๐ โครงสร้างหน้าที่ของพืชดอก

    :: เนื้อเยื่อพืช
    :: เนื้อเยื่อเจริญ
    :: เนื้อเยื่อถาวร

อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช 

    :: โครงสร้างและหน้าที่ของราก    
    :: โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น
         >> โครงสร้างของลำต้น
         >>  ประเภทของลำต้น
         >> การเจริญขั้นที่สองของลำต้น  
    :: โครงสร้างและหน้าที่ของใบ

การแลกเปลี่ยนก๊าซและการคายน้ำของพืช

๐ การลำเลียงน้ำของพืช

๐ การลำเลียงสารอาหารของพืช

๐ การลำเลียงอาหารของพืช
    :: การเคลื่อนย้ายอาหารในพืช
    :: กระบวนการลำเลียงอาหาร

เฉลยคำถามท้ายบท

๐ กลับหน้าหลัก

 

 

 

การเจริญขั้นที่สองของลำต้นหรือ การเจริญในระยุทุติยภูมิของลำต้น

              การเจริญเติบโตขั้นที่สองของพืช (Secondary growth) : พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการเจริญเติบโต 2 ขั้นตอนคือ
เจริญเติบโตในระยะแรก (Primary growth)ส่วนใหญ่ทำให้พืชยืดยาวขึ้น ซึ่งการเจริญในขั้นพบทั่วไปในพืชมีดอกทุกชนิด แต่ในพืชมีดอกชนิดใบเลี่ยงคู่และใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด จะมีการเจริญเติบขั้นที่สอง (Secondary growth) คือ
จะสามารถเจริญออกทางด้านข้างได้ ซึ่งเป็นผลมาจาก เนื้อเยื่อเจริญที่อยู่ทางด้านข้าง ได้แก่ 
วาสคิวลาร์แคมเบียม(Vascular cambium) และ คอร์กแคมเบียม (Cork cambium)การเจริญเติบโตขั้นที่สองจะพบใน
อวัยวะของพืชในส่วนลำต้นและราก

primarygrowth secondary growth

ภาพ ลำต้นที่มีการเจริญขั้นต้น

ภาพ ลำต้นที่มีการเจริญขั้นที่สอง

               การเจริญขั้นที่สองของลำต้น เกิดจากการแบ่งเซลล์ออกทางด้านข้างของวาสคิวลาร์แคมเบียม (Vascular cambium)
ซึ่งพบขั้นระหว่างเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ (Xylem) และ เนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร (Phloem) การแบ่งเซลล์ของ
วาสคิวลาร์แคมเบียมจะแบ่งได้ 2 ทิศทาง คือแบ่งเข้าด้านในและแบ่งออกด้านนอกการแบ่งเข้าด้านในของวาสคิวลาร์แคมเบียม
จะเกิดได้เร็วกว่าแบ่งออกด้านนอก และเจริญเป็นเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ เรียกเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุที่เกิดจาก
วาสคิวลาร์แคมเบียมว่า เนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุขั้นที่สอง (Secondary Xylem) การแบ่งออกทางด้านนอกเจริญช้ากว่าเข้าด้านในและเจริญไปเป็นเนื้อเยื่อลำเลียงอาหารเรียกเนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร
ที่เปลี่ยนแปลงมาจากวาสคิวลาร์แคมเบียมว่า เนื้อเยื่อลำเลียงอาหารขั้นที่สอง (Secondary phloem)

ภาพ การเปลี่ยนแปลงของลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่ขณะเกิดการเจริญเติบโตขั้นที่สอง

                การแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนของวาสคิวลาร์แคมเบียมเพื่อเจริญไปเป็นเนื้อเยื่อลำเลียงนั้นทำให้เซลล์ที่เกิดมาใหม่
ดันให้โฟลเอ็มขั้นแรก รวมถึงเนื้อเยื่อในชั้นคอร์เท็กซ์ (Cortex) ถูกเบียดให้ตายและสลายไปเรื่อยๆ จนกระทั่ง
เหลือเนื้อเยื่อพาเรงคิมา (Parenchyma tissue) ประมาณ 1-2 แถวนื้อเยื่อพาเรงคิมาเหล่านี้จะเปลี่ยนกลายเป็นเนื้อเยื่อเจริญ
ชนิด คอร์กแคมเบียม (Cork cambium) ซึ่งคอร์แคมเบียมจะแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนเพิ่มขึ้นการแบ่งเซลล์ของคอร์กแคมเบียมแบ่ง
ได้สองทิศทางคือ แบ่งเข้าด้านใน และแบ่งออกทางด้านนอก การแบ่งเข้าด้านใน ของคอร์กแคมเบียมจะ
สร้างเนื่อเยื่อพาเรงคิมมา แบ่งออกด้านนอกมากการแบ่งตัวออกทางด้านนอกแบ่งตัวเพื่อสร้างเนื้อเยื่อคอร์ก การเพิ่มจำนวน
ของเนื้อเยื่อคอร์ก ทำให้เนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิส ถูกเบียดให้ตายและ สลายไปทำให้เปลือกภายนอกของลำต้น
ที่มีการเจริญเติบโตขั้นที่สองเป็นเพอริเดิร์ม ซึ่งประกอบด้วยชั้น เฟลเลม (ชั้นคอร์ก) , เฟลโลเจน (ชั้นคอร์กแคมเบียม) และเฟลโลเดิร์ม (ชั้นพาเรงคิมา)

ภาพ การเกิดเนื้อเยื่อผิวลำต้นของพืชที่เจริญขั้นทุติยภูมิ

                ใน 1 ปี วาสคิวลาร์แคมเบียมจะมีการแบ่งเซลล์เพิ่มขึ้นตามจำนวนมากน้อยต่างกันในแต่ละฤดู ซึ่งขึ้นจะขึ้นอยู่กับ
ปริมาณน้ำและอาหาร เซลล์ชั้นไซเลมที่สร้างขึ้นในฤดูฝนจะเจริญเร็วมีขนาดใหญ่ทำให้ไซเลมกว้างและมักมีสีจาง
ส่วนในฤดูแล้งจะได้เซลล์ขนาดเล็กมีสีเข้ม ลักษณะดังกล่าวทำให้เนื้อไม้มีสีจางและสีเข้มสลับกันมองเห็นเป็นวง
เรียกว่า วงปี (annual ring)

ภาพ วงปี

แก่นไม้ (heart wood) เป็นไซเล็มขั้นต้น และไซเล็มขั้นที่สอง ที่อยู่ด้านในสุดของลำต้นที่มีอายุมากแล้วอุดตัน 

กระพี้ไม้ (sapwood) คือ ไซเล็มที่อยู่รอบนอกซึ่งมีสีจางกว่าชั้นในทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ 

เนื้อไม้ (wood) คือ เนื้อเยื่อไซเลมทั้งหมด (กระพี้ไม้+ แก่นไม้) 

เปลือกไม้ (bark) คือ ส่วนที่อยู่ถัดจากวาสคิวลาร์แคมเบียม ออกมา ประกอบด้วย
                                   โฟลเอ็มขั้นที่ 2 ทำหน้าที่ลำเลียงอาหาร ,คอร์กแคมเบียม, คอร์ก

ภาพโครงสร้างลำต้นที่มีการเจริญขั้นที่สอง

 

จัดทำโดย
ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ