ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโพรทิสตา
การจัดจำแนกกลุ่มสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโพรทิสตาโดยใช้ลักษณะสัณฐานวิทยาจากการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน และข้อมูลโมเลกุลดีเอ็นเอ แบ่งออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ได้จำนวน 8 กลุ่ม ดังภาพ
 |
ภาพที่ 2 แผนภาพการจัดจำแนกและแสดงวิวัฒนาการชาติพันธุ์ (phylogeny) ของสิ่งมีชีวิต
(ที่มา: http://sharon-taxonomy 2009-p2.wikispaces.com/Protista) |
1. กลุ่มดิโพลโมนาดิดา (Diplomonadida) เป็นกลุ่มโพรทิสต์ที่เป็นเซลล์ยูคาริโอตที่ไม่มี พลาสติด และ ไมโตคอนเดรียที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นไมโตโซม (mitosome) ยังไม่สามารถเกิดการถ่ายทอดอิเลคตรอนเพื่อสร้าง ATP โดยใช้ออกซิเจนได้ ดังนั้นจึงได้พลังงานจากการหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจนเท่านั้น นอกจากนี้ยังไม่มีออร์แกเนลล์ ร่างแหเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม กอลจิคอมเพล็กซ์และเซนทริโอล แต่มีหนวดหลายเส้น และมีนิวเคลียส 2 อัน เช่น Giardia lamblia ซึ่งเป็นปรสิตในลำไส้ของคน
 |
 |
 |
ก. |
ข. |
ค. |
ภาพที่ 3 Giardia lamblia (ก)-(ข) ภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง
(ค)ภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกราด (SEM)
(ก) (ที่มา : http://craig.f12network.com)
(ข) (ที่มา: http://umanitoba.ca/science/zoology)
(ค) (ที่มา: http://mrogers.wikispaces.com/Protista+-+4th+Hour) |
2. กลุ่มพาราบาซาลา (Parabasala) หรือกลุ่มพาราบาซาลิด (Parabasalids) เซลล์พบนิวเคลียส ไรโบโซม ไม่พบออร์กาแนลล์ที่มีเยื่อหุ้มอื่นๆ เช่น ร่างแหเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม กอลจิคอมเพล็กซ์และเซนทริโอล แต่พบโครงสร้างที่ เรียก ไฮโดรจีโนโซม (hydrogenosome) ได้พลังงานจากการหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน ถ่ายปล่อยไฮโดรเจนออกมา ตัวอย่างโพรทิสต์
กลุ่มนี้ได้แก่ ไตรโคนิมฟา (Trichonympha) อาศัยอยู่ในลำไส้ของปลวก มีการดำรงชีวิตแบบภาวะพึ่งพากัน โดยการสร้างเอนไซม์มาช่วยย่อยเซลลูโลสในไม้ให้กับปลวก อีกชนิดคือ
ไตรโคโมแนส (Trichomonas) เป็นพาราบาซาลิด ที่เป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อในช่องคลอด
 |
 |
 |
ก. |
ข. |
ค. |
ภาพที่ 4 Trichonympha sp. (ก) ภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกราด (SEM) (ข)ไดอะแกรมแสดงลักษณะสัณฐานวิทยา (ค) ปลวก
(ก) (ที่มา: http://skepticwonder. fieldofscience.com)
(ข) (ที่มา: http:// accessscience.com/search.aspx?root ID=796752)
(ค) (ที่มา: http://www. connecticutvalleybiological.com)
|
 |
 |
ก. |
ข. |
ภาพที่ 5 Trichomonas vaginalis (ก) ภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์ (ข) ไดอะแกรมแสดงลักษณะสัณฐานวิทยา
(ก) (ที่มา: http://leucorrhea.msherbs.com) (ข) (ที่มา: http://www.trichomoniasis.org) |
3. กลุ่มยูกลีโนซัว (Euglenozoa) เป็นโพรทิสต์เซลล์เดียวที่มีผลึกโปรตีนรูปแท่งอยู่ในหนวด แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
3.1 กลุ่มย่อยยูกลีนอยด์ (Euglenoids) ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสต์ที่มีสารสีชนิดคลอโรฟิลล์และแคโรทีน สามารถดำรงชีวิตได้ทั้งในฐานะผู้ผลิตเมื่อมีแสงและเป็นผู้บริโภคเมื่อไม่มีแสง ได้แก่ ยูกลีนา (Euglena)
 |
 |
ก. |
ข. |
ภาพที่ 6 ยูกลีนา (ก) ภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์ (ข) ภาพไดอะแกรมแสดงโครงสร้างของ
ยูกลีนา
(ก) (ที่มา: http://www.photomacrography.net)
(ข) (ที่มา: http://images.yourdictionary.com/euglena) |
3.2 กลุ่มย่อยไคนีโตพลาสติด (Kinetoplastids) เป็นกลุ่มที่มีไมโตคอนเดรียเพียง 1 อันในเซลล์ซึ่งมีสารพันธุกรรมหดตัวเป็นโครงสร้างไคนีโตพลาสต์ และไม่มีคลอโรพลาสต์ เป็นโพรทิสต์ที่ดำรงชีวิตแบบอิสระในน้ำจืด น้ำเค็ม และในสภาพแวดล้อมทั่วไป รวมทั้งเป็นปรสิตในเลือดของสัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่น เชื้อทริปพาโนโซมา (Trypanosoma cruzi) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเหงาหลับ ในคน
 |
 |
 |
ก. |
ข. |
ค. |
ภาพที่ 7 Trypanosoma cruzi (เซลล์สีม่วง) (ก)-(ข) ภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์ (ค) ภาพจำลองรูปร่างของเชื้อและเม็ดเลือดแดง
(ก) (ที่มา: http://archive.microbelibrary.org/ASMOnly/ Details.asp?ID=1259 )
(ข) (ที่มา: http://faculty.ccbcmd.edu/courses/bio141/labmanua/ lab22)
(ค) (ที่มา:http://www.clfs.umd.edu/biology/machadolab/research_ cruzi.htm)
|
4. กลุ่มแอลวีโอลาตา (Alveolata) เป็นโพรทิสต์เซลล์เดียวที่มีลักษณะร่วมกันคือ มีถุงแบน ๆ ที่เรียกว่า แอลวีโอไล (alveoli) เรียงตัวเป็นชั้นใต้เยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งยังไม่ทราบหน้าที่ที่ชัดเจนของถุงนี้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ได้แก่
 |
ภาพที่ 8 แอลวีโอไลที่พบใต้เยื่อหุ้มเซลล์ของพารามีเซียม
(ที่มา: http://www.bio.miami.edu/dana/160/160S10_9print.html)
|
4.1 กลุ่มย่อยซิลิเอต (Ciliates) เป็นโพรทิสต์กลุ่มที่ใช้ซิเลียในการเคลื่อนที่ มักอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำขังหรือความชื้นสูง โพรทิสต์กลุ่มนี้จะมีความหลากหลายของชนิดมากที่สุด เช่น พารามีเซียม (Paramecium sp.) และ วอร์ติเซลลา (Vorticella sp.) เป็นต้น
 |
 |
ก |
ข |
ภาพที่ 9 (ก) พารามีเซียม (ข) วอร์ติเซลลา
(ก) (ที่มา:http://www.fcps.edu/islandcreekes/ecology/ paramecium.htm )
(ข) (ที่มา: http://www.microimaging.ca/protozoa/vorticella.html
|
4.2 กลุ่มย่อยไดโนแฟลเจลเลต (Dinoflagellates) เป็นโพรทิสต์เซลล์เดียวที่มีสารสี
แคโรทีนและคลอโรฟิลล์ในพลาสติด ผนังเซลล์เป็นเซลลูโลสและสร้างผนังเซลล์เป็นแผ่นมาประกอบกันหนวดมี 2 เส้น วางตัวในแนวรอบเซลล์และแนวด้านหลังของเซลล์อย่างละเส้น ไดโนแฟลกเจลเลตบางชนิดมีการสะสมสารพิษในตัว เมื่อน้ำทะเลมีสารอินทรีย์ซึ่งเป็นแหล่งอาหารในปริมาณมาก ทำให้มีการเพิ่มจำนวนประชากรไดโนแฟลเจลเลตอย่างรวดเร็ว ทำให้ทะเลมีสีแดงอันเนื่องจากสีของแคโรทีนอยด์ ในพลาสติดของโดโนแฟลเจลเลต ก่อให้เกิดเป็นปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬหรือ red tide ขึ้น ซึ่งทำให้เกิดสารพิษของโซ่อาหารในทะเลและเกิดอันตรายต่อสัตว์น้ำเป็นจำนวนมาก
 |
ภาพที่ 10 โครงสร้างของ Dinoflagellate
(ที่มา: http://withfriendship.com/user/sathvi/dinoflagellate.php) |
 |
 |
ก. |
ข. |
ภาพที่11 (ก) การเกิดปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬหรือ red tide อันเกิดมาจาก Dinoflagellate Blooming (ข) ซากสัตว์น้ำที่ตายเนื่องจากความเป็นพิษของไดโนแฟลเจลเลต
(ก) (ที่มา: http://www.Travelstarcom/red-tide-natural-phenomenon)
(ข) (ที่มา: http://naturalunseenhazards.wordpress.com/tag/red-tide) |
4.3 กลุ่มย่อยเอพิคอมเพลซา (Apicomplexas) เป็นโพรทิสต์ที่มีขนาดเล็กส่วนใหญ่จะดำรงชีวิตเป็นปรสิต ได้แก่ พลาสโมเดียม (Plasmodium) ชนิดที่ทำให้เกิดโรคมาลาเรียในคนและสัตว์อื่น โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะคือ Plasmodium falciparum
5. กลุ่มสตรามีโนพิลา (Stramenopila) ส่วนใหญ่เป็นโพรทิสต์ที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้ และโพรทิสต์ที่เป็นผู้บริโภคหลายกลุ่ม ลักษณะร่วมกันของสตรามีโนไพล์คือ เซลล์สืบพันธุ์มีแฟลเจลลาที่มีขนและแฟลเจลลาที่ไม่มีขน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อย ได้แก่
5.1 กลุ่มย่อยโอโอไมซีเทส (Oomycetes) เป็นกลุ่มโพรทิสต์คล้ายราที่มีลักษณะเป็นเส้นใยที่ไม่มีผนังเซลล์กั้น ภายในมีนิวเคลียสจำนวนมากมาย และมีเซลลูโลสเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ สามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ มีการดำรงชีวิตโดยเป็นผู้ย่อยสลายและปรสิต บางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำ เรียกว่า water molds มักทำให้เกิดโรคในสัตว์น้ำ เช่น การติดเชื้อราบนเกล็ดปลาจากเชื้อ Saprolegnia parasitica
 |
 |
ก. |
ข. |
ภาพที่ 13 (ก) ลักษณะเส้นใยและการสร้างสปอร์เชื้อ Saprolegnia parasitica (ข) ปลาที่ติดเชื้อ water mold
(ก) (ที่มา: http://www.matay.gen.tr/Urunler/11_Halamid)
(ข) (ที่มา: http://datacd-production.com/naklad/cddemoe/chov/nemoci2e.html) |
5.2 กลุ่มย่อยไดอะตอม (Diatom) เป็นโพรทิสต์ที่มีลักษณะเซลล์เดียว อยู่เดี่ยว ๆ หรือรวมกันเป็นกลุ่มก็ได้ มีลักษณะสำคัญคือ ผนังเซลล์ประกอบด้วยสารพวกซิลิกาเป็นจำนวนมาก และมีลักษณะคล้ายฝากล่องและกล่องคือ มีฝากล่องเรียก epitheca และกล่องเรียก hypotheca ประกอบกัน และมีความแข็งแรงมาก
 |
 |
ก. |
ข. |
ภาพที่ 14 (ก) โครงสร้างของไดอะตอม (ข) ไดอะตอมรูปทรงต่าง ๆ
(ก) (ที่มา: http://oceandatacenter. ucsc.edu)
(ข) (ที่มา: http://images. nationalgeographic.com) |
5.3 กลุ่มย่อยสาหร่ายสีทอง (Golden Algae) เป็นโพรทิสต์เซลล์เดียวที่มีสีเหลืองทอง อันเนื่องมาจากการสะสมสารสีพวกแคโรทีนอยด์ไว้ภายในเซลล์ แต่ละเซลล์มีหนวด 2 เส้น และเซลล์มักต่อเรียงกันเป็นเส้นสายหรือโคโลนี โดยการยึดกันของหนวด เช่น ไดโอบริออน (Diobryon sp.) , ยูโรกลีนา (Uroglena sp.) และ ซีนูรา (Synura sp.) เป็นต้น
 |
 |
 |
ก. |
ข. |
ค. |
ภาพที่ 15 ความหลากหลายของสาหร่ายสีทอง (ก) Dinobryon sp. (ข) Uroglena volvox (ค) Synura sp.
(ก) (ที่มา: http://biocanvas.tumblr.com/post/7950148776/)
(ข) (ที่มา: http://www.glerl.noaa.gov/seagrant/GLWL/Algae/Chrysophyta/)
(ค) (ที่มา: http:// www.sciencephoto.com/media/118225/enlarge) |
5.4 กลุ่มย่อยสาหร่ายสีน้ำตาล (Brown Algae) เป็นสาหร่ายที่มีขนาดใหญ่และมีโครงสร้างซับซ้อนมากที่สุด บางชนิดมีเนื้อเยื่อที่หนาและมีอวัยวะที่คล้ายราก คล้ายลำต้น และคล้ายใบ สาหร่ายกลุ่มนี้ในธรรมชาติมักพบมีสีน้ำตาล อันเนื่องมาจากมีการสะสมสารสีชนิด
ฟิวโคแซนทิน มากกว่า แคโรทีน และ คลอโรฟิลล์
 |
 |
 |
ก. |
ข. |
ค. |
ภาพที่ 16 ความหลากหลายของสาหร่ายสาหร่ายสีน้ำตาล (ก) Postelsia sp. (ข) Laminaria digitata (ค) Laminaria sp. (Kelp)
(ก) (ที่มา: http://http://www.nicerweb.com/bio1152/Locked/ media/ch28/sea )
(ข) (ที่มา: http://www.floressencetea.com/KelpINFO.html #tab=Home )
(ค) (ที่มา: http://wn.com/Brown_algae) |
ถึงแม้สาหร่ายสีน้ำตาลจะมีโครงสร้างคล้ายพืช แต่อย่างไรก็ตามในเชิงวิวัฒนาการพบว่า สาหร่ายกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสาหร่ายเซลล์เดียวมากกว่าพืชชั้นสูง สาหร่ายสีน้ำตาลบางชนิดเจริญอยู่ในบริเวณเดียวกันเป็นจำนวนมาก และมีความยาวได้ถึง 60 เมตร เช่น สาหร่ายเคลป์ (Kelp) หรือ Laminaria sp. ซึ่งเป็นแหล่งที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำทะเล เพราะเป็นทั้งแหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัย และที่หลบภัยของบรรดาสัตว์น้ำ และนำมาทำเป็นอาหารของมนุษย์
สาหร่ายสีน้ำตาล หลายชนิดมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เช่น สาหร่ายลามินาเรีย (Laminaria sp.) และสาหร่ายทุ่นหรือซาร์กัสซัม (Sargassum sp.) นิยมนำมาทำเป็นอาหารเนื่องจากมีธาตุไอโอดีนสูง สาหร่ายพาไดนา (Padina sp.) และสาหร่ายฟิวกัส (Fucus sp.) นำมาใช้ผลิตปุ๋ยโพแทสเซียม เป็นต้น
 |
 |
 |
ก. |
ข. |
ค. |
ภาพที่ 17 (ก) สาหร่ายทุ่น (Sargassum sp.) (ข) สาหร่ายพาไดนา (Padina sp.) (ค) สาหร่ายฟิวกัส (Fucus sp.)
(ก) (ที่มา:http://manuel.gonzales.free.fr/pages)
(ข) (ที่มา: http://www.stayinkauai.com/kauai)
(ค) (ที่มา: http://www.theseashore.org.uk/theseashore) |
6. กลุ่มโรโดไฟตา (Rhodophyta) หรือกลุ่มสาหร่ายสีแดง (red algae) สาหร่ายกลุ่มนี้มีการสร้างเนื้อเยื่อ และกิ่งก้านสาขาคล้ายพืช บางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำจืดแต่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำเค็ม เนื่องจากสาหร่ายสีแดงมีสารสีเสริมชนิดไฟโคอีรีทริน (phycoerythrin) ซึ่งสามารถดูดกลืนแสงช่วงความยาวคลื่นแสงสีเขียวและสีน้ำเงินที่ส่องผ่านน้ำได้ลึกกว่าแสงสีอื่น ๆ สาหร่ายสีแดงจึงสามารถเจริญเติบโตในบริเวณน้ำลึกกว่าสาหร่ายสีน้ำตาลและสาหร่ายสีเขียวได้ และที่แตกต่างจากสาหร่ายกลุ่มอื่น ๆ คือ สาหร่ายกลุ่มนี้สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (sperm) แบบไม่มีหนวด กลุ่มสาหร่ายสีแดงที่พบได้แก่ Porphyra sp. หรือจีฉ่าย นำมาทำเป็นอาหาร Gracilaria sp. หรือสาหร่ายผมนาง ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตวุ้น เป็นต้น
 |
 |
 |
ก. |
ข. |
ค. |
ภาพที่ 18 ความหลากหลายของสาหร่ายสีแดง (ก) Porphyra tenera (ข) Gracilaria sp.
(ค) Fauchea laciniata
(ก)(ที่มา: http://www.fao.org/fishery/species/2790/en )
(ข) (ที่มา: http://ecologicalaquaculture.org/welcome )
(ค) (ที่มา: http://pt-lobos.com/algae.html) |
7. กลุ่มคลอโรไฟตา (Chlorophyta) หรือกลุ่มสาหร่ายสีเขียว (green algae) จัดแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามลักษณะวิวัฒนาการและความซับซ้อนของลักษณะสัณฐานวิทยา และโครงสร้างสืบพันธุ์ ได้แก่
7.1 กลุ่มย่อยคลอโรไฟต์ (Chlorophytes) เป็นกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายพืชทั้งลักษณะโครงสร้างผนังเซลล์ และส่วนประกอบของสารสี คือ คลอโรฟิลล์เอ, คลอโรฟิลล์บี และ
แคโรทีน บางชนิดมีหนวดช่วยในการเคลื่อนที่ ส่วนใหญ่จะพบในแหล่งน้ำจืด มีบางชนิดเท่านั้นที่พบในน้ำทะเล เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำ และช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ กลุ่มสาหร่ายสีเขียวมีความหลากหลายมาก จัดแบ่งตามลักษณะนิสัย ได้ดังนี้
7.1.1 สาหร่ายเซลล์เดียว (unicellular algae) สาหร่ายกลุ่มนี้มักพบลอยอยู่ในน้ำ อาจเรียกอีกอย่างว่า “แพลงก์ตอนพืช” เซลล์มีรูปร่างรี จนถึงกลม ทุกชนิดมีคลอโรฟิลล์แบบต่าง ๆ อยู่ภายในเซลล์ บางชนิดอาจมีหนวดหลายเส้นช่วยในการเคลื่อนที่ เป็นกลุ่มสาหร่ายที่มีความหลากหลายมากที่สุดในกลุ่มสาหร่ายสีเขียว เช่น คลาไมโดโมแนส (Chlamydomonas sp.) เป็นสาหร่ายเซลล์เดียวที่นำมาใช้เป็นตัวอย่างในการศึกษาด้านชีววิทยาโมเลกุล โดยเฉพาะการเคลื่อนที่ด้วยแฟลเจลลา และการเพิ่มจำนวนและพันธุกรรมของคลอโรพลาสต์ อีกชนิดคือ คลอเรลลา (Chlorella sp.) เป็นสาหร่ายสีเขียวเซลล์เดียวที่มีการสะสมโปรตีนสูง จึงนิยมนำมาผลิตเป็นอาหารเสริม
7.1.2 สาหร่ายที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (colonial algae) สาหร่ายกลุ่มนี้เกิดจากการรวมกันของสาหร่ายเซลล์เดียวชนิดเดียวกันหลาย ๆ เซลล์ เกาะกลุ่มกันอยู่เป็นโคโลนีรูปทรงต่าง ๆ เช่น วอลวอกซ์ (Volvox sp.) ซีนีเดสมัส (Scenedesmus sp.) และโกเนียม (Gonium sp.) เป็นต้น
 |
 |
ก |
ข |
ภาพที่ 19 Chlamydomonas moewusii (ก) ภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์ (ข) ภาพถ่ายจากล้องอิเลคตรอนแบบส่องกราด (SEM)
ก-ข (ที่มา: http://www.bch.umontreal.ca/protists/chlamy/appearance.html)
|
 |
 |
ก |
ข |
ภาพที่ 20 Chlorella sp. (ก) ลักษณะเซลล์ของ Chlorella sp. (ข) ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ผลิตจาก Chlorella
(ก) (ที่มา: http://plantphys.info/plant_biology/labaids/)
(ข) (ที่มา: http://www.shamansmarket.com/-strse-3667/Raw-Chlorella) |
 |
 |
ก |
ข |
ภาพที่ 21 ลักษณะสาหร่ายที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (colony) (ก) Volvox sp. (ข) Scenedesmus sp.
(ก) (ที่มา: http://www.warrenphotographic.co.uk/)
(ข) (ที่มา: http://jcoll.org/genoma/vida_microsubmarina/microalgas/) |
7.1.3 สาหร่ายที่มีลักษณะเป็นเส้น (filamentous algae) สาหร่ายชนิดนี้พบลอยอยู่ในแหล่งน้ำหรือยึดเกาะอยู่กับสิ่งต่าง ๆ ใต้น้ำ มีลักษณะเป็นเส้นที่เกิดจากเซลล์เดี่ยวเรียงต่อกันเป็นสายยาว แต่ละชนิดมีคลอโรพลาสต์รูปร่างแตกต่างกันไป และมีออร์กาเนลต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่สมบูรณ์ภายในแต่ละเซลล์ ได้แก่ สไปโรไจรา (Spirogyra sp.) หรือเทาน้ำ เป็นสาหร่ายสีเขียวที่มีคลอโรพลาสต์เรียงตัวเป็นเกลียวอยู่ในเซลล์ มีการสะสมแป้งภายในเซลล์มาก อีกชนิดคือ คลาโดฟอรา (Cladophora sp.) หรือไก เป็นสาหร่ายสีเขียวที่มีคลอโรพลาสต์เรียงกันเป็นร่างแห (recticulate Chloroplast) รับประทานได้ มีโปรตีนสูง
 |
 |
ก. |
ข. |
ภาพที่ 22 Spirogyra (เทาน้ำ) (ก) ลักษณะเส้นสายมองเห็นคลอโรพลาสต์เป็นแถบ (ข) การสืบพันธุ์แบบ conjugation ได้เซลล์ไซโกต (zygote) เจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ต่อไป
(ก) (ที่มา: http://chokchaischool.com/elearning)
(ข) (ที่มา: http://protist.i.hosei.ac.jppdb/Images/Chlorophyta) |
7.1.4 สาหร่ายที่มีลักษณะเป็นแผ่น (thallus algae) สาหร่ายกลุ่มนี้มีลักษณะเป็นแผ่นของโครงสร้างที่ประกอบด้วยเซลล์เรียงซ้อนกันหนามากกว่าหนึ่งชั้น มีส่วนที่ยึดเกาะกับพื้นดินคล้ายราก คล้ายลำต้น และคล้ายใบ แต่ยังไม่มีระบบท่อลำเลียงใดๆ ได้แก่ Ulva sp. และสาหร่ายใบมะกรูด (Halimeda sp.)
 |
 |
 |
ก |
ข |
ค |
ภาพที่ 23 สาหร่ายที่มีโครงสร้างเป็นแผ่น (ก) Ulva sp. (ข) Halimeda discoidea (ค) Halimeda sp. (ก) (ที่มา: http://sarinp.com/unit2/protista.htm )
(ข) (ที่มา: http://www.algaebase.org/search/species/detail/ ?species_id=3804)
(ค) จาก http://www.botany.hawaii.edu |
7.2 กลุ่มย่อยคาโรไฟเซียน (Charophyceans) หรือกลุ่มสาหร่ายไฟ สาหร่ายกลุ่มนี้แตกต่างจากคลอโรไฟต์ คือ สรีรวิทยาของการสังเคราะห์ด้วยแสง การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศแบบซับซ้อน และเซลล์วิทยา พบได้ทั่วไปในบริเวณน้ำตื้นและใส ตัวอย่างสาหร่ายในกลุ่มนี้ เช่น สาหร่ายไฟ (Chara sp.) และนิเทลลา (Nitella sp.) เป็นสาหร่ายกลุ่มที่มีโครงสร้างที่ประกอบด้วยเซลล์เรียงซ้อนกันหลายชั้น โครงสร้างของผนังเซลล์เป็นเซลลูโลสที่มีการเรียงตัวคล้ายพืช มีส่วนยึดเกาะกับพื้นดินคล้ายราก ส่วนที่ตั้งขึ้นคล้ายลำต้นและมีการแตกกิ่งก้านหลายชั้นใกล้เคียงกับพืชชั้นสูงมาก โครงสร้างสืบพันธุ์เพศผู้และโครงสร้างสืบพันธุ์เพศเมียมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน และเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีสีเหลือง ส้ม จนถึงสีแดง การศึกษาวิวัฒนาการของพืชในปัจจุบันพบว่าสาหร่ายไฟมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพืชที่เจริญบนบกมากที่สุด หรืออาจถือได้ว่าพืชที่เจริญบนบกมีวิวัฒนาการมาจากสาหร่ายไฟนั่นเอง
 |
 |
 |
ก |
ข |
ค |
ภาพที่ 24 สาหร่ายไฟ (Nitella sp.) (ก) ลักษณะการแตกกิ่งของสาหร่ายไฟ (ข) โครงสร้างสืบพันธุ์เพศเมีย (Oogonium) (ค) โครงสร้างสืบพันธุ์เพศผู้ (Antheridium)
(ก-ค) (ที่มา : http://cfb.unh.edu/phycokey/Choices/Charophyceae) |
8. กลุ่มไมซีโทซัว (Mycetozoa) เป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่นำมาจัดกลุ่มโดยข้อมูลจากโมเลกุลดีเอ็นเอ มีการดำรงชีวิตมีทั้งเป็นผู้ย่อยสลาย ผู้บริโภคและปรสิต ซึ่งจะพบในบริเวณที่ชื้นแฉะและตามขอนไม้หรือใบไม้เน่าเปื่อยในป่า เช่น ราเมือกชนิดพลาสโมเดียม (plasmodium slime molds) ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีหลายนิวเคลียสภายในเซลล์ และอีกชนิดเป็นราเมือกชนิดเซลลูลาร์ (cellular slime molds) เป็นเซลล์ที่มี 1 นิวเคลียส หลายเซลล์มาอยู่รวมกัน ราเมือกมีบทบาทเป็นผู้ย่อยสลายที่สำคัญในระบบนิเวศ ได้แก่ สเตโมนิทิส (Stemonitis sp.) และ ไฟซาลัม (Physarum sp.) เป็นต้น
 |
 |
 |
ก |
ข |
ค |
ภาพที่ 25 กลุ่มราเมือก (ก) Stemonitis axifera (ข) Physarum nutans (ค) Physarum polycephalum
(ก) (ที่มา: http://sanamyan.com/myxomycetes/stemonitis )
(ข) (ที่มา: http://www.naturephoto-cz.eu/physarum-nutans-picture-6400.html )
(ค) (ที่มา: http://www.flickr.com/photos/randomtruth/ 4350484166/) |
กลุ่มไรโซโพดา (Rhizopoda) ซึ่งโพรทิสต์กลุ่มนี้มีการศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการน้อยมาก ทำให้นักวิทยาศาสตร์ ไม่สามารถจัดอยู่ในสายวิวัฒนาการของโพรทิสต์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ ลักษณะทั่วไปคือมีเท้าเทียม (Pseudopodium) หรือเพื่อใช้ในการเคลื่อนที่หรือกินอาหาร โดยการยื่นเท้าเทียมไปล้อมรอบอาหาร ส่วนใหญ่จะดำรงชีวิตแบบอิสระ ที่รู้จักกันดี คือ Amoeba proteus แต่บางชนิดเป็นปรสิตที่สำคัญ เช่น Entamoeba histolytica เป็นสาเหตุของโรคบิด
 |
 |
ก |
ข |
ภาพที่ 26 โพรทิสต์กลุ่มอะมีบา (ก) Amoeba proteus (ข) Entamoeba histolytica ระยะ trophozoite
(ก) (ที่มา: http://archive.microbelibrary.org/ASMOnly/details.asp?ID=508 )
(ข) (ที่มา: http://www.uvm.edu/ cmb/student_details.php?people_id=435) |
วิวัฒนาการของโพรทิสต์
จากการศึกษาหลักฐานทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักโพรทิสตา พบฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดอายุ 2,100 ล้านปี โดยซากดึกดำบรรพ์ที่พบเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงการดำรงชีวิตของกลุ่มโพรทิสต์ที่อยู่ในน้ำ จากข้อมูลซากดึกดำบรรพ์ ลักษณะสัณฐานวิทยา และโมเลกุลดีเอ็นเอของโพรทิสต์กลุ่มต่าง ๆ ที่ได้ศึกษาเป็นสิ่งยืนยันได้ว่าสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโพรทิสตา เป็นบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตในกลุ่มรา พืช และสัตว์
บทบาทของโพรทิสต์
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโพรทิสตา เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์เป็นอย่างยิ่งในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรกที่เป็นผู้ผลิต เป็นผู้สร้างออกซิเจนให้กับแหล่งน้ำ และสามารถนำมาแปรรูปในเชิงอุตสาหกรรมได้อีกมากมาย เช่น อาหาร อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ เครื่องสำอางค์ น้ำยาขัดเงา ยาสีฟัน ปุ๋ย และผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น
|