หัวข้อ

๐ แป้ง

ชนิดของแป้ง

ลักษณะของเม็ดแป้ง

องค์ประกอบของแป้ง

สมบัติการดูดซับน้ำของแป้ง

สมบัติความหนืดของแป้ง

สมบัติเจลาติไนเชซันของแป้ง

การคืนตัวของแป้งสุก รีโทรเกรเดชัน 

แหล่งอ้างอิง

 

องค์ประกอบของแป้ง

     

           แป้งมีคาร์โบไฮเดรตเป็นองค์ประกอบหลักซึ่งมีโครงสร้างที่ประกอบด้วย คาร์บอน : ไฮโดรเจน : ออกซิเจน
ในอัตราส่วน 6 : 10 : 5 อนุพันธ์ของแป้งเกิดจากการรวมกันของกลูโคสเป็นพอลิเมอร์สายยาว โดยมีหน่วยของน้ำตาลกลูโคสเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคซิดิก (glycosidic linkage) ภายในเม็ดแป้งประกอบด้วยพอลิเมอร์ของกลูโคส 2 ชนิด คือ อะไมโลส และอะไมโลเพกทิน แป้งแต่ละชนิดมีสัดส่วนของอะไมโลสและอะไมโลเพกทินที่แตกต่างกัน ดังตาราง ทำให้คุณสมบัติของแป้งในพืชแต่ละชนิดนั้นต่างกัน

ตารางแสดง องค์ประกอบของเม็ดแป้ง


ชนิดแป้ง

อะไมโลส
(%)

อะไมโลเพกทิน
(%)

ความชื้น
(ที่ความชื้นสัมพัทธ์ 65% และอุณหภูมิ 20oC)

ไขมัน (%)

โปรตีน (%)

เถ้า
(%)

ฟอสฟอรัส (%)

แป้งมันฝรั่ง
แป้งข้าวโพด
แป้งสาลี
แป้งมันสาปะหลัง
แป้งข้าวโพดเหนียว
แป้งข้าวเจ้า

21
28
28
17
0
17

79
72
72
83
100
83

19
13
13
13
13
ไม่มีรายงาน

0.05
0.7
0.8
0.1
0.15
0.8

0.06
0.35
0.4
0.1
0.25
0.45

0.4
0.1
0.2
0.2
0.1
0.5

0.08
0.02
0.06
0.01
0.01
0.1

(ที่มา Swinkles,1985)

 

อะไมโลส

         อะไมโลสเป็นพอลิเมอร์เชิงเส้นที่มีกลูโคสประมาณ 2,000 หน่วย เชื่อมกันด้วยพันธะ แอลฟา-1,4 กลูโคซิดิก (alpha -1, 4 glucosidic linkage) ดังภาพ ในแป้งข้าวโพด แป้งสาลี และแป้งข้าวฟ่าง มีปริมาณ
อะไมโลส สูงถึง 28% เมื่อเทียบกับแป้งจากพืชหัวและราก เช่น แป้งมันฝรั่ง แป้งมันสาปะหลัง และแป้งเท้ายายม่อมที่มีอะไมโลสเพียง 20% แป้งบางชนิดไม่มีอะไมโลสอยู่เลย เรียกว่า แป้งแว๊กซี่ (waxy starch) ซึ่งอะไมโลสมีคุณสมบัติไม่ละลายน้ำ แต่เมื่ออยู่ในน้ำอะไมโลส จะสร้างพันธะไฮโดรเจนกับโมเลกุล
อะไมโลสข้างเคียงเป็นสายยาวคู่ขนานคล้ายตาข่าย อุ้มน้ำน้อยลง และตกตะกอนได้ ส่วนแป้งแว๊กซี่ที่ไม่มี
อะไมโลสเป็นองค์ประกอบจึงมักไม่เกิดการตกตะกอน (กล้าณรงค์และเกื อกูล, 2550; ชนิดา, 2551)

 

อะไมโลเพกทิน
       แป้งโดยทั่วไปมีปริมาณอะไมโลเพกทิน ประมาณ 70-100% อะไมโลเพกทินเป็นพอลิเมอร์เชิงกิ่ง ที่มีกลูโคสมากกว่า 10,000 หน่วย เชื่อมต่อกันเป็นเส้นตรงด้วยพันธะแอลฟา-1, 4 กลูโคซิดิก และโครงสร้างบริเวณกิ่งสาขาเป็นพอลิเมอร์กลูโคสสายสั้น เชื่อมต่อกันด้วยพันธะแอลฟา-1, 6 กลูโคซิดิก อะไมโลเพกทินจัดเป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ น้ำหนักโมเลกุลของอะไมโลเพกทินมากกว่าอะไมโลสประมาณ 100 เท่า
(กล้าณรงค์และเกือกูล, 2550; ชนิดา, 2551)

          ถ้าสกัดองค์ประกอบอื่นในแป้งออกไปจนเหลือเฉพาะคาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของแป้งจะเรียกส่วนที่เหลือว่า สตาร์ช (starch) สตาร์ชเป็นพอลิแซ็กคาไรด์ที่เก็บสะสมในส่วนต่างๆ ของพืช มีโครงสร้างแบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ อะไมโลส (amylose) และ อะไมโลเพกทิน (amylopectin)โดยทั่วไปสตาร์ชจะมีอะไมโลสเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 20 – 30 และมีอะไมโลเพกทินเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 70 – 80 ซึ่งสตาร์ชที่ได้จากพืชต่างชนิดกันจะมีปริมาณ  โครงสร้าง และการจัดเรียงตัวของอะไมโลสและอะไมโลเพกทินแตกต่างกัน
จึงทำให้แป้งจากพืชแต่ละชนิดมีสมบัติต่างกันอะไมโลสและอะไมโลเพกตินมีสมบัติที่แตกต่างกัน
ดังแสดงในตาราง

 

องค์ประกอบอื่นๆ


       ภายในเม็ดแป้ง ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่มีผลต่อคุณสมบัติของแป้งที่สำคัญ และมีปริมาณที่แตกต่างกันในแป้งแต่ละชนิด (กล้าณรงค์และเกื อกูล, 2550) ได้แก่

        ไขมัน ที่เป็นองค์ประกอบของแป้งมีปริมาณต่ำกว่า 1% อยู่บริเวณพื้นผิวของเม็ดแป้งและกระจายอยู่ทั่วไปภายในเม็ดแป้ง ไขมันบริเวณผิวของเม็ดแป้งประกอบด้วย ไตรกลีเซอไรด์ กรดไขมันอิสระ ไกลโคลิพิด และฟอสฟอลิพิด ส่วนไขมันภายในเม็ดแป้ง จะเชื่อมต่อกับคาร์โบไฮเดรตอย่างหลวม ๆ คุณสมบัติของไขมันในเม็ดแป้งช่วยลดความสามารถในการพองตัว การละลาย และการดูดน้ำของแป้ง ส่วนไขมันไม่อิ่มตัวที่บริเวณ
พื้นผิวเม็ดแป้งจะทำให้เกิดกลิ่นหืนจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน

       โปรตีน ในเม็ดแป้งมีปริมาณโปรตีนต่ำกว่า 1% อยู่บริเวณพื้นผิวของเม็ดแป้ง ทำให้เม็ดแป้งเกิดประจุที่พื้นผิว ส่งผลต่อการพองตัว การดูดน้ำ การกระจายของเม็ดแป้ง และอัตราการเกิดเจลาทิไนซ์ โปรตีนในเม็ดแป้งทำให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างกรดอะมิโนกับน้ำตาลรีดิวซิง ทำให้เกิดปฏิกิริยาเมลลาร์ด (maillard reaction) มีผลต่อสีและกลิ่นของผลิตภัณฑ์

        เถ้า คือส่วนประกอบของสารอนินทรีย์ในแป้ง ได้แก่ โซเดียม แมกนีเซียม แคลเซียม และโพแทสเซียม

        ฟอสฟอรัส ในแป้งมีปริมาณน้อยกว่า 0.1% โดยอยู่ในรูปของฟอสเฟตเชื่อมกับหมู่ไฮดรอกซิลที่คาร์บอนตาแหน่งที่ 3 และ 6 ของหน่วยกลูโคส ฟอสฟอรัส ทำให้พื้นผิวของเม็ดแป้งมีประจุลบ แรงผลักระหว่างประจุลบทำให้เม็ดแป้งพองตัวง่าย และมีความหนืดสูง เช่น แป้งมันฝรั่ง

 

 

 

 

รวบรวมเรียบเรียงเรื่องโดย
ครูนันทนา สำเภา
Webmaster NaNa-Bio.com
26 ธันวาคม 2563

 

๐ บทความที่น่าสนใจ ๐

[ การทำเส้นก๊วยจั๊บญวน ]

[ แก้ปัญหานอนไม่หลับโดยไม่ต้องพึ่งยา ]

[ลงทุนกับกองทุน LTF ช่วยลดหย่อนภาษี]

[กฏเหล็กของคนที่อยากผอมด้วยมะนาว]

[พลังแห่งความคิด]

[ความสุข]

[สรรหามาฝากว่าด้วยคนมีเสน่ห์]

 

 

๐ [ภาพมายา]

๐ [ทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างไรให้สนุก]

๐ [เมนูแนะนำจากต้นอ่อนทานตะวันงอก]