๐ โครงสร้างหน้าที่ของพืชดอก

    :: เนื้อเยื่อพืช
    :: เนื้อเยื่อเจริญ
    :: เนื้อเยื่อถาวร

อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช 

    :: โครงสร้างและหน้าที่ของราก    
    :: โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น
         >> โครงสร้างของลำต้น
         >>  ประเภทของลำต้น
         >> การเจริญขั้นที่สองของลำต้น  
    :: โครงสร้างและหน้าที่ของใบ

การแลกเปลี่ยนก๊าซและการคายน้ำของพืช

๐ การลำเลียงน้ำของพืช

๐ การลำเลียงสารอาหารของพืช

๐ การลำเลียงอาหารของพืช
    :: การเคลื่อนย้ายอาหารในพืช
    :: กระบวนการลำเลียงอาหาร

เฉลยคำถามท้ายบท

๐ กลับหน้าหลัก

 

 

 

ประเภทของลำต้น

         ลำต้นแบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามตำแหน่งที่อยู่คือ ลำต้นเหนือดิน(Aerial stem) และ ลำต้นใต้ดิน (Underground stem) 

ลำต้นเหนือดิน (Aerial stem)

           จำแนกตามลักษณะของลำต้นได้เป็น 3 ชนิด
             1. ต้นไม้ใหญ่(tree) หรือไม้ยืนต้น 
             2. ต้นไม้พุ่ม (shrub)
             3. ต้นไม้ล้มลุก (herb)

tree

ไม้พุ่ม

herb

ภาพ ไม้ยืนต้น

ภาพ ไม้พุ่ม

ภาพ ไม้ล้มลุก

ลำต้นเหนือดินที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่พิเศษ

          ลำต้นเหนือดินของพืชหลายชนิดอาจเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปทำหน้าที่พิเศษซึ่งอาจจำแนกออกเป็นชนิดต่างๆ
ดังต่อไปนี้
     

          1. ครีพพิง สเต็ม (creeping stem) 
          เป็นลำต้นที่ทอดหรือเลื้อยขนานไปตามผิวดินหรือน้ำ ทั้งนี้เพราะลำต้นอ่อนไม่สามารถตั้งตรงอยู่ได้ตามข้อมักมีรากงอกออกมาแล้วแทงลงไปในดินเพื่อช่วยยึดลำต้น ให้แน่นอยู่กับที่ได้ แขนงที่แยกไปตามพื้นดินหรือพื้นน้ำดังกล่าวนั้น เรียกว่า stolon(สโตลอน) หรือ Runner (รันเนอร์) ได้แก่ ผักบุ้ง ผักกะเฉด ผักตบชวา แตงโมฟักทอง และ สเตอเบอรี่

ผักบุ้ง ผักกะเฉด แตงโม

ภาพ ผักบุ้ง

ภาพ ผักกะเฉด

ภาพ แตงโม

          2. ไคลบบิง สเต็ม ( Climbing stem) 
          เป็นลำต้นที่เลื้อยหรือไต่ขึ้นที่สูง พืชพวกนี้มักมีลำต้นอ่อนเช่นเดียวกับพวกแรก แต่ถ้ามีหลักหรือต้นไม้ที่มีลำต้นตรง อยู่ใกล้ๆมันอาจจะไต่ขึ้น ที่สูงด้วยวิธีต่างๆดังนั้นจึงจำแนก climbing stem ออกเป็นชนิดต่างๆตามลักษณะของการไต่ได้ดังนี้

               2.1 ทวินนิง สเต็ม (twining stem)               
               เป็นลำต้นที่ไต่ขึ้นที่สูงโดยใช้ลำต้นพันหลักเป็นเกลียวไปเช่น ต้นถั่วต้น บอระเพ็ด และ เถาวัลย์ต่างๆ

เถาวัลย์
ถั่วฝักยาว
บอระเพ็ด

ภาพ เถาวัลย์

ภาพ ต้นถั่วฝักยาว

ภาพ ต้นบอระเพ็ด

                2.2 มือเกาะ (tendril stem) 
                เป็นลำต้นที่ดัดแปลงไปเป็นมือเกาะ(tendril) สำหรับพันหลักเพื่อไต่ขึ้นที่สูง ส่วนของเทนดริลจะบิดเป็นเกลียวคล้ายลวดสปริงเพื่อให้ยืดหยุ่นเมื่อลมพัดยอดเอนไปมา เทนดริลก็จะยืดและหดได้ เช่น ต้นองุ่น บวบ น้ำเต้า  ฟักทอง แตงกวา 
               * หมายเหตุ *
               เทนดริลอาจจะเป็นใบที่เปลี่ยน มาก็ได้แต่จะทราบว่าเป็นใบหรือลำต้นนั้นต้องศึกษาถึงต้นกำเนิดและตำแหน่งที่งอกออกมา เช่น ถ้า งอกออกตรงซอกใบก็แสดงว่ามาจากลำต้น หรือถ้าหากมีลักษณะเป็นข้อปล้องก็แสดงว่า
มาจากลำต้นเหมือนกัน

มือเกาะ
มือเกาะ


ภาพ มือเกาะของต้นองุ่น

 

มือเกาะ
มือเกาะแตงกวา


ภาพ มือเกาะของต้นบวบ


ภาพ มือเกาะของแตงกวา

               2.3 รูท ไคลบบิง (root climbing) 
               เป็นลำต้นที่ไต่ขึ้นที่สูงโดยใช้รากที่งอกออกมาตามข้อยึดกับหลักหรือต้นไม้ เช่น ต้นพริกไทย ต้นพลู และพลูด่าง

รากเกาะของพริกไทย รากเกาะของพริกไทย


ภาพ รากเกาะของพริกไทย

         2.4 หนาม (stem spine) 
         เป็นลำต้นที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นหนามรวมทั้งขอเกี่ยว(hook) สำหรับไต่ขึ้นที่สูง และป้องกันอันตรายได้ด้วย เช่น เฟื่องฟ้า มะนาว มะกรูดพวกส้มต่างๆ ไผ่ และไมยราบ ต้นกระดังงา 
*****หนามของพืชบางชนิดอาจเปลี่ยนแปลงมาจากใบก็ได้ มีวิธีสังเกตุแบบเดียวกับเทนดริล

หนามมะกรูด หนามไผ่

ภาพ หนามต้นส้ม

ภาพ หนามต้นไผ่

ลำต้นใต้ดิน (Undergroud stem) 

สามารถจำแนกได้ 4 ชนิด
           1. แง่ง หรือเหง้า หรือ ไรโซม (Rhizome) 
           มักอยู่ขนานกับผิวดิน มีข้อและปล้องเห็นได้ชัดเจน ตามข้อมีใบที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นสีน้ำตาลใบนี้ไม่มีคลอโรฟิลมักเรียกว่าใบเกล็ด ห่อหุ้มตาเอาไว้ภายใน ตาเหล่านี้อาจแตกแขนงเป็นลำต้นที่อยู่ใต้ดินหรือ แตกเป็นใบเป็นมัดขึ้นมาเหนือดิน ลำต้นชนิดนี้ถ้ามีการสะสมอาหารไว้มากก็จะอวบอ้วนขึ้น เช่น ขมิ้น ขิง

ขมิ้น ข่า
ภาพ ลำต้นใต้ดินของขมิ้น
ภาพ ลำต้นใต้ดินของข่า

           2. ทูเบอะ (Tuber) 
           เป็นลำต้นใต้ดินที่เติบโตมาจากปลายไรโซม ประกอบด้วยปล้องประมาณ 3-4 ปล้องเท่านั้นตามข้อไม่มีใบเกล็ดและรากมีอาหารสะสมอยู่มาก
จึงทำให้อวบอ้วนกว่าไรโซมตรงที่อยู่ของตาจะไม่อ้วนขึ้นมาด้วยจึงเห็นตาบุ๋มลงเช่นหัวมันฝรั่งหัวมันมือเสือมันกลอย

tuber
potato

ภาพ ลำต้นแบบทูเบอะของมันฝรั่ง

           3. บัลบ (bulb) 
           เป็นลำต้นที่ตั้งตรงอาจตั้งตรงพ้นดินขึ้นมาบ้างเป็นลำต้นเล็กๆมีปล้องสั้นมากตามปล้องมีใบเกล็ดห่อหุ้มลำต้นเอาไว้
จนเห็นเป็นหัวขึ้นมา อาหารจะสะสม ในใบเกล็ด แต่ในลำต้นจะไม่มีอาหารสะสม ตอนล่างของลำต้นจะมีรากฝอย งอกออกมาเป็นเส้นเล็กๆเช่น หัวหอม กระเทียม และ พลับพลึง

หอม กระเทียม
ภาพ หัวหอม
ภาพ กระเทียม

           4. คอร์ม (Corm) 
           เป็นลำต้นใต้ดินที่ตั้งตรงเหมือนกับ บัลบ แต่จะมีอาหารละสมอยู่ในลำต้น แทนที่จะสะสมไว้ในใบเกล็ด 
จึงทำให้ลำต้นอ้วนมากเห็นข้อได้ชัดเจน กว่าบัลบ ตามข้อมีใบเกล็ดบางๆมาห่อหุ้ม มีตางอกออกตามข้อเป็นใบสู่อากาศ หรือ
เป็นลำต้นใต้ดินต่อไปเช่นเผือกซ่อนกลิ่นฝรั่ง

แห้ว
เผือก

ภาพลำต้นแบบคอร์มของแห้ว

ภาพลำต้นแบบคอร์มของเผือก

 


จัดทำโดย
ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ