เฉลยข้อสอบO-net ม.6( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2552สอบกุมภาพันธ์ 2553

 
ดาวโหลดข้อสอบ O-net ปีการศึกษา 2552 สอบกุมภาพันธ์ 2553

ข้อ 1 ( 4 )

ข้อ 2 ( 4 )

ข้อ 3 ( 2 )

ข้อ 4 ( 3 )

ข้อ 5 ( 1 )

ข้อ 6 ( 4 )

ข้อ 7 ( 4 )

ข้อ 8 ( 4 )

ข้อ 9 ( 3 )

ข้อ 10 ( 4 )

ข้อ 11 ( 2 )

ข้อ 12 ( 2 )

ข้อ 13 ( 3)

ข้อ 14 ( 2)

 

ข้อ 15 ( 2 )

ข้อ 16 ( 1 )

ข้อ 17 ( 4 )

ข้อ 18 ( 1 )

ข้อ 19 ( 2 )

ข้อ 20 ( 3 )

 

 

 

 

 

 

สิ่งดีๆเกิดขึ้นได้เนื่องจากมีผู้สนับสนุน

๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

ลิงก์ผู้สนับสนุน

 


 

ข้อ 6) เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายคน ร่างกายจะมีปฏิกิริยาตอบสนองโดยสร้างสารใดมาต่อสู้ (O-net 52)

      1. ซีรุ่ม
      2. แอนติเจน
      3. ทอกซอยด์
      4. แอนติบอดี
 

คำตอบข้อ 6 ) ตอบข้อ 4. แอนติบอดี

เหตุผล

          ซีรุ่ม  (Serum) เป็นภูมิคุ้มกันโรคที่ฉีดเข้าร่างกายแล้วร่างกายสามารถนำไปใช้รักษาโรคได้ทันที เพราะเซรุ่มเป็นแอนติบอดีที่ สัตว์สร้างขึ้น เซรุ่มอาจทำได้โดยฉีดเชื้อโรค ที่อ่อนฤทธิ์ลงแล้วเข้าไปใน ม้าหรือกระต่าย เมื่อม้าหรือกระต่ายสร้างแอนติบอดีขึ้นในเลือด เราจึงดูดเลือดม้าหรือกระต่ายที่เป็น น้ำใส ๆ ซึ่งมีแอนติบอดีอยู่ นำมาฉีดให้กับผู้ป่วย ตัวอย่างของเซรุ่ม เช่น เซรุ่มป้องกันโรคคอตีบ เซรุ่มป้องกันโรคบาดทะยัก เซรุ่มป้องกัน โรคไอกรน เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เซรุ่มแก้พิษงู เป็นต้น

         แอนติเจน คือ สิ่งแปลกปลอมต่อเนื้อเยื่อร่างกาย เมื่อเขาสู่ร่างกายแล้วจะกระตุ้นร่างกายให้สร้างแอนติบอดี และแอนติเจนนั้นต้องทำปฏิกิริยาจำเพาะกับแอนติบอดี หรืออาจกล่าวว่า แอนติเจนเป็นสารใด ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันอย่างจำเพาะเจาะจง

         ทอกซอยด์ คือ สารที่ได้จากการนำเอาทอกซินมาทำให้หมดฤทธิ์ แต่ยังคงมีสมบัติของแอนติเจนอยู่ เช่น ทอกซินของเชื้อบาดทะยัก เมื่อทำให้หมดฤทธิ์แล้วนำมาฉีดเข้าสู่ร่างกาย ก็จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีต้านทานโรคบาดทะยักได้

          แอนติบอดี คือแอนติบอดีเป็นสารที่สร้างขึ้นในร่างกายคนหรือสัตว์ หลังจากได้รับแอนติเจน แอนติบอดีเป็นสารไกลโคโปรตีนที่สามารถทำปฏิกิริยาจำเพาะกับแอนติเจนที่กระตุ้นให้สร้างมันขึ้นมา จะพบแอนติบอดีในซีรัมของเลือด

          กล่าวโดยสรุป ซีรุ่ม เป็นแอนติบอดีที่สร้างได้จากสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตอื่น เพื่อสกัดมาใช้ต่อต้านสารพิษที่เข้าสู่สิ่งมีชีวิตซึ่งจะสามารถทำงานได้ทันที ส่วนแอนติเจนเป็นสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ส่วนทอกซอยด์จัดเป็นวัคซีนชนิดหนึ่ง ดังนั้นเมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะตอบสนองโดยการสร้างแอนติบอดี


    
ข้อ 7) เมื่อหยดน้ำเกลือลงบนสไลด์ที่มีใบสาหร่ายหางกระรอกอยู่ จะสังเกตเห็นการ เปลี่ยนแปลงของเซลล์คล้ายกับที่เกิดขึ้นเมื่อหยดสารใดมากที่สุดและเกิดเร็วที่สุด (O-net 52)

       1. น้ำกลั่น
       2. น้ำเชื่อม
       3. น้ำนมสด
       4. แอลกอฮอล์

 

คำตอบข้อ 7 ) ตอบข้อ 4 แอลกอฮอล์

เหตุผล

     น้ำเกลือเป็นสารละลายไฮเพอร์โทนิก (Hypertonic solution) ต่อเซลล์ใบสาหร่ายหางกระรอก  จะทำให้เซลล์สูญเสียน้ำ เช่นเดียวกับ เมื่อนำเซลล์แช่ในน้ำเชื่อม กับ แอลกอฮอลล์ แต่ในโจทย์ถามว่า การเปลี่ยนแปลงของเซลล์คล้ายกับที่เกิดขึ้นเมื่อหยดสารใดมากที่สุดและเกิดเร็วที่สุด ซึ่งสารที่ทำให้เซลล์สูญเสียน้ำเร็วที่สุดจะเป็นแอกอฮอล์ จึงมีการใช้แอลกอฮอล์มาเป็นน้ำยาตรึงสภาพของเซลล์

 
ข้อ 8)ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับดีเอ็นเอ (O-net 52)
       1. ดีเอ็นเอพบได้ในคลอโรพลาสต์
       2. ดีเอ็นเอทำหน้าที่กำหนดชนิดของโปรตีน
       3. สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีปริมาณดีเอ็นเอไม่เท่ากัน
       4. ไนโตรเจนเบสชนิดกวานีนและไซโทซีนจะจับคู่กันด้วยพันธะคู่เสมอ

 


คำตอบข้อ 8 ) ตอบข้อ 4. ไนโตรเจนเบสชนิดกวานีนและไซโทซีนจะจับคู่กันด้วยพันธะคู่เสมอ

เหตุผล

          เนื่องจากโครงสร้างของ DNA เกิดจากพอลีนิวคลีดอไทด์ สองสายเรียงสลับทิศทางกัน ในลักษณะบิดเป็นเกลียวเวียนขวา ซึ่งพอลีนิวคลีโอไทด์สองสายจะเชื่อมต่อกันด้วย  พันธะไฮโดรเจนของเบสคู่สม โดย เบสอะดรีนีน จะเกิดพันธะไฮโดรเจนที่เป็นพันธะคู่ กับ เบสไทมีน  ส่วนเบสกวานีนจะเกิดพันธะไฮโดรเจนที่เป็นพันธะสามกับ เบสไซโทซีน   


 
 
 
ข้อ 9) ถ้าพ่อมีหมู่เลือด B แม่มีหมู่เลือด A และมีลูกชายที่มีหมู่เลือด O โอกาสที่จะได้ลูกสาว ที่มีหมู่เลือด O เป็นเท่าใด(O-net 52)

      1. 1/2
      2. 1/4
      3. 1/8
      4. 1/16



คำตอบข้อ 9 ) ตอบ 3.    1/8

เหตุผล

โอกาสที่จะเกิดลูกสาวคือ 1/2  เนื่องจากพ่อมีหมู่เลือด B ที่มีจีโนไทป์ในสภาพเฮเทอโรไซกัส และแม่มีเลือดหมู่A ที่มีจีโนไทป์ในสภาพเฮเทอโรไซกัส  ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดเลือดหมู่ O คือ 1/4
ดังนั้น โอกาสที่พ่อแม่คู่นี้จะได้ลูกสาวที่มีเลือดหมู่ O  คือ  1/2 x 1/4 =  1/8

       
 
 

ข้อ 10) ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย (O-net 52)

       1. เป็นโรคโลหิตจางชนิดหนึ่ง
       2. ผู้ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมียควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
       3. เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสร้างโกลบิน
       4. ผู้ที่ได้รับแอลลีลผิดปกติจากพ่อหรือแม่เพียงฝ่ายเดียวมีโอกาสเป็นโรคได้

 


คำตอบข้อ 10 ) ตอบ ข้อ 4. ผู้ที่ได้รับแอลลีลผิดปกติจากพ่อหรือแม่เพียงฝ่ายเดียวมีโอกาสเป็นโรคได้

เหตุผล

         โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคโลหิตจางจากพันธุกรรม โดยถูกควบคุมด้วยยีนด้อยบนออโตโซม เกิดจากความผิดปกติของรหัสพันธุกรรม หรือยีนที่มีหน้าที่สร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ฮีโมโกลบินนั้นประกอบไปด้วยกลุ่มโปรตีน 2 ชนิด คือ อัลฟ่าโกลบินซึ่งถูกกำหนดโดยโครโมโซมคู่ที่ 16 และเบต้าโกลบิล ที่ถูกกำหนดโดยโครโมโซมคู่ที่ 11 เมื่อใดที่เกิดความผิดปกติของยีนตัวใดตัวหนึ่งหรือคู่ใดคู่หนึ่ง ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติต่อการสร้างฮีโมโกลบิน โดยผู้ป่วยไม่ควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับ หัวใจ เลือดหมู เลือดไก่ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนจากการมีธาตุเหล็กมากเกินความต้องการของร่างกาย เพราะผู้ป่วยธาลัสซีเมียมีธาตุเหล็กสูงในร่างกายอยู่แล้ว

ดังนั้นข้อที่ผิด คือ ผู้ที่ได้รับแอลลีลผิดปกติจากพ่อหรือแม่เพียงฝ่ายเดียวมีโอกาสเป็นโรคได้  เนื่องจากโรคธาลัสซีเมียโดยถูกควบคุมด้วยยีนด้อยบนออโตโซม จะแสดงออกได้เมื่อได้รับยีนด้อยจากทั้งพ่อและแม่

 

 
 
 
<<< ก่อนหน้า .......หน้าถัดไป >>
 
 

ฝึกทำข้อสอบโอเน็ตด้วยตนเอง

# ฝึกทำข้อสอบโอเน็ต ม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2560

# ฝึกทำข้อสอบโอเน็ต ม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2559

# ฝึกทำข้อสอบโอเน็ต ม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2558

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

เฉลยข้อสอบโอเน็ตอย่างละเอียด

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2548

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2549

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2550

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2551

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2552

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา)ปีการศึกษา 2553

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2558

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2559

๐ เฉลยข้อสอบโอเน็ตม.6(ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2560

 

 
 
 


กลับหน้าหลัก

จัดทำโดย

ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ