เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2558 สอบกุมภาพันธ์ 2559

 
ดาวโหลดข้อสอบ O-net ปีการศึกษา 2558 สอบกุมภาพันธ์ 2559

ข้อ 1 (4)

ข้อ 2 (1)

ข้อ 3 (2)

ข้อ 4 (5)

ข้อ 5 (3)

ข้อ 6 (2)

ข้อ 7 (2)

ข้อ 8 (4)

ข้อ 9 (1)

ข้อ 10 (2)

ข้อ 11 (1)

ข้อ 12 (2)

ข้อ 13 (2)

ข้อ 14 (5)

 

 

ข้อ 15 (1)

ข้อ 16 (5)

ข้อ 17 (3)

ข้อ 18 (5)

 

สิ่งดีๆเกิดขึ้นได้เนื่องจากมีผู้สนับสนุน

๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

ลิงก์ผู้สนับสนุน

ข้อ 1) ออร์แกแนลล์ใดที่พบเฉพาะภายในเซลล์ของสัตว์เท่านั้น (O-net 58)       

1. ไมโทคอนเดรีย        
2. แวคิวโอล        
3. ไลโซโซม       
4. เซนทริโอล       
5. ผนังเซลล์



คำตอบข้อ 1 ) ตอบ (4) เซนทริโอล

เหตุผล

เพราะ เซนทริโอลเป็นออร์กาแนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้ม พบในเซลล์สัตว์ และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวพวกโพรทิสต์ แต่ไม่พบในเซลล์พืชและพวกเห็ดรา ทำหน้าที่ เป็นที่ยึดเส้นใยสปินเดิลช่วยในการเคลื่อนที่ของโครโมโซม และแยกโครมาทิดแต่ละคู่ออกจากกันขณะเซลล์แบ่งตัว

 

 

ข้อ 2) เราควรทำเช่นไรจึงจะยืดอายุของดอกกุหลาบที่ปักแจกันให้อยู่ได้นาน (O-net 58)       

1. ตัดก้านดอกใต้น้ำ เพื่อไม่ให้มีฟองอากาศเกิดขึ้นในก้าน       
2. ทาวาสลินที่ก้านตรงรอยตัดเพื่อกันไม่ให้อากาศเข้าไปในก้านดอก       
3. ใส่ขี้เถ้าลงในน้ำเพื่อปรับค่าพีเอชของน้ำเป็นด่างมากขึ้น       
4. ใส่เกลือลงในน้ำเพื่อปรับความเข้มข้นและช่วยเพิ่มการดูดน้ำจากภายนอก       
5. เด็ดกลีบดอกทิ้งบางส่วน เพื่อลดการคลายน้ำ


คำตอบข้อ 2 ) ตอบ (1)  ตัดก้านดอกใต้น้ำ เพื่อไม่ให้มีฟองอากาศเกิดขึ้นในก้าน

เหตุผล

ตัวเลือกที่

ผลที่เกิดขึ้น

1.  ตัดก้านดอกใต้น้ำ เพื่อไม่ให้มีฟองอากาศเกิดขึ้นในก้าน

การป้องกันไม่ให้ฟองอากาศขึ้นไปก้านดอกจะช่วยให้น้ำ
ในท่อลำเลียงอยู่กันอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย
สามารถลำเลียงไปยังเซลล์ข้างเคียงได้ต่อเนื่อง
จึงช่วยยืดอายุของก้านดอกได้นานขึ้น

2. ทาวาสลินที่ก้านตรงรอยตัดเพื่อกันไม่ให้อากาศ
เข้าไปในก้านดอก

วาสลินจะขัดขวางการลำเลียงน้ำจากภายนอก
เข้าสู่ก้านดอกทำให้เมื่อพืชสูญเสียน้ำไปแล้ว
ลำเลียงน้ำเข้าไปทดแทนไม่ได้

3. ใส่ขี้เถ้าลงในน้ำเพื่อปรับค่าพีเอชของน้ำเป็นด่างมากขึ้น

ทำให้ความเข้มข้นของสารละลายในน้ำสูงขึ้น
เกิดสภาวะที่เป็นสารละลายไฮเปอร์โทนิก (Hypertonic solution) ส่งผลให้น้ำในเซลล์ของพืชสูญเสียออกมาทำให้พืชเหี่ยวเฉาเร็วขึ้น

4. ใส่เกลือลงในน้ำเพื่อปรับความเข้มข้นและช่วยเพิ่ม
การดูดน้ำจากภายนอก

ส่งผลคล้ายคลึงกับข้อ 3

5. เด็ดกลีบดอกทิ้งบางส่วน เพื่อลดการคลายน้ำ

การคายน้ำส่วนใหญ่เกิดที่ใบดังนั้น การเด็ด กลีบดอกทิ้ง
บางส่วนจึงช่วยลดการคลายน้ำได้เพียงเล็กน้อย
เนื่องจากยังมีการคลายน้ำส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ใบอย่างต่อเนื่อง

 

 
ข้อ 3) อวัยวะใดที่ปลาไม่ได้ใช้ ในการรักษาดุลยภาพของน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย (O-net 58)

       1. เหงือก      
       2. รูจมูก       
       3. ผิวหนัง   
       4. ไต
       5. ทวารหนัก



คำตอบข้อ 3 ) ตอบ (2) รูจมูก

เหตุผล

 เหงือก ==> ช่วยขับแร่ธาตุกรณีปลาเค็ม ส่วน ปลาน้ำจืด เหงือกช่วยดูดแร่ธาตุ

 ผิวหนังมีเกล็ด ==> ช่วยป้องกันไม่ให้แร่ธาตุซึมเข้ากรณีปลาทะเล ส่วนปลาน้ำจืด เกล็ดป้องกันไม่ให้น้ำซึมผ่าน

 ไต ==> ไตปลาน้ำเค็ม มีโกลเมอรูลัสเล็กหรือไม่มีเลยทำให้กรองของเหลวได้น้อยและปัสสาวะออกมาน้อยด้วย ปัสสาวะจะมีเกลือแร่พวกที่เป็นประจุคู่เช่นแมกนีเซียมไอออนทูซัสเฟตเป็นส่วนใหญ่ และมีของเสียจากเมแทบอลิซึมของสารโปรตีนเจีอปน
ออกมาน้อยมาก ปัสสาวะมีความเข้มข้นเท่าเลือด (isotonic urine)  ส่วนไตไตปลาน้ำจืดมีโกลเมอรูลัส (glomerulus) ขนาดใหญ่ทำให้กรองของเหลวได้จำนวนมากและกำจัดปัสสาวะที่เจือจาง(dilute urine)และเจือจางกว่าเลือด(hypoto
nic urine) ออกมา เป็นการรักษาเกลือแต่และกำจัดน้ำส่วนเกิดอย่างมีประสิทธิภาพ
(อ้างอิงจาก  : http://www.vcharkarn.com/vcafe/53025)

 ทวารหนัก ===> เป็นทางผ่านของอุจาระช่วยขับเกลือกรณีปลาน้ำเค็ม และช่วยขับน้ำกรณีปลาน้ำจืด

ดังนั้นส่วนที่ไม่ได้ใช้ในการรักษาดุลยภาพ ของปลาคือข้อ (2) รูจมูก

 

 
ข้อ 4) นักท่องเที่ยวชาวไทยไปเที่ยวประเทศอินเดียในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด ร่างกายของเขาจะเกิดการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้ ยกเว้น ข้อใด (O-net 58)

      1. สมองส่วนไฮโพทาลามัสไปกระตุ้นร่างกาย
      2. หลอดเลือดที่ผิวหนังขยายตัว
      3. กล้ามเนื้อที่ยึดโคนเส้นขนคลายตัว
      4. ต่อมเหงื่อเพิ่มการหลั่งเหงื่อ
      5. อัตราการเผาผลาญสารอาหารเพิ่มขึ้น

 


คำตอบข้อ 4 ) ตอบ (5) อัตราการเผาผลาญสารอาหารเพิ่มขึ้น

เหตุผล

การเปลี่ยนแปลของร่างกายขณะที่อุณหภูมิภายนอกสูงขึ้นเป็นผลให้สมองส่วนไฮโพทาลามัสควบคุมร่างกายดังนี้

  1. หลอดเลือดฝอยที่ผิวหนังคลายตัวเพื่อเพิ่มการแผ่รังสีความร้อน
  2. ขนเอนราบต่อมเหงื่อหลั่งเหงื่อเพิ่มการระเหยของเหงื่อ
  3. ลดอัตราเมแทบอลิซึมของร่างกาย ซึ่งส่งผลให้อัตราการเผาผลาญสารอาหารลดลงด้วย

ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในข้อ (5) จึงเป็นข้อยกเว้น

 

 
ข้อ 5) ข้อใดจับคู่ระหว่างอวัยวะในระบบภูมิคุ้มกันและหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง (O-net 58)

       1.  ต่อมน้ำเหลือง ทำหน้าที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง
       2.  ตับทำหน้าที่สร้างและทำลายเกล็ดเลือด
       3.  ไขกระดูก ทำหน้าที่สร้างเกล็ดเลือด
       4.   ม้าม ทำหน้าที่ทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว
       5.   ต่อมไทมัส ทำหน้าที่ทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง

 


คำตอบข้อ 5 ) ตอบ (3)   ไขกระดูก ทำหน้าที่สร้างเกล็ดเลือด

เหตุผล

เพราะไขกระดูกเป็นแหล่งสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวทุกชนิด รวมทั้งเซลล์เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือด


 
 

เลือกข้อถัดไปเพื่อเข้าศึกษา

 

หน้าถัดไป >>


[ ข้อ 1- ข้อ 5]   /    [ข้อ 6- ข้อ 10]   /   [ข้อ 11-ข้อ 15]    /    [ข้อ 16- ข้อ 18]

 

 

 
 

 


กลับหน้าหลัก

พัฒนาโดย ครูนันทนา สำเภา
ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

ช่องทางติดตามผลงงานทาง Youtube ::

ติดตามผลงานทางแฟนเพจเฟสบุ๊ค  ::