เฉลยข้อสอบO-net ม.6( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2552สอบกุมภาพันธ์ 2553

 
ดาวโหลดข้อสอบ O-net ปีการศึกษา 2552 สอบกุมภาพันธ์ 2553

ข้อ 1 ( 4 )

ข้อ 2 ( 4 )

ข้อ 3 ( 2 )

ข้อ 4 ( 3 )

ข้อ 5 ( 1 )

ข้อ 6 ( 4 )

ข้อ 7 ( 4 )

ข้อ 8 ( 4 )

ข้อ 9 ( 3 )

ข้อ 10 ( 4 )

ข้อ 11 ( 2 )

ข้อ 12 ( 2 )

ข้อ 13 ( 3)

ข้อ 14 ( 2)

 

ข้อ 15 ( 2 )

ข้อ 16 ( 1 )

ข้อ 17 ( 4 )

ข้อ 18 ( 1 )

ข้อ 19 ( 2 )

ข้อ 20 ( 3 )

 

 

 

 

 

 

สิ่งดีๆเกิดขึ้นได้เนื่องจากมีผู้สนับสนุน

๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

ลิงก์ผู้สนับสนุน

 


 

ข้อ 11) ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับมิวเทชัน (O-net 52)

      1. มีอัตราการเกิดได้สูงตามธรรมชาติ
      2. เกิดได้ทั้งระดับโครโมโซมและดีเอ็นเอ
      3. เกิดขึ้นได้เฉพาะในเซลล์ที่กำลังแบ่งตัว
      4. มิวเทชันในเซลล์ทุกชนิดสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกหลานได้
 

คำตอบข้อ 11 ) ตอบข้อ 2. เกิดได้ทั้งระดับโครโมโซมและดีเอ็นเอ

เหตุผล

          มิวเทชัน แบ่งได้ 2 ระดับคือระดับ DNA และระดับโครโมโซม โดยในธรรมชาติจะเกิดในอัตราที่ต่ำ มิวเทชันที่เกิดกับเซลล์ร่างกายโดยทั่วไปจะไม่ถ่ายถอดความผิดปกติไปยังลูกหลาน


    
ข้อ 12) ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการโคลน (O-net 52)

       1. ได้สัตว์ตัวใหม่ที่มีเพศเดียวกับสัตว์ต้นแบบ
       2. เป็นการสร้างสัตว์ตัวใหม่โดยไม่ต้องอาศัยเซลล์สืบพันธุ์
       3. แฝดเหมือนคือตัวอย่างของการโคลนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
       4. แกะดอลลีเกิดจากการโคลนโดยใช้เซลล์บริเวณเต้านมเป็นต้นแบบ

 

คำตอบข้อ 12 ) ตอบข้อ 2  เป็นการสร้างสัตว์ตัวใหม่โดยไม่ต้องอาศัยเซลล์สืบพันธุ์

เหตุผล

    การโคลนนิ่ง (Cloning) คือ การสร้างสัตว์ตัวใหม่ขึ้นมาโดยไม่ใช้เซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์เพศผู้หรืออสุจิของสัตว์เพศผู้
แต่ใช้นิวเคลียสจากเซลล์เต็มวัยของเซลล์ร่างกายของสัตว์เพศอะไรก็ได้ใส่ลงไปที่เซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์เพศเมียหรือเซลล์ไข่โดยนำสารพันธุกรรม หรือ DNA ที่มีอยู่ในเซลล์สืบพันธุ์ของเพศเมียหรือเซลล์ไข่ออกก่อน แล้วนำเซลล์สืบพันธุ์ของเพศเมียหรือเซลล์ไข่ ใส่ไปในตัวเพศเมียเพื่อให้คลอดออกมา
เมื่อคลอดออกมาทำให้ได้สัตว์ตัวใหม่ที่มี รูปร่าง หน้าตา ลักษณะภายนอก เหมือนกับสัตว์ตัวที่เป็นเจ้าของเซลล์เดิมเกือบทุกประการ และมีพันธุกรรมเหมือนกับสัตว์ตัวที่เป็นเจ้าของเซลล์เดิมทุกประการ ถ้าเจ้าของเซลล์เป็นเพศเมียก็จะได้สัตว์ให้เป็นเพศเมีย ถ้าเจ้าของสัตว์เป็นเพศผู้จะได้สัตว์ใหม่เป็นเพศผู้ เหมือนกับเจ้าของเซลล์เดิมทุกประการ
                จากข้อความข้างต้น สรุปได้ว่าการโคลนจำเป็นต้องอาศัยเซลล์สืบพันธุ์

 

 
ข้อ 13) ข้อใดจัดเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (O-net 52)
       1. แตงโมไม่มีเมล็ด
       2. กล้วยไม้ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
       3. แบคทีเรียที่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน
       4. กล้วยไม้พันธุ์ใหม่ที่ได้จากการฉายรังสีแกมมา

 


คำตอบข้อ 13 ) ตอบข้อ 3. แบคทีเรียที่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน

เหตุผล
           สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม คือ สิ่งมีชีวิตที่องค์ประกอบทางพันธุกรรมถูกดัดแปลงโดยใช้กลวิธีทางพันธุวิศวกรรมที่เรียกว่าเทคโนโลยีการรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ (DNA Recombinant) ซึ่งในข้อนี้คือ แบคทีเรียที่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน โดยการตัดและต่อ DNA ให้มียีนที่สร้างอินซูลิน แล้วใส่เข้าไปในเซลล์แบคทีเรีย เพื่อให้เกิดการแสดงออกและสร้างพอลิเพปไทด์ที่ต้องการ จากนั้นจึงนำเซลล์ไปเพื่อเพิ่มจำนวนยีนที่สร้างสายพอลิเพปไทด์ดังกล่าวและ ผลิตอินซูลินที่ทำงานได้


 
 
 
ข้อ 14) หลักฐานในข้อใดที่ไม่สามารถใช้ตรวจหาฆาตกรโดยใช้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (O-net 52)

      1. เส้นผม
      2. ลายนิ้วมือ
      3. คราบอสุจิ
      4. คราบเลือด



คำตอบข้อ 14 ) ตอบ ข้อ 2. ลายนิ้วมือ

เหตุผล

       การตรวจโดยใช้ลายพิมพ์ดีเอนเอ  เพื่อระบุเอกลักษณ์เฉพาะบุคคลเนื่องจากบุคคลมี รูปแบบ DNA ที่แตกต่างกัน ซึ่งการตรวจลายพิมพ์ DNA ควรใช้ส่วนของร่างกายที่มีเซลล์เป็นองค์ประกอบ ดังนั้นในข้อนี้ส่วนที่ไม่สามารถนำมาตรวจลายพิมพ์ DNA ได้คือ ลายนิ้วมือ

 
 

ข้อ 15)ในระบบนิเวศซึ่งประกอบด้วย เหยี่ยว งู กระรอก หญ้า และตั๊กแตน สิ่งมีชีวิต ในข้อใดมีมวลชีวภาพน้อยที่สุด (O-net 52)

       1. งู
       2. เหยี่ยว
       3. หญ้า
       4. กระรอกและตั๊กแตน

 


คำตอบข้อ 15 ) ตอบ ข้อ 2. เหยี่ยว

เหตุผล

         มวลชีวภาพ (Bio mass) :   คือ สารอินทรีย์ที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติและสามารถนำมาใช้ผลิตพลังงานได้ (ความหมายง่ายๆคือเนื้อหนังอันเป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต) 
โดยโจทย์กำหนดระบบนิเวศแห่งหนึ่งมาให้ ซึ่งประมาณการถ่ายทอดพลังงานในลักษณะของห่วงโซ่อาหารได้ดังนี้


            หญ้า -------> กระรอกและตั๊กแตน -------> งู  --------> เหยี่ยว


ซึ่งตามหลักการของการถ่ายทอดพลังงานผู้ผลิตต้องมีมากกว่าผู้บริโภค เสมอ ส่วนผู้บริโภคส่วนผู้บริโภคที่อยู่ลำดับสูงที่สุดจะมีจำนวนน้อย ตามหลักของกฎสิบเปอร์เซ็นต์
          ดังนั้นในระบบนิเวศนี้เหยี่ยวจะมีจำนวนน้อยที่สุดจึงมีเนื้อหนังอันเป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต(มวลชีวภาพ) น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับมวลทั้งหมดของงู / มวลทั้งหมดกระรอกและตั๊กแตน / และมวลทั้งหมดของหญ้าในระบบนิเวศนี้

 

 
 
 
<<< ก่อนหน้า .......หน้าถัดไป >>
 
 

ฝึกทำข้อสอบโอเน็ตด้วยตนเอง

# ฝึกทำข้อสอบโอเน็ต ม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2560

# ฝึกทำข้อสอบโอเน็ต ม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2559

# ฝึกทำข้อสอบโอเน็ต ม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2558

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

เฉลยข้อสอบโอเน็ตอย่างละเอียด

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2548

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2549

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2550

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2551

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2552

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2553

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2558

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2559

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2560

 

 
 
 


กลับหน้าหลัก

จัดทำโดย

ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ