เฉลยคำถามท้ายบทที่ 9
                                                          โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก

  

 

9. จากรูปเนื้อเยื่อพืชตัดตามขวาง
9.1 แสดงโครงสร้างภายในของใบพืชชนิดหนึ่ง ให้ระบุชื่อเนื้อเยื่อ เซลล์ หรือ
ส่วนประกอบของใบพืชลงตามหมายเลข 1-9 พร้อมทั้งระบุหน้าที่

ตอบ  

หมายเลข 1

 

คือ เอพิเดอร์มิสด้านบน มีหน้าที่ ป้องกันเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านใน

หมายเลข 2

 

คือ แพลิเซดมีโซฟิลล์ มีหน้าที่ สังเคราะห์ด้วยแสง

หมายเลข 3

 

คือ สปองจีมีโซฟิลล์ มีหน้าที่ สังเคราะห์ด้วยแสง เป็นชั้นที่มีช่อง
อากาศขนาดใหญ่จำนวนมากสำหรับเก็บอากาศ

หมายเลข 4

 

คือ ไซเล็ม มีหน้าที่ ลำเลียงน้ำและธาตุอาหารไปสู่ส่วนต่าง ๆของใบพืช

หมายเลข 5

 

คือ โฟลเอ็ม มีหน้าที่ ลำเลียงอาหารที่ใบสังเคราะห์ไปสู่ส่วนต่าง ๆของพืช

หมายเลข 6

 

 

คือ ช่องอากาศ มีหน้าที่ เก็บอากาศเพื่อให้ได้ออกซิเจนมากพอไว้ใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของเซลล์ และเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ไว้สำหรับใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

หมายเลข 7

 

คือ เอพิเดอร์มิสด้านล่าง มีหน้าที่ ป้องกันเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านใน

หมายเลข 8

 

คือ เซลล์คุม มีหน้าที่ เกี่ยวกับการเปิดปิดของปากใบ

หมายเลข 9

 

 

คือ รูปากใบ มีหน้าที่ เป็นช่องทางแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างใบพืชกับอากาศภายนอกใบพืช และเป็นช่องทางระเหยของน้ำจากภายในออกสู่ภายนอกในรูปของไอน้ำ

9.2 จากรูปวาดพืชชนิดหนึ่งพบปากใบอยู่ที่เอพิเดอร์มิสด้านบน และมีโครงสร้างในชั้นสปองจีมีโซฟิลล์เรียงตัวกันอย่างหลวม ๆ และพบเซลล์ ก. อยู่ที่ชั้นนี้

9.2.1 เซลล์ ก. คือ เซลล์ชนิดใด ทำหน้าที่อะไร
ตอบ
     สเกลอรีด ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงกับโครงสร้างของใบ

 

9.2.2 หากพิจารณาจากโครงสร้างของใบพืชนี้จะเป็นพืชที่เจริญเติบโตอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบใด เพราะเหตุใด
ตอบ
     เมื่อพิจารณาโครงสร้างของใบพืช พืชนี้เป็นพืชที่เจริญเติบโตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำสูงถึงใบด้านล่างหรือใบปริ่มน้ำ เนื่องจากไม่พบปากใบที่เอพิเดอร์มิสด้านล่างของใบ แสดงว่าด้านล่างของใบพืชชนิดนี้ไม่สัมผัสกับอากาศแต่จะสัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่ไม่มีอากาศหรือมีอากาศน้อย นั่นคือน้ำ ประกอบกับโครงสร้างของชั้นสปองจีมีโซฟิลล์มีการจัดเรียงตัวกันแบบหลวม ๆ ทำให้เกิดช่องอากาศขนาดใหญ่ ซึ่งใช้เป็นพื้นที่เก็บสะสมอากาศไว้ใช้ในกระบวนการเมแทบอลึซึมต่าง ๆ และช่องอากาศขนาดใหญ่นี้ช่วยให้ใบพืชมีน้ำหนักเบาและลอยน้ำได้ นอกจากนี้ปากใบบริเวณเอพิเดอร์มิสด้านบนช่วยให้พืชนี้ใช้เป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างใบพืชกับอากาศภายนอกได้

 

 

 

หน้าหลัก .............<<<< ก่อนหน้า..............ถัดไป >>>>


อ้างอิงจาก :
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ชีววิทยาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3 ฉบับเผยแพร่ 2563.