เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2559 สอบกุมภาพันธ์ 2560

 

ดาวโหลดข้อสอบ O-net ปีการศึกษา 2559 สอบกุมภาพันธ์ 2560

ข้อ 1 (3)

ข้อ 2 (4)

ข้อ 3 (2)

ข้อ 4 (5)

ข้อ 5 (3)

ข้อ 6 (3)

ข้อ 7 (3)

ข้อ 8 (5)

ข้อ 9 (4)

ข้อ 10 (2)

ข้อ 11 (2)

ข้อ 12 (2)

ข้อ 13 (4)

ข้อ 14 (2)

 

 

 

 

ข้อ 15 (2)

ข้อ 16 (3)

ข้อ 17 (1)

ข้อ 18 (2)

 

สิ่งดีๆเกิดขึ้นได้เนื่องจากมีผู้สนับสนุน

พันธมิตร

HSK

MUIC

MSU EPT

 

ลิงก์ผู้สนับสนุน

ข้อ 1) ข้อใดเป็นกลไกที่ต้องใช้พลังงาน (O-net 59)       

 1.การคายน้ำของใบพืช        

 2.เมล็ดถั่วแห้งเกิดการพองตัวเมื่อแช่ในน้ำ        

 3.การที่รากพืชดูดแร่ธาตุจากดินเข้าสู่เซลล์        

 4.การแพร่ของเกล็ดด่างทับทิมที่ละลายในน้ำ        

 5.การลำเลียงคาร์โบไฮเดรตหรือโปรตีนเข้าออกเซลล์

 


คำตอบข้อ 1 ) ตอบ  (3) การที่รากพืชดูดแร่ธาตุจากดินเข้าสู่เซลล์

เหตุผล

เหตุการณ์

เหตุผล

1.การคายน้ำของใบพืช

เป็นไปตามหลักความเข้มข้น ไอน้ำจากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงจะแพร่ไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำ ไม่ต้องอาศัยพลังงานกระตุ้น

2. เมล็ดถั่วแห้งเกิดการพองตัวเมื่อแช่ในน้ำ

เป็นการแพร่ของน้ำเข้าสู่เซลล์จึงทำให้เมล็ดถั่วพองตัว เป็นกลไกที่ไม่ต้องอาศัยพลังงาน

3. การที่รากพืชดูดแร่ธาตุจากดินเข้าสู่เซลล์

การดูดแร่ธาตุจากดินเข้าสู่เซลล์มี 2 แบบคือแบบใช้พลังงานกระตุ้น กับ แบบไม่ใช้พลังงานกระตุ้น ขึ้นอยู่กับปริมาณของแร่ธาตุในดิน และความต้องการของพืชชนิดนั้น

4. การแพร่ของเกล็ดด่างทับทิมที่ละลายในน้ำ

เป็นการแพร่ตามความเข้มข้นสูงไปต่ำไม่ต้องอาศัยพลังงาน

5. การลำเลียงคาร์โบไฮเดรตหรือโปรตีนเข้าออกเซลล์

เป็นการลำเลียงสารโดยไม่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ ลำเลียงเข้า เป็นแบบเอนโดไซโทซีส (Endocytosis) ลำเลียงออก เป็นแบบ เอกโซโทซีส (Exocytosis) ซึ่งเป็นกลไกที่ไม่ต้องอาศัยพลังงานกระตุ้น

 

 

ข้อ 2)การปลูกพืชในพื้นที่แล้งที่ได้รับแสงแดดจัดและมีอุณหภูมิสูง ควรเลือกปลูกพืชที่มีลักษณะใด (O-net 59)       

1. มีอัตราการคายน้ำสูง       

2. มีจำนวนปากใบมากเฉพาะที่ผิวด้านบน       

3. มีจำนวนใบมากและมีรูปากใบเปิดกว้าง       

4. มีจำนวนปากใบน้อยและรูปากใบเปิดไม่เต็มที่       

5. มีจำนวนปากใบมากที่ผิวทั้งด้านบนและด้านล่าง

 


คำตอบข้อ 2 ) ตอบ  (4)   มีจำนวนปากใบน้อยและรูปากใบเปิดไม่เต็มที่

เหตุผล

การปลูกพืชในบริเวณแสงแดดจัดและมีอุณหภูมิสูง เป็นสภาวะที่เอื้อต่อการสูญเสียน้ำในรูปของการคายน้ำ ดังนั้นพืชที่จะนำมาปลูกในบริเวณนี้ควรเป็นพืชที่มีอัตราการคายน้ำต่ำ ได้แก่พืชใน ข้อ 4 ที่มีจำนวนปากใบน้อย และรูปากใบเปิดไม่เต็มที่

 

 
ข้อ 3) ข้อใดเป็นวิธีการที่เหมาะสมในการดูแลกิ่งที่ปักชำลงดินปลูกในเรือนเพาะชำ เพื่อรักษาดุลยภาพของน้ำ (O-net 59)

 1.  เพิ่มอุณหภูมิและเพิ่มความชื้น

 2.  ลดอุณหภูมิและลดความเข้มแสง

 3.  ลดความเข้มแสงและลดความชื้น

 4.  เพิ่มความเข้มแสงและลดอุณหภูมิ

 5.  เพิ่มความชื้นและเพิ่มความเข้มแสง

 


คำตอบข้อ 3 ) ตอบ (2) ลดอุณหภูมิและลดความเข้มแสง

เหตุผล

ก่อนที่กิ่งชำจะงอกรากและใบ ดุลยภาพของน้ำที่กิ่งชำควรรักษาไว้คือ ลดการสูญเสียน้ำ ซึ่งสอดคล้องกับข้อ 2 ซึ่งเป็นภาวะที่ลดการสูญเสียน้ำคือลดอุณหภูมิ และความเข้มแสง

 

 
 
ข้อ 4) ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการรักษาดุลยภาพของน้ำและเกลือแร่ของปลาทะเล(O-net 59)

 1.   ปลาไม่กินน้ำทะเล     

 2.   ปลาขับเกลือออกทางต่อมนาซัล     

 3.   ปลาขับปัสสวะที่เจือจางออกเป็นปริมาณมาก     

 4.   น้ำทะเลเป็นไฮโพโทนิคต่อของเหลวในร่างกายปลา     

 5.   ปลามีเกล็ดป้องกันไม่ให้แร่ธาตุจากน้ำทะเลซึมเข้าสู่ร่างกาย


คำตอบข้อ 4 ) ตอบ (5)   ปลามีเกล็ดป้องกันไม่ให้แร่ธาตุจากน้ำทะเลซึมเข้าสู่ร่างกาย

เหตุผล

          ปลาทะเลมีกระบวนการควบคุมระดับน้ำในร่างกายตรงข้ามกับปลาน้ำจืด กล่าวคือผิวหนังและเกล็ดของปลาทะเลทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้แร่ธาตุจากน้ำทะเลซึมเข้าสู่ร่างกาย และที่เหงือกยังมีกลุ่มเซลล์ซึ่งขับแร่ธาตุส่วนเกินออก โดยวิธีการลำเลียงแบบใช้พลังงาน ปลาทะเลจะปัสสาวะน้อย และปัสสาวะมีความเข้มข้นสูง ส่วนแร่ธาตุที่ปนมากับอาหารจะกำจัดออกทางทวารหนัก

 

 
ข้อ 5) เมื่อคนอยู่ในบริเวณที่มีอากาศหนาวมาก ถึงแม้จะใส่เสื้อกันหนาวแล้ว ยังรู้สึกหนาว บางครั้งหนาวจนสั่น ข้อใดคือ การตอบสนองของร่างกายต่ออากาศหนาว (O-net 59)

     1.   อัตราการหายใจลดลง

     2.   ต่อมเหงื่อขับเหงื่อออกมากขึ้น

     3.   อัตราเมทาบอลิซึมของร่างกายเพิ่มขึ้น

     4.   หลอดเลือดบริเวณผิวหนังขยายตัวมากขึ้น

     5.   ต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟินมากขึ้น

 


คำตอบข้อ 5 ) ตอบ (3)   อัตราเมทาบอลิซึมของร่างกายเพิ่มขึ้น

เหตุผล

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายขณะที่อุณหภูมิภายนอกต่ำลงเป็นผลให้สมองส่วนไฮโพทาลามัสควบคุมร่างกายดังนี้

   ๐ หลอดเลือดฝอยที่ผิวหนังหดตัวเพื่อลดการแผ่ความร้อน

   ๐ ขนลุกชันกล้ามเนื้อโครงร่างหดตัวเร็วขึ้นทำให้ร่างกายหนาวสั่น

   ๐ ต่อมเหงื่อไม่หลั่งเหงื่อลดการระเหยของเหงื่อ

   ๐ อัตราเมทาบอลิซึมของร่างกายเพิ่มขึ้นทำให้พลังงานความร้อนที่เกิดจากกระบวนการเมทาบอลิซึมในเซลล์ถ่ายเทผ่านเลือดไปทั่วร่างกาย


 
 

เลือกข้อถัดไปเพื่อเข้าศึกษา

 

หน้าถัดไป >>

[ ข้อ 1-5 ] / [ ข้อ 6-10 ] / [ ข้อ 11-15 ] / [ ข้อ 16-18 ]

 

 

 
 
 

 


กลับหน้าหลัก

พัฒนาโดย ครูนันทนา สำเภา
ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

ช่องทางติดตามผลงงานทาง Youtube ::

ติดตามผลงานทางแฟนเพจเฟสบุ๊ค  ::