซิก นำ มาใช้เพื่อเพิ่ม ผลผลิตน้ำ ยางพารา

 แก้ไขเป็น เอทิลีน

 

( X )          

5.4 พืชตอบสนองต่อการขาดน้ำ ในดินโดยการสร้างเอทิลีน ทำ ให้ปากใบปิด

แก้ไขเป็น กรดแอบไซซิก

 

( / )           

5.5 ออกซินและไซโทไคนินชักนำ การเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อเป็นยอด ลำ ต้น และรากในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

 

( / )           

5.6 เอทิลีนเป็นฮอร์โมนพืชที่มีสถานะแก๊ส ช่วยเร่งการสุกของผลไม้โดยทำ ให้ผลไม้ มีอัตราการหายใจเพิ่มขึ้น

 

( / )           

5.7 การโค้งเข้าหาแสงของโคลีออพไทล์เกิดขึ้นเนื่องจากแสงกระตุ้นให้ปลายด้าน โคลีออพไทล์ที่ได้รับแสงมากลำ เลียงออกซินไปด้านที่ได้รับแสงน้อยแล้วกระตุ้น ให้เซลล์ยืดตัวยาวมากกว่าด้านที่ได้รับแสงมาก โคลีออพไทล์จึงโค้งเข้าหาแสง

 

( X )           

5.8 การกางแผ่นใบออกรับแสงในเวลากลางวันและการหุบใบในเวลากลางคืนและ การบานของดอกไม้บางชนิดในเวลากลางวันและหุบในเวลากลางคืนเป็นการ ตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชอย่างมีทิศทางสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้าภายนอก

แก้ไขเป็น ไม่สัมพันธ์

 

( / )            

5.9 รากพืชเจริญเติบโตเข้าสู่บริเวณที่มีน้ำ มาก ซึ่งอาจไม่เป็นทิศทางเดียวกับ แรงโน้มถ่วงของโลกจัดเป็นการตอบสนองของพืชแบบทรอพิซึม

 

( X )            

5.10 เมื่อเพาะเมล็ดข้าวโพดในที่มืด พบว่า รากข้าวโพดเจริญเติบโตลงสู่ด้านล่างจัด เป็นการเบนหนีแรงโน้มถ่วงของโลกและปลายยอดข้าวโพดเจริญเติบโตขึ้นสู่ ด้านบนจัดเป็นการเบนเข้าหาแรงโน้มถ่วงของโลก

แก้ไขเป็น การเบนเข้าหาแรงโน้มถ่วงของโลก และการเบนหนีแรงโน้มถ่วงของ โลก

 

 

 

 

                                                                      

หน้าหลัก ...............<<<< ก่อนหน้า.....................ถัดไป >>>>


อ้างอิงจาก :
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ชีววิทยาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3 ฉบับเผยแพร่ 2563.