BEHAVIOR
 
 

เปลี่ยนภาษา ::ไทย / English

หน้าหลัก

กลไกการเกิดพฤติกรรม

พฤติกรรมที่มีมาตั้งแต่กำเนิด
     :: โอเรียนเตชัน
     :: รีเฟล็กซ์
     :: รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง
     
พฤติกรรมการเรียนรู้
     :: Habituation
     :: Imprinting
     :: Trial and Error
     :: Conditioning
     :: Reasoning

พฤติกรรม กับพัฒนาการ
    ของระบบประสาท

การสื่อสารระหว่างสัตว์
     :: การสื่อสารด้วยท่าทาง
     :: การสื่อสารด้วยเสียง
     :: การสื่อสารด้วยการสัมผัส
     :: การสื่อสารด้วยสารเคมี
     :: การสื่อสารด้วยคลื่น
     :: การแผ่สนามแม่เหล็ก


เฉลยคำถามท้ายบท


 

ฤติกรรม (Behavior) ::

     หมายถึง กิริยาอาการที่แสดงออกทุกรูปแบบของสิ่งมีชีวิตเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นทั้งภายในและ สิ่งเร้าภายนอก เป็นการแสดงออกที่สอดคล้องกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมในขณะนั้น สามารถ สังเกตเห็นได้จากภายนอกโดยรูปแบบของพฤติกรรมต่างๆ นั้นเป็นผลมาจากการทำงานร่วมกันของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม

cool hot
พฤติกรรมมนุษย์ที่แสดงออกเมื่ออากาศหนาวเย็น พฤติกรรมมนุษย์ที่แสดงออกเมื่ออากาศร้อน

 

การศึกษาพฤติกรรมของสัตว์

     1. วิธีการทางสรีรวิทยา (Physiological approach)::มีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบาย พฤติกรรมในรูปของกลไก การทำงาน ของระบบประสาท ซึ่งก็คือรูปแบบและกลไกการเกิดพฤติกรรมที่นักเรียน ได้เรียนในบทเรียนรายวิชาชีววิทยานั่นเอง
     2. วิธีการทางจิตวิทยา (Psychological approach) :: เป็นการศึกษาถึงผลของปัจจัยต่างๆรอบตัวและปัจจัยภายในร่างกายที่มีผลต่อการพัฒนาและการแสดงออก
ของ พฤติกรรมที่มองเห็นได้ชัดเจน

 

กลไกการเกิดพฤติกรรม

     พฤติกรรม ของสิ่งมีชีวิตจะเกิดขึ้นหรือไม่นั้นขึ้นกับ
    1. มูลเหตุจูงใจ (Motivation) ::พลังผลักดันให้คนมีพฤติกรรม คนที่มีแรงจูงใจสูง จะใช้ความพยายามในการกระทำไปสู่เป้าหมายโดยไม่ลดละ แต่คนที่มีแรงจูงใจต่ำ จะไม่แสดงพฤติกรรม หรือไม่ก็ล้มเลิก การกระทำ ก่อนบรรลุเป้าหมาย ตัวอย่างของมูลเหตุจูงใจเช่น ลักษณะนิสัย อันได้แก่ความชอบ หรือไม่ชอบ สิ่งหนึ่งสิ่งใด หรืออาจเป็นเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก เป็นต้น อย่างไรก็ตามมูลเหตุจูงใจอาจเกิดขึ้น เนื่องจากเป็นผลมาจาก สิ่งเร้าภายในร่วมด้วย
    2. สิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้น (Stimulus) :: สิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดพฤติกรรมนั้น มี 2 ประเภท คือ
          2.1 สิ่งเร้าภายนอก (external stimuli) :: เป็นสิ่งที่อยู่ภายนอกร่างกายที่ประสาทสัมผัสทั้ง ห้า
               (ตา หู จมูก ลิ้น และ ผิวหนัง) สามารถสัมผัส และรับรู้ได้
          2.2 สิ่งเร้าภายใน (internal stimuli) :: เป็นความพร้อมภายในร่างกายก่อนที่จะแสดงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจาก กลไกการทำงานภายในของร่างกาย เช่น ความหิวกระหาย การขับถ่าย ความต้องการทางเพศ


ตัวอย่างความสัมพันธ์ของ มูลเหตุจูงใจกับสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้น


ตัวอย่างเช่น::
     มีบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอยู่ชามหนึ่ง ที่ปรุงเสร็จพร้อมรับประทานวางไว้บนโต๊ะกับข้าว โดยนาย A กลับจากโรงเรียนในตอนเย็น หิวข้าว มาพบพฤติกรรมที่ควรเกิดขึ้นกับนาย A คือ ตรงเข้าไปกินบะหมี่ แต่หากว่า นาย A เดิมเป็นคนที่ไม่ชอบกินบะหมี่ หรือ บะหมี่ที่มีเป็นยี่ห้อหรือรสชาด ที่ไม่ชอบ นาย A อาจจะไม่กินบะหมี่ชามนั้น อาจค้นหาอาหารอย่างอื่นกินเพื่อระงับความหิว

----------------------------------------------------------------------------------------

จากเหตุการณ์ที่กล่าวมา
สิ่งเร้าภายนอก คือ บะหมี่
สิ่งเร้าภายใน   คือ ความหิวซึ่งเป็นกลตามธรรมชาติของร่างกาย
มูลเหตุจูงใจ     คือ ความไม่ชอบ ซึ่ง ไปมีผลในการลดการเกิดพฤติกรรม


     อย่างไรก็ตามการพิจารณาถึงมูลเหตุจูงใจซึ่งเป็นเรื่องของลักษณะ นิสัย และอารมณ์ อาจมีความซับซ้อน และ เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางจิตวิทยา จึงขอกล่าวไว้เพียงเท่านี้ซึ่งในบทเรียนนูี้จะเน้นไปที่ กลไกที่ทำให้เกิดพฤติกรรมอันเป็นผลมาจาก สรีรวิทยา โดยไม่นำมูลเหตุจูงใจมาวิเคราะห์ร่วม


กลไกการเกิดพฤติกรรม

ตัวอย่างการเกิดพฤติกรรม::
     นาย B เมื่อกระหายน้ำ (สิ่งเร้าภายใน) มองเห็นน้ำเปล่าที่บรรจุอยู่ภายในขวด (สิ่งเร้าภายนอก)ซึ่งไปกระตุ้นหน่วยรับความรู้สึก คือตา ส่งสัญญาณไปแปลผลที่สมอง สมองสั่งการผ่านมายังไขสันหลัง (สมองกับไขสันหลังเป็นระบบประสาทส่วนกลาง) ควบคุมกล้ามเนื่อแขนขาและลำตัว (หน่วยปฏิบัติงาน) ให้แสดงพฤติกรรมเดินไปเปิดน้ำ แล้วดื่ม

พฤติกรรมจะสลับซับซ้อนเพียงใดขึ้นอยู่กับระดับ ความเจริญของหน่วยต่างๆ ได้แก่
     1. หน่วยรับความรู้สึก (Recepter)
     2. ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nerverous systen)
     3. หน่วยปฏิบัติงาน (Effector)

 

   

เรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ