หน้าหลัก
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

การเคลื่อนที่ของสัตว์

แมงกะพรุน /หมึก /ปลาดาว
พลานาเรีย
ไส้เดือนดิน/หนอนตัวกลม
แมลง
 สัตว์มีกระดูกสันหลัง

การเคลื่อนที่ของคน

 กระดูก
 ข้อต่อ และ เอ็น
 กล้ามเนื้อ

 
 

 

การเคลื่อนที่ของสัตว์

 

แมงกะพรุน
แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น แมงกระพรุนมีของเหลวที่ชื่อว่ามีโซเกลีย (Mesoglea) ซึ่งแทรกอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นนอก กับ เนื้อเยื่อชั้นใน การเคลื่อนที่ของแมงกะพรุนอาศัย การหดตัวของเนื้อเยื่อบริเวณขอบกระดิ่งและผนังลำตัวสลับกัน ทำให้เกิดแรงดันของน้ำผลักตัวแมงกะพรุนให้พุ่งไปในทิศตรงกันข้ามกับน้ำที่พ่นออกมา

ตำแหน่งที่ลูกศรชี้คือ กล้ามเนื้อขอบกระดิ่ง ภาพโครงสร้างภายในของแมงกะพรุน

 

ชมวิดีโอการเคลื่อนที่ของแมงกะพรุน

 

ปลาหมึก
การเคลื่อนที่ของปลาหมึกเกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณลำตัวทำให้น้ำภายในลำตัวพ่นออกทางท่อไซฟอน (siphon) ซึ่งเป็นท่อสำหรับพ่นน้ำออกมาดันให้ลำตัวของปลาหมึกเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับทิศของน้ำที่พ่นออกมา

38750
ภาพ การเคลื่อนที่โดยใช้ไซฟอนของหมึก หมายเลข 1 คือตำแหน่งของไชฟอน

 

ชมวิดีโอการเคลื่อนที่ของหมึก (Squid)

 

การเคลื่อนที่โดยอาศัยแรงดันน้ำโดยอาศัยท่อไซฟอน นอกจากจะพบในหมึกแล้ว ยังพบในหอยบางชนิด เช่น หอยงวงช้าง หอยเต้าปูนเป็นต้น

siphon snail
ภาพ ตำแหน่งของไซฟอนในหอยเต้าปูน  


ดาวทะเล
เป็นสัตว์ที่มีหินปูนฝังอยู่ที่ผิวของร่างกาย จึงถือว่าเป็นสัตว์ที่มีโครงร่างแข็ง แต่โครงร่างแข็งของดาวทะเลไม่ได้ยึดเกาะกับกล้ามเนื้อ  (จึงถือว่าโครงร่างแข็งของปลาดาวไม่มีส่วนสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่) ดาวทะเลมีระบบหมุนเวียนน้ำ ซึ่งใช้ในการเคลื่อนที่คือทำให้ส่วนที่ เรียกว่า ทิวบ์ฟีต (Tube feet) ยืดยาวออกหรือหดสั้นเข้า
โดยการยืดยาวและหดสั้นของทิวบ์ฟิต เกิดจากการทำงานของระบบหมุนเวียนน้ำของดาวทะเลซึ่งประกอบด้วย ช่องรับน้ำเข้าซึ่งอยู่ทางด้านบนของลำตัว เรียกว่า มาดรีโพไรต์ (Madrepodrite)  น้ำจะเข้าสู่วงท่อน้ำ (ring canal) เข้าสู่ท่อน้ำตามแขนของลำตัว (Radail canal) ซึ่งมีหน่วยย่อยที่แตกแขนงออกมาประกอบด้วยกระเปาะกล้ามเนื้อ เรียกว่าแอมพูลา (Ampulla) และ หลอดที่สามารถยืดหดได้ที่เรียก ทิวบ์ฟิต (Tube feet) เมื่อนำไหลเข้ามาสู่แอมพูลากล้ามเนื้อบริเวณแอมพูลาจะหดตัวดันน้ำไปยังทิวบ์ฟิต ทำให้ทิวบ์ฟิตยืดยาวไปแตะพื้นได้ ขญะเดียวกันลิ้นที่บริเวณแอมพูลาจะปิดป้องกันไม่ไห้น้ำไหลกลับออกไปทางท่อด้านข้าง จากนั้นกล้ามเนื้อทิวบ์ฟิตจะหดตัวทำให้ทิวบ์ฟิตสั้นลง ดันน้ำกลับไปที่แอมพูลาตามเดิม การยืดหดของทิวบ์ฟิตหลายๆอันต่อเนื่องกันทำให้ดาวทะเลเคลื่อนที่ได้ นอกจากนี้ปลายสุดของทิวบ์ฟิตจะยังมีลักษณะคล้ายแผ่นดูด (sucker) ทำให้การยึดเกาะกับพื้นผิวขณะเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

t010533a.gif 38752

ภาพ โครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของดาวทะเล

 

ชมวิดีโอการเคลื่อนที่ของดาวทะเล

 

   

 

จัดทำรวบรวมเรียบเรียงข้อมูลโดย ครูนันทนา สำเภา
โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ