เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2559 สอบกุมภาพันธ์ 2560

 
ดาวโหลดข้อสอบ O-net ปีการศึกษา 2559 สอบกุมภาพันธ์ 2560

ข้อ 1 (3)

ข้อ 2 (4)

ข้อ 3 (2)

ข้อ 4 (5)

ข้อ 5 (3)

ข้อ 6 (3)

ข้อ 7 (3)

ข้อ 8 (5)

ข้อ 9 (4)

ข้อ 10 (2)

ข้อ 11 (2)

ข้อ 12 (2)

ข้อ 13 (4)

ข้อ 14 (2)

 

 

 

 

ข้อ 15 (2)

ข้อ 16 (3)

ข้อ 17 (1)

ข้อ 18 (2)

 

สิ่งดีๆเกิดขึ้นได้เนื่องจากมีผู้สนับสนุน

พันธมิตร

HSK

MUIC

MSU EPT

ลิงก์ผู้สนับสนุน

ข้อ 11) ข้อใดคือสาระสำคัญของทฤษฎีการคัดเลือกตามธรรมชาติ (O-net 59)

1.   สิ่งมีชีวิตแต่ละรุ่นมีจำนวนน้อย
2.   สิ่งมีชีวิตแต่ละรุ่นมีความแตกต่างจากรุ่นเดิม
3.   ลูกที่มีลักษณะไม่เหมาะสมสามารถปรับตัวจนอยู่รอดได้
4.   ลูกที่มีลักษณะไม่เหมาะสมสามารถถ่ายทอดลักษณะไปยังลูกรุ่นต่อไปได้
5.   สิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในธรรมชาติมีอยู่อย่างไม่จำกัด

 


คำตอบข้อ 11 ) ตอบ ( 2 )   สิ่งมีชีวิตแต่ละรุ่นมีความแตกต่างจากรุ่นเดิม

เหตุผล

          เพราะสาระสำคัญของทฤษฎีการคัดเลือกพันธุ์โดยธรรมชาติ  มีใจความว่า สิ่งมีชีวิตแต่ละรุ่นมีการสืบพันธุ์ให้ลูกหลานจำนวนมากที่มีลักษณะแปรผันแตกต่างกันมากมาย ลูกที่มีลักษณะแตกต่างกันเหล่านี้ต้องต่อสู้เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดมีการแก่งแย่งสิ่งที่จำเป็น ต่อการดำรงชีวิตซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ลูกที่อ่อนแอหรือมีลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะไม่สามารถอยู่รอด จึงไม่มีการสืบทอดลักษณะทางพันธุกรรมของตนไปยังรุ่นถัดไป ขณะที่ลูกที่สามารถมีชีวิตรอดได้จะถ่ายทอดลักษณะที่เหมาะสมนั้นๆ ไปยังรุ่นต่อไป สิ่งมีชีวิตแต่ละรุ่นจึงมีความแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตรุ่นเดิมทีละน้อย กระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อระยะเวลาผ่านไปจึงเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตใหม่ ที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตเดิม
จากใจความสำคัญของทฤษฎีวิวัฒนาการจะเห็นได้ว่าลูกหลานที่เกิดในแต่ละรุ่นจะมีลักษณะแปรผันแตกต่างกัน สอดคล้องกับคำตอบข้อ 2 คือ สิ่งมีชีวิตแต่ละรุ่นมีความแตกต่างจากรุ่นเดิม

 

 
ข้อ 12) ถ้างูกินกบในสระ พลังงานของลำดับขั้นอาหารในกบจะถูกถ่ายทอดไปยังงูได้ประมาณร้อยละเท่าใด    (O-net 59)

1.   1
2.   10
3.   20
4.   90
5.   100

 


คำตอบข้อ 12 ) ตอบ ( 2 )  10

ตามกฎ 10 เปอร์เซ็นต์ (Ten percent law) มีใจความว่า พลังงานศักย์ที่สะสมในรูปเนื้อเยื่อของผู้บริโภคแต่ละลำดับขั้นจะน้อยกว่า พลังงานศักย์ที่สะสมในเนื้อเยื่อผู้บริโภคลำดับขั้นต่ำกว่าที่ถัดกันลงมาประมาณ 10 เท่า

 

 
ข้อ 13) ข้อใดเรียงลำดับของกลุ่มพืชที่เกิดขึ้นทดแทนกันในการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ ซึ่งเกิดขึ้นในชีวนิเวศ ป่าฝนเขตร้อนชื้นได้ถูกต้อง(O-net 59)

       

          1.   ไม้พุ่ม ==>ไม้ใหญ่ ==>พืชจำพวกหญ้า
          2.   ไม้พุ่ม  ==> พืชจำพวกหญ้า ==> ไม้ใหญ่
          3.   ไม้ใหญ่  ==> ไม้พุ่ม ==>   พืชจำพวกหญ้า
          4.   พืชจำพวกหญ้า ==> ไม้พุ่ม ==>  ไม้ใหญ่
          5.   พืชจำพวกหญ้า==> ไม้ใหญ่ ==>  ไม้พุ่ม

 


คำตอบข้อ 13 ) ตอบ (4) พืชจำพวกหญ้า ==> ไม้พุ่ม ==>  ไม้ใหญ่

เหตุผล

การเปลี่ยนแปลงแทนที่จะเริ่มจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เติบโตง่ายใช้ทรัพยากรน้อย มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ไปสู่สิ่งมีชีวิตที่ขนาดใหญ่และโครงสร้างซับซ้อนขึ้น ดังนั้นข้อที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ ข้อ 4 พืชจำพวกหญ้า ==> ไม้พุ่ม ==>  ไม้ใหญ่

 

 
ข้อ 14) เหตุการณ์ใดมีโอกาสทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิได้มากที่สุด(O-net 59)


1.   การเกิดไฟป่า
2.   ภูเขาไฟระเบิด
3.   การทำไร่เลื่อนลอย
4.   การเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ
5.   การถางป่าและโค่นต้นไม้



คำตอบข้อ 14 )   ตอบ (2)   ภูเขาไฟระเบิด

เหตุผล

        เพราะ การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ เป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่ที่เริ่มจากบริเวณที่ปราศจากสิ่งมีชีวิตมาก่อนเช่น การเปลี่ยนแปลงแทนที่ที่เกิดขึ้นบนก้อนหินหรือหน้าดินที่ถูกเปิดขึ้นใหม่ในการตัดช่องเขาทำถนน ดังนั้นเหตุการณ์ที่มีโอกาสทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิมากที่สุดคือ ภูเขาไฟระเบิด เพราะลาวาจะเคลื่อนตัวทับถ่มสิ่งมีชีวิตเดิม และเมื่อลาวาแห้งจะกลายเป็นก้อนหินแข็งที่เรียกว่าหินอัคนี 

 

 

ข้อ 15) การค้นพบว่าข้าวพันธุ์พื้นบ้านไทยมียีนที่ช่วยให้ข้าวสามารถต่อต้านเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จึงนำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์จนได้สายพันธุ์ข้าวที่สามารถต้านทานแมลงศัตรูพืชได้ จัดเป็นการใช้ประโยชน์จากเรื่องใด (O-net 59)

1.   ความหลากหลายของสปีชีส์
2.   ความหลากหลายทางพันธุกรรม
3.   ความหลากหลายของระบบนิเวศ
4.   ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์ในระบบนิเวศ
5.   ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตในระบบนิเวศ

 


คำตอบข้อ 15 ) ตอบ  ( 2 )   ความหลากหลายทางพันธุกรรม

เหตุผล

       จากข้อมูลการปรับปรุงสายพันธุ์ สิ่งที่น่าจะเป็นคือ เป็นการนำข้าวพันธุ์พื้นบ้านที่มีลักษณะดีตามต้องการมาผสมพันธุ์กันและคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ที่ดีขึ้นตามลักษณะที่ต้องการ ซึ่งหากสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะต่างกันแต่สามารถผสมพันธุ์กันให้ลูกหลานได้ แสดงว่าเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน จึงจัดเป็นความหลากหลายทางพันธุกรรม  เพราะความหลากหลายทางพันธุกรรม เป็น ผลจากการแปรผันทางพันธุกรรมซึ่งเกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตชนิดเดี่ยวกันหรือสปีชีส์เดียวกัน


 

 

เลือกข้อถัดไปเพื่อเข้าศึกษา

 

<< ย้อนกลับ ................ หน้าถัดไป >>

[ ข้อ 1-5 ] / [ ข้อ 6-10 ] / [ ข้อ 11-15 ] / [ ข้อ 16-18 ]

 
 

 


กลับหน้าหลัก

พัฒนาโดย ครูนันทนา สำเภา
ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

ช่องทางติดตามผลงงานทาง Youtube ::

ติดตามผลงานทางแฟนเพจเฟสบุ๊ค  ::