หน้าหลัก
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

การเคลื่อนที่ของสัตว์

แมงกะพรุน /หมึก /ปลาดาว
พลานาเรีย
ไส้เดือนดิน/หนอนตัวกลม
แมลง
 สัตว์มีกระดูกสันหลัง

การเคลื่อนที่ของคน

 กระดูก
 ข้อต่อ และ เอ็น
 กล้ามเนื้อ

 
 

 

การเคลื่อนที่ของสัตว์

 

ไส้เดือนดิน

ส่วนที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของไส้เดือนดิน ได้แก่
-   กล้ามเนื้อวง (Circular muscle)
-   กล้ามเนื้อตามยาว (longitudinal muscle)
-   เดือย (setae)
การเคลื่อนบนบกของไส้เดือนดิน โดยอาศัยการหดตัวของกล้ามเนื้อวงที่หัวหดตัว กล้ามเนื้อตามยาวจะคลายตัว ปล้องจะยืดยาวออก ทำให้ลำตัวเคลื่อนไปข้างหน้าแล้วใช้ปากที่อยู่หน้าสุดของปล้องแรกและใช้เดือย (setae) จิกกับพื้นเอาไว้เพื่อยึดให้แน่น และสามารถดึงส่วนอื่นไปด้วย  แต่เมื่อกล้ามเนื้อตามยาวหดตัว กล้ามเนื้อวงจะคลายตัวทำให้ปล้องนั้นโป่งออกลำตัวหดสั้นเข้าสามารถดึงส่วนท้ายของสัตว์ให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้การหดตัวขอ’ กล้ามเนื้อทั้งสองชุดจะเกิดต่อเนื่องกันคล้ายระรอกคลื่น โดยเริ่มจากปลายด้านหัวมาสู่ปลายส่วนท้ายของลำตัว ดังภาพ


ภาพ การเคลื่อนที่ของไส้เดือนดิน

ภาพ ตำแหน่งของกล้ามเนื้อตามยาว และกล้ามเนื้อวงของไส้เดือนดิน

 

หนอนตัวกลม

เช่น พยาธิปากขอ พยาธิเส้นด้าย สัตว์กลุ่มนี้มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้นแต่มีเพียงชั้นเดียวที่มีกล้ามเนื้อ การเคลื่อนที่ของสัตว์กลุ่มนี้จะมีกล้ามเนื้อตามยาว (Longitudinal mascle) เท่านั้นช่วยการเคลื่อนที่โดยอาศัยการหดตัวคลายตัวของกล้ามเนื้อชนิดนี้ การเคลื่อนที่จึงส่ายไปส่วยมา การเคลื่อนที่จะเป็นในลักษณะ side to side คือ เคลื่อนไปด้านข้างโดยจะสามารถโค้งตัวงอจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งโดยจะไม่สามารถคืบคลานหรือยกตัวสูงได้

round worm

ภาพ A ภาคตัดขวางลำตัวของหนอนตัวกลม
ภาพ B แสดงเซลล์กล้ามเนื้อของหนอนตัวกลมที่ปลายด้านหนึ่งเอื้อมไปสัมผัสเส้นประสาท

 

 

   

 

จัดทำรวบรวมเรียบเรียงข้อมูลโดย ครูนันทนา สำเภา
โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ