BEHAVIOR
 
 

เปลี่ยนภาษา ::ไทย / English

หน้าหลัก

กลไกการเกิดพฤติกรรม

พฤติกรรมที่มีมาตั้งแต่กำเนิด
     :: โอเรียนเตชัน
     :: รีเฟล็กซ์
     :: รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง
     
พฤติกรรมการเรียนรู้
     :: Habituation
     :: Imprinting
     :: Trial and Error
     :: Conditioning
     :: Reasoning

พฤติกรรม กับพัฒนาการ
    ของระบบประสาท

การสื่อสารระหว่างสัตว์
     :: การสื่อสารด้วยท่าทาง
     :: การสื่อสารด้วยเสียง
     :: การสื่อสารด้วยการสัมผัส
     :: การสื่อสารด้วยสารเคมี

เฉลยคำถามท้ายบท


 

พฤติกรรมการเรียนรู้แบบแฮบบิชูเอชัน ( Habituation )

          พฤติกรรมการเรียนรู้แบบแฮบบิชูเอชัน หรือ ความเคยชิน เป็นพฤติกรรมที่สัตว์หยุดตอบสนองต่อสิ่งเร้าเดิม แม้จะยังได้รับการกระตุ้นอยู่ เนื่องจากสัตว์เรียนรู้แล้วว่าสิ่งเร้านั้นไม่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของตัวเอง พื้นฐานของการเกิดพฤติกรรม คือ
ความจำ และ ประสบการณ์ คือต้องสามารถจำได้ว่าสิ่งที่มากระตุ้นนั้นคืออะไร และจะมีผลต่อตนเองหรือไม่ หากไม่มีผลก็ไม่ตอบสนองนั้นคือ เพิกเฉยต่อเหตุการณ์นั้น

ตัวอย่างของพฤติกรรมแฮบบิชูเอชัน          

๐ คนที่ย้ายบ้านไปอยู่ที่เสียงดังมากช่วงแรกๆนอนไม่หลับ ต่อมาเคยชินก็หลับตามปกติ
๐ ลูกนกเกิดใหม่เมื่อเห็นใบไม้ล่วง และ เหยี่ยวก็จะหมอบตัวลงกับพื้น     แต่เมื่อเวลาผ่านไปลูกนกเรียนรู้แล้วว่า ใบไม้ไม่เป็นอันตรายก็จะเพิกเฉยไม่แสดงพฤติกรรม แต่     กับเหยี่ยวก็ยังแสดงพฤติกรรมและหมอบลงกับพื้นเช่นเดิม
๐ การที่นกลดอัตราการบินหนีหุ่นไล่กา เมื่อเรียนรู้แล้วว่าหุ่นไล่กาไม่ทำอันตราย
๐ การเลิกแหงนมองตามเสียงเครื่องบินของสุนัขที่อาศัยอยู่แถวสนามบิน
๐ การเดินทางของคนที่เมื่อเดินทางครั้งแรกจะรู้สึกว่าใช้เวลานาน     แต่เมื่อเดินทางบ่อยๆจะรู้สึกว่าถึงที่หมายเร็วขึ้นทั้งที่ระยะทางเท่าเดิม
๐ พฤติกรรมที่สัตว์ คุ้นเคยกับเจ้าของ

 

ภาพ ตัว Marmot แสดงพฤติกรรมเคยชินกับมนุษย

 

ภาพ ลิงแสดงพฤติกรรมเคยชินกับมนุษย์



   

เรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ