|
|
พฤติกรรมการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข ( Conditioning )
เป็นการเรียนรู้โดยมีสิ่งเร้าสองสิ่งคือ สิ่งเร้าที่แท้จริง และสิ่งเร้าที่ไม่แท้จริง เมื่อสัตว์ผ่านการเรียนรู้แบบนี้แล้ว จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ต้องวางเงือนไข เหมือนกับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข ตัวอย่างเช่น
เมื่อได้กลิ่นผงเนื้อ สุนัขจะตอบสนองด้วยการน้ำลายไหล ผงเนื้อจัดเป็นสิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไขหรือเป็นสิ่งเร้าที่แท้จริง (Unconditioned stimulus) เนื่องจากในธรรมชาติเมื่อสุนัขได้กลิ่นเนื้อ สุนัขก็จะน้ำลายไหล
เมื่อสั่นกระดิ่งตามธรรมชาติแล้วสุนัขจะไม่น้ำลายไหล แต่เมื่อสุนัขตัวนี้ได้รับการฝึกการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข เมื่อสั่นกระดิ่ง ปรากฏว่าสุนัขน้ำลายไหล เหมือนกับการตอบสนองกับผงเนื้อ ซึ่งการสั่นกระดิ่งจัดเป็น สิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข หรือเป็นสิ่งเร้าที่ไม่แท้จริง (Conditioned stimulus)
 |
อิวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) นักสรีรวิทยาชาวรัสเชีย |
นักวิทยาศาสตร์ผู้ที่ทดลองเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ อิวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) นักสรีรวิทยาชาวรัสเชียได้ทดลองกับสุนัข พบว่าสุนัขจะน้ำลายไหลเมื่อได้เห็นอาหารหรือได้กลิ่นอาหาร จากนั้น พาฟลอฟ ได้ฝึกให้สุนัขเรียนรู้โดย สั่นกระดิ่งแล้วให้สุนัขเห็นอาหารในระยะเวลาสั้นๆ ทำเช่นนี้ติดต่อกันหลายๆวัน ต่อมาแม้ว่าสั่นกระดิ่งโดยไม่มีอาหารสุนัขก็จะน้ำลายไหล เพราะเกิดวงจรการเรียนรู้ใหม่เกิดขึ้น
แผนผังสรุปการทดลองของพาฟลอฟ
-
สุนัข + เสียงกระดิ่ง (สิ่งเร้าไม่แท้จริง) ----> สุนัขน้ำลายไม่ไหล(การตอบสนองโดยไม่ต้องวางเงื่อนไข)
-
สุนัข + อาหาร (สิ่งเร้าแท้จริง) ---------> สุนัขน้ำลายไหล (การตอบสนองโดยไม่ต้องวางเงื่อนไข)
-
สุนัข + เสียงกระดิ่ง + อาหาร ---------> สุนัขน้ำลายไหล (การตอบสนองโดยไม่ต้องวางเงื่อนไข)
(เป็นขั้นการเรียนรู้เพื่อทำให้เกิดการผูกพันของสิ่งเร้าแท้จริงกับสิ่งเร้าที่ไม่แท้จริง) เมื่อทำติดต่อกันหลายครั้งหลายวัน)
-
สุนัข + เสียงกระดิ่ง (สิ่งเร้าไม่แท้จริง) ------> สุนัขน้ำลายไหล (การตอบสนองโดยต้องวางเงื่อนไข)
นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ว่าสาเหตุที่สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง เป็นเพราะเสียงกระดิ่งเข้าไปเกี่ยวข้องและผูกพันกับตัวกระตุ้นเดิม คืออาหารที่สุนัขได้เห็นและได้กลิ่น จึงตอบสนองกับทั้งตัวกระตุ้นใหม่ และตัวกระตุ้นเดิม เมื่อสุนัขเกิดการเรียนรู้แล้ว คือให้เฉพาะตัวกระตุ้นใหม่ (เสียงกระดิ่ง) สุนัขก็ตอบสนองโดยน้ำลายไหล หรือให้เฉพาะตัวกระตุ้นเดิม(อาหาร) สุนัขก็ตอบสนองเช่นเดียวกัน
พฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไขนี้จะเกิดได้ยาวนานเพียงใดขึ้นกับการฝึกให้สัตว์
ได้เรียนรู้ที่จะผูกพัน
ระหว่างตัวกระตุ้นใหม่ กับตัวกระตุ้นเดิมได้ต่อเนื่องมากน้อยเพียงใด หากสัตว์ที่ได้รับการฝึกหรือผ่านการเรียนรู้แบบนี้แล้วไม่ได้รับการฝึกต่อเนื่องการเรียนรู้จะค่อยๆหายไป คือ เมื่อสั่นกระดิ่งสัตว์จะไม่ตอบสนองโดยน้ำลายไหลอีก
ประโยชน์ของพฤติกรรมการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข คือ มนุษย์จะนำไปใช้ฝึกสัตว์ เช่นให้คาบของ เปิดประตู หรือ การแสดงโชว์ของละครสัตว์ เป็นต้น
|