ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ |
|
|
|
ความหมายของความคิดสร้างสรรค์เชิงวิทยาศาสตร์ |
|
|
วิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ประกอบด้วยเนื้อหา และกระบวนการหากนักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก็จะเป็นผู้มีกระบวนการคิดเพื่อแสวงหาความรู้ ดังนั้นในการคิดสร้างสรรค์ จึงต้องอาศัยทักษะกระบวนทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านสติปัญญาการแก้ปัญหา และการค้นพบความรู้ใหม่ ได้มีนักการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ให้ความหมายไว้หลายท่าน ดังนี้
อนันต์ จันทร์กวี (2523 : 3-10) ได้ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ว่า เป็นความสามารถในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์สามารถค้นคว้าทดลอง และแสวงหาคำตอบหลายๆ วิธี ซึ่งคุณลักษณะอันนี้ได้จากการสังเกตพฤติกรรมตรวจรายงาน หรือโครงงานวิทยาศาสตร์ หรือคะแนนจากแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
ทัศนีย์ บุญเติม (2527 : 32) ได้ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ว่า หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการคิดและการกระทำในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ทักษะกระบวน 1. ความคิดคล่องทางวิทยาศาสตร์ (Fluency)
ประกิต นามโคตร (2530 : 56) ได้ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ว่า หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการนำทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ทักษะการตั้งสมมติฐาน และทักษะการทดลองมาใช้แก้ปัญหาในลักษณะหลายแนวทางต่อการเรียนรู้การแก้ปัญหา การค้นพบความรู้ใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์ การทดลองที่แปลกใหม่เกี่ยวกับปรากฎการณ์ทางธรรมชาติแล้วเผยแพร่ให้ผู้อื่นรู้ ตลอดจนการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ได้ผลผลิตใหม่ทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณค่า และมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม
Piltz and Sund (สุปรียา ลำเจียก. 2522 : 18 ; อ้างอิงมาจาก Piltz and Sund.n.d.) ให้ความหมายความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ไว้ว่า มีความหมายเช่นเดียวกับความคิดสร้างสรรค์แต่แตกต่างข้อปลีกย่อย คือ ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการของความคิดและการกระทำของบุคคลในการเรียนรู้แก้ปัญหารวมทั้งค้นหาวิธี แก้ปัญหา โดยบุคคลนั้นต้องทราบถึงหลักการและกระบวน
ณัฎพงษ์ เจริญพิทย์ (2539 : 45) ได้กล่าวถึงความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ว่า เป็นความสามารถทางสมองของมนุษย์ที่จะทำให้เกิดการคิดแก้ปัญหาได้หลายแนวทาง และการแก้ปัญหานั้นจะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยใช้กระบวนการคิดตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และทำตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จนสามารถทำให้ได้ผลผลิตที่แปลกใหม่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
อ้างอิงจาก กรมวิชาการ. (2544). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
|