การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรโพรทิสตา

อาณาจักรพืช

อาณาจักรฟังไจ

อาณาจักรสัตว์

    :: ความหลากหลายของสัตว์

    :: สัตว์ที่ไม่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง

    :: สัตว์ที่มีเนื้อเยื่อ

           ไฟลัมไนดาเรีย

           ไฟลัมแพลทีเฮลมินทิส

           ไฟลัมมอลลัสคา

           ไฟลัมแอนเนลิดา

           ไฟลัมนีมาโทดา

          ไฟลัมอาร์โทรโพดา

          ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา

           ไฟลัมคอร์ดาตา

    :: แบบฝึกที่ 6.1

    :: แบบฝึกที่ 6.2

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

Download เอกสารเผยแพร่

กลับหน้าหลัก

----------------------๐๐๐--------------------
๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

 

 

ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา (Phylum Echinodermata)

            สัตว์ในไฟลัมเอคไคโนเดอร์มาตา เป็นกลุ่มสัตว์ที่ดำรงชีวิตอยู่เฉพาะในทะเลทั้งหมด เช่น ดาวทะเล พลับพลึงทะเล และ ปลิงทะเล เป็นต้น ลำตัวของสัตว์ในไฟลัมนี้มีผิวหนังที่เป็นหนามยื่นออกมา แต่หนามเหล่านั้นมีการปรับตัวไปเพื่อให้เหมาะกับการทำหน้าที่ในแต่ละชนิด ทำให้บางชนิดผิวหนังแข็งบางชนิดไม่แข็ง หรือบางชนิดมีหนามยาวแต่บางชนิดก็มีหนามสั้น ตัวอ่อนของสัตว์ในไฟลัมนี้หลายชนิดมีสมมาตรแบบด้านข้าง ขณะที่ตัวเต็มวัยของสัตว์ในไฟลัมนี้มีสมมาตรแบบรัศมี แต่เพราะร่างกายมักจะมีรูปร่างเป็น 5 แฉก ทำให้ตัวเต็มวัยมีสมมาตรแบบที่เรียกว่า pentaradiate symmetry พวกเอคไคโนเดิร์ม (echinoderm) มีระบบหมุนเวียนโลหิตที่เจริญไม่ดี แต่มีระบบท่อลำเลียงน้ำ (water vascular system) ที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของสัตว์ในไฟลัมนี้ ระบบท่อลำเลียงน้ำจะแตกแขนงเป็นตีนท่อ (tube feet) จำนวนมากทำหน้าที่เป็นอวัยวะใช้ในการเคลื่อนที่ หายใจ หาอาหาร และขับถ่าย

ภาพที่ 16 ระบบท่อลำเลียงน้ำและตีนท่อของดาวทะเล
(ที่มา : http://www.sysp.ac.th/files/1403271111004763_14042614140852.pdf)

 

สัตว์ในไฟลัมนี้จำแนกได้เป็น 5  ชั้น (Class) ดังนี้
          1. คลาสไครนอยเดีย (Class Crinoidea) เป็นพวกเกาะอยู่กับที่เป็นส่วนใหญ่ ได้แก่  พลับพลึงทะเล ซึ่งมีการแตกแขนงคล้ายดอกไม้ ที่ส่วนบนมีแกนยึดเกาะกับสิ่งต่างๆจึงเคลื่อนที่ไม่ได้ อีกตัวอย่างหนึ่งคือดาวขนนก คล้ายกับพลับพลึงทะเล แต่ไม่มีแกนเกาะกับที่จึงสามารถว่ายน้ำและเคลื่อนที่ไปได้

           2. คลาสแอสเทรอยเดีย (Class Asteroidea) เป็นพวกที่เคลื่อนที่ไปมา รูปร่างเป็นลักษณะดาว มีแฉก ได้แก่ ดาวทะเล ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมี 5 แฉก แต่บางชนิดอาจมีมากกว่านี้ โดยแฉกไม่ได้แยกออกจากแกนกลาง แฉกเหล่านี้จึงสามารถเคลื่อนที่ได้

           3. คลาสโอฟิยูรอยเดีย (Class Ophiuroidea) ได้แก่พวก ดาวเปราะ รูปร่างเป็นแฉก 5 แฉก เช่นเดียวกับดาวทะเล แต่แฉกมีขนาดเล็กและยาวมากกว่า แฉกทุกแฉกแยกออกจากแกนกลางอย่างชัดเจน  แฉกที่ยื่นออกมานี้แตกหักง่าย เป็นสัตว์กลุ่มเดียวในไฟลัมนี้ที่ไม่มีทวารหนัก

          4. คลาสเอไคนอยเดีย (Class Echinoidea) ได้แก่พวกเม่นทะเล เหรียญทราย หรือ เหรียญทะเลหรือ อีแปะทะเล พวกนี้ไม่มีแฉกมีแต่หนามแหลมหรือทู่รอบตัว หนามเหล่านี้สามารถเคลื่อนไหวได้ด้วย

          5. คลาสโฮโลทูรอยเดีย (Class Holothuroidea) ได้แก่พวกปลิงทะเล พวกนี้ไม่มีหนาม ไม่มีแฉก มีลักษณะคล้ายแตงกวา หรือไส้กรอก หายใจด้วยเหงือกซึ่งอยู่บริเวณทวารหนัก

          ในบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันพบว่าในปัจจุบันพบดาวมงกุฎหนามมากขึ้น ดาวกุฎหนามนี้เป็นผู้ล่าที่สำคัญของปะการัง จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปะการังลดจำนวนลงในสภาพธรรมชาติ แต่ในขณะเดียวกัน ดาวมงกุฎหนามจะมีผู้ล่าเป็นหอยสังข์แตร หอยสังข์แตรจึงมีส่วนช่วยในการกำจัดดาวมงกุฎหนามที่เป็นตัวทำลายปะการังลงได้ แต่เนื่องจากหอยสังข์แตรมีเปลือกที่สวยงามและราคาแพง จึงถูกนุษย์จับเพื่อนำเปลือกมาขายมากขึ้น ทำให้หอยสังข์แตรมีปริมาณน้อยลง

 

    

 

          

   

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ