เฉลยข้อสอบO-net ม.6( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2551สอบกุมภาพันธ์ 2552

 
ดาวโหลดข้อสอบ O-net ปีการศึกษา 2551 สอบกุมภาพันธ์ 2552

ข้อ 1 (3)

ข้อ 2 (1)

ข้อ 3 (1)

ข้อ 4 (4)

ข้อ 5 (4)

ข้อ 6 (4)

ข้อ 7 (4)

ข้อ 8 (4)

ข้อ 9 (2)

ข้อ 10 (3)

ข้อ 11 (4)

ข้อ 12 (1)

ข้อ 13 (1)

ข้อ 14 (3)

 

ข้อ 15 (4)

ข้อ 16 (3)

ข้อ 17 (4)

ข้อ 18 (4)

ข้อ 19 (3)

ข้อ 20 (2)

ข้อ 21 (3)

ข้อ 22(1)

 

 

 

 

 

สิ่งดีๆเกิดขึ้นได้เนื่องจากมีผู้สนับสนุน

๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

ลิงก์ผู้สนับสนุน

 


 

ข้อ 6) ข้อใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องน้อยที่สุดกับการปรับตัวเพื่อลดการคายน้ำของพืช (O-net 51)

       1. การมีเปลือกแข็งหุ้มลำต้น
       2. การมีใบเข็มของต้นกระบองเพชร
       3. การสังเคราะห์ด้วยแสงในเวลากลางคืน
       4. การมีปากใบด้านหลัง (ventral) ใบของผักตบชวา
 

คำตอบข้อ 6 ) ตอบ 4

เหตุผล

       - การมีเปลือกแข็งหุ้มลำต้น ==> เปลือกมีเนื้อเยื่อคอร์กซึ่งมีสารซูเบอรินสะสมอยู่ตามผนังเซลล์ สารซูเบอลิน ช่วยป้องกั้นการสูญเสียน้ำ ของพืชได้

       - การมีใบเข็มของต้นกระบองเพชร ==> การลดรูปจากใบเป็นเข็มเป็นการปรับตัวของพืชเพื่อลดการสูญเสียน้ำ

       - การสังเคราะห์ด้วยแสงในเวลากลางคืน ==> เป็นการปรับตัวของพืช CAM ช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำ โดยปากใบจะปิดในเวลากลางวัน ส่วนในเวลากลางคืนปากใบจะเปิด และมีการตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในรูปของกรดมาลิก และสะสมไวในแวคิวโอลของเซลล์ กรดมาลิกจะถูกลำเลียงจากแวคิวโอลเข้าสู่ คลอโรพลาสต์  พืชจะมีกระบวนการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากกรดมาลิกที่สะสมไว้  และคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกตรึงเข้าสู่วัฏจักรคัลวินและมีการสังเคราะห์น้ำตาล พบว่าโดยทั่วไปพืชซีเอเอ็มจะสูญเสียน้ำ 50 – 100  กรัม ต่อการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์หนึ่งกรัม  ในขณะที่พืช C4 และ C3  จะต้องเสียน้ำมากถึง 250 – 300 กรัม และ 400 – 500 กรัม ตามลำดับ
ดังนั้นพืชซีเอเอ็มจึงสามารถมีชีวิตรอดอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำน้อยหรือขาดแคลนน้ำได้ดีกว่าพืช
C4 หรือพืช C3

       - การมีปากใบด้านหลัง (ventral) ใบของผักตบชวา ==> แผ่นใบมี 2 ด้าน คือด้านหลังใบ (ventral side) จะมีสีเขียวเข้มมันหันขึ้นข้างบนเพื่อรับแสง เรียกอีกอย่างว่า upper side และด้านท้องใบ (dorsal side) จะหยาบและสีอ่อนกว่าเห็นเส้นใบนูนชัดคว่ำลงสู่ดิน เรียกอีกอย่างว่า lower side
**** ดังนั้นการที่ผักตบชวามีปากใบด้าน Ventral จะทำให้มีการคายน้ำเพิ่มขึ้น จึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการสูญเสียน้ำ


    
ข้อ 7)อวัยวะในข้อใดต่อไปนี้ไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบน้ำเหลืองในร่างกายมนุษย์ (O-net 51)

       1. ม้าม
       2. ทอนซิล
       3. ต่อมไทมัส
       4. ต่อมหมวกไต

 

คำตอบข้อ 7 ) ตอบ 4

เหตุผล

       อวัยวะน้ำเหลืองได้แก่
          • ต่อมน้ำเหลือง ( Lymph node )ส่วนทอนซิลเป็นต่อมน้ำเหลืองที่มีขนาดใหญ่
          • ม้าม ( Spleen )
                    • ต่อมไทมัส ( Thymus gland )

***ดังนั้นอวัยวะที่ไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบน้ำเหลือง ในที่นี้ คือ ต่อมหมวกไต ซึ่งต่อมหมวกไต เป็นต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) ผลิตฮอร์โมนสำคัญๆหลายชนิด ตำแหน่งจะอยู่เหนือไตทั้ง2ข้าง มีหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของโลหิตและการหดตัวของเลือด ต่อมหมวกไตแบ่งได้เป็นสองส่วนคือ ต่อมหมวกไตส่วนนอก (Adrenal cortex) สร้างฮอร์โมนกลุ่มสเตอรอยด์ และ ต่อมหมวกไตส่วนใน (Adrenal medulla)

 
ข้อ 8) สัตว์ในข้อใดต่อไปนี้มีอุณหภูมิร่างกายในสภาวะปกติสูงที่สุด (O-net 51)
       1. อูฐ
       2. ช้าง
       3. แมว
       4. นกกระจิบ

คำตอบข้อ 8 ) ตอบ 4

เหตุผล

•จากข้อมูลพบว่า
       – ช้าง อุณหภูมิในร่างกาย 36.2 ±  0.5
       – อูฐ อุณหภูมิในร่างกาย 37.5 ± 0.5
       – แมว อุณหภูมิในร่างกาย 38.6 ± 1.3
       – นกกระจิบ อุณหภูมิในร่างกาย 41.1 ±1.0


 
 
 
ข้อ 9)ออร์แกเนลล์ใดในเซลล์พืชที่ไม่พบดีเอ็นเอ (O-net 51)

      1. นิวเคลียส
      2. แวคิวโอล
      3. คลอโรพลาสต์
      4. ไมโทคอนเดรีย


คำตอบข้อ 9 ) ตอบ 2

เหตุผล

       
       • ในนิวเคลียสของเซลล์พวกยูคาริโอต จะพบดีเอ็นเอ
       • ส่วน ในไมโทคอนเดรีย กับ คลอโรพลาสต์ซึ่งเป็นออร์กาแนลล์ที่สามารถเพิ่มจำนวนได้เอง และมีเยื่อชั้นในที่บรรจุเอ็นไซม์เพื่อใช้ในกระบวนการถ่ายทอดอิเล็คตรอน นอกจากนี้ยังมี DNA และไรโบโซมที่คล้ายคลึงกับแบคทีเรียอีกด้วย
       • ดังนั้นออร์กาแนลล์ที่ไม่พบดีเอ็นเออยู่ภายในคือ แวคิวโอล
 
 

ข้อ 10)ลักษณะทางพันธุกรรมในข้อใดต่อไปนี้ถูกควบคุมด้วยยีนบนออโตโซม (O-net 51)

                     (ก) ผมหยิก
                     (ข) ฮีโมฟิเลีย
                     (ค) หมู่เลือด AB
                     (ง) ตาบอดสี

       1. (ก) และ (ข)
       2. (ค) และ (ง)
       3. (ก) และ (ค)
       4. (ข) และ (ง)


คำตอบข้อ 10 ) ตอบ 3

เหตุผล

              
• ผมหยิกผมตรงเป็น ลักษณะเด่นแบบไม่สมบูรณ์ เป็นยีนที่อยู่บนออโตโซม
• ฮีโมฟีเลีย เป็นโรคที่เกิดจากยีนด้อยบนโครโมโซมX
• หมูเลือด AB เป็นลักษณะข่มร่วมกัน เป็นยีนบนออโตโซม
• ตาบอดสีเป็นโรคพันธุกรรมที่เกิดจากยีนด้อยบนโครโมโซม X

ดังนั้นที่ถูกคือ ก กับ ค

 
 
 
<<< ก่อนหน้า .......หน้าถัดไป >>
 
 

ฝึกทำข้อสอบโอเน็ตด้วยตนเอง

# ฝึกทำข้อสอบโอเน็ต ม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2560

# ฝึกทำข้อสอบโอเน็ต ม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2559

# ฝึกทำข้อสอบโอเน็ต ม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2558

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

เฉลยข้อสอบโอเน็ตอย่างละเอียด

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2548

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2549

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2550

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2551

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2552

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2553

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2558

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2559

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2560

 

 
 
 


กลับหน้าหลัก

 

จัดทำโดย

ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ