๐ โครงสร้างหน้าที่ของพืชดอก

    :: เนื้อเยื่อพืช
    :: เนื้อเยื่อเจริญ
    :: เนื้อเยื่อถาวร

อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช 

    :: โครงสร้างและหน้าที่ของราก    
    :: โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น
         >> โครงสร้างของลำต้น
         >>  ประเภทของลำต้น
         >> การเจริญขั้นที่สองของลำต้น  
    :: โครงสร้างและหน้าที่ของใบ

การแลกเปลี่ยนก๊าซและการคายน้ำของพืช

๐ การลำเลียงน้ำของพืช

๐ การลำเลียงสารอาหารของพืช

๐ การลำเลียงอาหารของพืช
    :: การเคลื่อนย้ายอาหารในพืช
    :: กระบวนการลำเลียงอาหาร

เฉลยคำถามท้ายบท

กลับหน้าหลัก

 

 

 

ลำต้น (Stem) 

          เจริญมาจากต้นอ่อน (Embryo) ส่วนเอพิคอลทิล (Epicotyle) และ ส่วนไฮโพคอลทิล (Hypocotyl) ลำต้นจะแตกต่างจากราก ตรงที่ มีข้อ (node) ปล้อง (Internode) ยอด (Apical bud)
          นักเรียนคิดว่าระหว่างข้อและปล้องของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวกับใบเลี้ยงคู่พืชพวกใดที่เห็นข้อปล้องชัดเจนว่ากัน
พราะเหตุใด ???.... เพราะพืชใบเลี้ยงคู่มีการเจริญเติบโตขั้นที่สองซึ่งเป็นการเจริญออกทางด้านข้าง ทำให้ปิดทับบริเวณข้อ แต่นักเรียนสามารถสังเกตบริเวณที่เป็นข้อของพืชใบเลี้ยงคู่บริเวณที่แตกกิ่งและใบ


stem
ภาพ ตำแหน่ง ข้อ และ ปล้อง ของลำต้น

ครงสร้างของลำต้นจากปลายยอด แบ่งเป็น 4 ส่วน
    1. เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด (Apical meristem)
    2. ใบเริ่มเกิด (Leaf primordium)
    3. ใบอ่อน (Young leaf) 
    4. ลำต้นอ่อน (Young stem)


stem

ภาพ โครงสร้างของลำต้นจากส่วนยอด

โครงสร้างตามภาคตัดขวาง (โครงสร้างภายใน)
ของลำต้นที่เจริญระยะปฐมภูมิ

มี 3 ชั้น คล้ายกันกับราก คือ 
          1. ชั้นเอพิเดอร์มิส (Epidermis) 
          2. ชั้นคอร์เท็กซ์ (Cortex) 
          3. ชั้นสตีล (Stele) ประกอบด้วย
               - มัดท่อลำเลียง (Vascular bundle) ได้แก่ ไซเล็ม(Xylem) โฟลเอ็ม (Phloem)    
               - พิธ (Pith)

 

stem

ภาพเปรียบเทียบภาคตัดขวางลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และ ลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่

 

 

 

stem
 

 

ภาพแสดงมัดท่อลำเลียงของลำต้นพืชที่ยังไม่มีการเจริญขั้นทุติยภูมิ
https://pediaa.com/what-is-the-difference-between-fascicular-cambium

 

ภาพแสดงมัดท่อลำเลียงของลำต้นพืชที่มีการเจริญขั้นทุติยภูมิ
โดยตำแหน่ง F คือ วาสคิวลาร์แคมเบียม
https://pediaa.com/what-is-the-difference-between-fascicular-cambium

 

 

          นักเรียนจะเห็นได้ว่าลำต้นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีชั้นต่างสามชั้นคล้ายกับพืชใบเลี้ยงคู่แต่แตกต่างกันที่
กลุ่มท่อลำเลียงกระจายทั่วไป จึงไม่เห็นขอบเขตของพิธ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิดเมื่อ
ลำต้นแก่ขึ้นพบว่าใจกลางลำต้น ซึ่งอาจรวมทั้ง พิธจะสลายไปเป็น ช่องเรียกว่า ช่องพิธ (Pith cavity)

 

 


จัดทำโดย
ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ