เฉลยข้อสอบO-net ม.6( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2551สอบกุมภาพันธ์ 2552

 
ดาวโหลดข้อสอบ O-net ปีการศึกษา 2551 สอบกุมภาพันธ์ 2552

ข้อ 1 (3)

ข้อ 2 (1)

ข้อ 3 (1)

ข้อ 4 (4)

ข้อ 5 (4)

ข้อ 6 (4)

ข้อ 7 (4)

ข้อ 8 (4)

ข้อ 9 (2)

ข้อ 10 (3)

ข้อ 11 (4)

ข้อ 12 (1)

ข้อ 13 (1)

ข้อ 14 (3)

 

ข้อ 15 (4)

ข้อ 16 (3)

ข้อ 17 (4)

ข้อ 18 (4)

ข้อ 19 (3)

ข้อ 20 (2)

ข้อ 21 (3)

ข้อ 22(1)

 

 

 

 

 

สิ่งดีๆเกิดขึ้นได้เนื่องจากมีผู้สนับสนุน

๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

ลิงก์ผู้สนับสนุน

 


 
ข้อ 1) เมื่อนำกระเพาะปัสสาวะของสุกรมาบรรจุสารละลายน้ำตาล รัดปลายทั้งสองด้านให้แน่น และนำไปชั่งน้ำหนัก จากนั้นจึงนำไปแช่น้ำกลั่นและชั่งน้ำหนักเป็นระยะๆ กราฟใดแสดงการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของกระเพาะปัสสาวะได้ถูกต้อง (O-net 51)
C1
 

คำตอบข้อ 1 ) ตอบ 3

เหตุผล
เมื่อบรรจุสารละลายน้ำตาล ลงในกระเพาะของสุกร สารละลายน้ำตาลเป็นสารละลายไฮเปอร์โทนิกต่อเซลล์ ทำให้ความเข้มข้นในเซลลสูงกว่าภายนอกทำให้น้ำจากภายนอกแพร่เข้าเซลล์ทำให้น้ำหนักของกระเพาะหมูเพิ่มขึ้น เมื่อเพิ่มได้ระยะหนึ่งน้ำหนักของกระเพาะสุกรจะคงที่ ดังนั้นกราฟที่เป็นไปได้มากที่สุด คือข้อ 3

**** ข้อมูลบางแหล่งกล่าวว่าเมื่อน้ำหนักหมูเพิ่มขึ้นจนระดับหนึ่งแล้วเซลล์อาจเน่าเปื่อยทำให้น้ำหนักลดลงซึ่งคำตอบน่าจะเป็นข้อ 4 แต่เมื่อพิจารณาข้อมูลการเติมน้ำตาลลงไปจะช่วยรักษาสภาพขอเซลล์ คล้ายกับการถนอมอาหาร หากท่านใดมีข้อชี้แนะเพิ่มเติมพร้อมน้อมรับคำแนะนำ

 
ข้อ 2) นักเรียนจะต้องหยดเลือดลงในภาชนะบรรจุสารละลายที่มีความเข้มข้นเท่าใด จึงจะทำ
ให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตก (O-net 51)

      1. 0.4 โมลาร์
      2. 0.6 โมลาร์
      3. 1.0 โมลาร์
      4. 1.6 โมลาร์

 

คำตอบข้อ 2 ) ตอบ 1

เหตุผล

       • สารละลาย NaCl ความเข้มข้น 0.85-0.9 % จะเป็น Isotonic ต่อเซลล์เม็ดเลือดแดงของคน
       • นักเรียนต้องหยดเลือดลงในสารละลายน้ำเกลือที่มีความเข้มข้นน้อยกว่า 0.85% น้ำจะออสโมซีสจากที่มีแรงดันออสดมติกต่ำ(สารละลายเจือจาง) ไปยัง บริเวณที่มีแรงดันออสโมติกสูง (สารละลายเข้มข้น)
       • น้ำเกลือ 0.85% มีค่าเท่ากับ 0.18 โมลาร์ ดังนั้นเซลล์เม็ดเลือดแดงจะแตกควรอยู่ในสารละลายที่เข้มข้นน้อยกว่า 0.18 โมลาร์
       • แต่ไม่มีตัวเลือกใดที่ความเข้มข้นน้อยกว่า 0.18 โมลาร์ จึงไม่มีข้อถูก หรือข้อที่เป็นไปได้มากที่สุด คือ 0.4 โมลาร์เนื่องจากมีความเข้มข้นน้อยที่สุด

 

 
ข้อ 3) ข้อใดแสดงสภาวะของเลือดในคนก่อนและหลังการออกกำลังกายใหม่ๆ ไม่ถูกต้อง (O-net 51)

คำตอบข้อ 3 ) ตอบ 1

เหตุผล
       การออกกำลังกาย เซลล์มีการสลายโมเลกุลของอาหารเพื่อให้ได้พลังงานแบบใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้พลังงานเพียงพอต่อกิจกรรม และของเสียจากการสลายโมเลกุลของอาหารแบบใช้ออกซิเจนคือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งต้องลำเลียงออกนอกร่างกายผ่านทางระบบหมุนเวียนเลือด โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่แพร่เข้าสู่กระแสเลือดจะละลายน้ำกลายเป็นกรดคาร์บอนิกโดยกรดคาร์บอนิกจะแตกตัว เกิดเป็นไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน และ ไฮโดรเจนไอออน (H+)

       นอกจากนี้ในขณะที่ออกกำลังกายหากมีการลำเลียงออกซิเจนไปให้เซลล์ไม่ทัน เซลล์จะมีการสลายโมเลกุลของอาหารเพื่อให้ได้พลังงานโดยไม่ใช้ก๊าซออกซิเจน โดยการหมักกรดแลกติก ทำให้ในกระแสเลือดมีกรดแลกติกเพิ่มขึ้น

ดังนั้น

       • pH ของเลือดหลังออกกำลังกาย ค่า pH ควรลดลงเล็กน้อย ==> เนื่องจากในกระแสเลือดมีปริมาณ H+เพิ่มขึ้้น
       • ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดควรลดลง ==> เนื่องจากถูกลำเลียงไปใช้ในการสลายอาหาร
       • ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ควรเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ==> เป็นของเสียที่ได้จากการสลายอาหาร
       • ความเข้มข้นของกรดแลกติกในเลือดควรเพิ่มขึ้น

*** ดังนั้นข้อที่ไม่ถูกต้อง คือข้อ 1 เนื่องจาก pH ก่อนออกกำลังกาย เป็น 7.4 หลังออกกำลังกาย เปลี่ยนเป็น 7.8 ซึ่งมีค่าเพิ่มขึ้น
 
 
ข้อ 4) โครงสร้างของสิ่งมีชีวิตในข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ได้ทำหน้าที่ป้องกันการสูญเสียน้ำจาก
ร่างกาย (O-net 51)

       1. ขนนก
       2. เกล็ดปลา
       3. ผนังลำตัวแมลง
       4. เยื่อหุ้มเซลล์พารามีเซียม


คำตอบข้อ 4 ) ตอบ 4

เหตุผล

       
       • ขนนก------> ช่วยป้องกันไม่ให้ผิวสัมผัสกับอากาศเป็นการลดการสูญเสียน้ำ
       • เกล็ดปลา------> เกล็ดปลาน้ำเค็มจะช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำ
       • ผนังลำตัวของแมลง------> มีความมันวาวช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำ
       • เยื่อหุ้มเซลล์พารามีเซียม------> ไม่สามารถป้องกันการสูญเสียน้ำได้เพราะน้ำสามารถเคลื่อนผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้โดยอาศัยกระบวนการแพร่แบบออสโมซีส
 
 

ข้อ 5) พิจารณาแผนภาพข้างล่างที่แสดงกลไกการรักษาสมดุลอุณหภูมิในร่างกายมนุษย์
การตอบสนองในข้อใดไม่ถูกต้อง(O-net 50)

C5

       1. (ก) และ (ข)
       2. (ค) และ (ฉ)
       3. (ง) และ (ช)
       4. (จ) และ (ซ)


คำตอบข้อ 5 ) ตอบ 4

เหตุผล

              คนเป็นสัตว์เลือดอุ่น กลไกการปรับตัวของสัตว์เลือดอุ่นจะสามารถ รักษาอุณหภูมิให้คงที่ตลอดเวลาได้ หรือ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงก็น้อยมาก ไม่ว่าอุณหภูมิภายนอกจะหนาวเย็นหรือร้อนเพียงใดก็ตาม   โดย อัตราเมตาโบลิซึมของร่างกายจะแปรผกผันกับอุณหภูมิ ภายนอก หมายความว่าหากภายนอกอาศหนาวเย็น อัตราเมตาบอลิซึมจะเพิ่มขึ้น และ หากอากาศภายนอกร้อน อัตราเมตาบอลึซึมจะลดลง ดังนั้นข้อที่ผิดคือ (จ) และ (ซ)

 

 
 
 
หน้าถัดไป >>
 
 

ฝึกทำข้อสอบโอเน็ตด้วยตนเอง

# ฝึกทำข้อสอบโอเน็ต ม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2560

# ฝึกทำข้อสอบโอเน็ต ม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2559

# ฝึกทำข้อสอบโอเน็ต ม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2558

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

เฉลยข้อสอบโอเน็ตอย่างละเอียด

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2548

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2549

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2550

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2551

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2552

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2553

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2558

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2559

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2560

 

 
 
 


กลับหน้าหลัก

 

จัดทำโดย

ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ