การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรโพรทิสตา

อาณาจักรพืช

อาณาจักรฟังไจ

อาณาจักรสัตว์

    :: ความหลากหลายของสัตว์

    :: สัตว์ที่ไม่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง

    :: สัตว์ที่มีเนื้อเยื่อ

           ไฟลัมไนดาเรีย

           ไฟลัมแพลทีเฮลมินทิส

           ไฟลัมมอลลัสคา

           ไฟลัมแอนเนลิดา

           ไฟลัมนีมาโทดา

          ไฟลัมอาร์โทรโพดา

          ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา

           ไฟลัมคอร์ดาตา

    :: แบบฝึกที่ 6.1

    :: แบบฝึกที่ 6.2

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

Download เอกสารเผยแพร่

กลับหน้าหลัก

----------------------๐๐๐--------------------
๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

 

 

แบบฝึกที่ 6.2

 

คำชี้แจง  ให้นักเรียนตอบคำถามเกี่ยวกับความหลากหลายของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง แล้วตอบคำถามต่อไปนี้

         1.ให้นักเรียนพิจารณาภาพสัตว์ต่อไปนี้ พร้อมระบุว่าสัตว์ในภาพคือสัตว์อะไร

1.1 คือ 1.2 คือ
1.3 คือ 1.4 คือ
1.5 คือ 1.6 คือ
1.7 คือ 1.8 คือ
1.9 คือ 1.10 คือ
1.11 คือ 1.12 คือ
1.13 คือ 1.14 คือ
1.15 คือ 1.16 คือ
1.17 คือ 1.18 คือ
1.19 คือ 1.20 คือ
1.21 คือ 1.22 คือ
1.23 คือ 1.24 คือ
1.25คือ 1.26 คือ
1.27 คือ 1.28 คือ
1.29 คือ 1.30 คือ
1.31 คือ 1.32 คือ
1.33 คือ 1.34 คือ
1.35 คือ 1.26 คือ
1.37 คือ 1.38 คือ
1.39 คือ 1.40 คือ
1.41 คือ 1.42 คือ
1.43 คือ 1.44 คือ
1.45 คือ 1.46 คือ
1.47 คือ 1.48 คือ
1.49 คือ 1.50 คือ

 

2. ให้นักเรียนพิจารณาภาพจากข้อ 1 แล้วระบุว่าสัตว์ในภาพเป็นสัตว์ในไฟลัม (Phylum) หรือ คลาสใด ตอบโดยใช้หมายเลขของแต่ละข้อ
2.1 ไฟลัมพอริเฟอรา ได้แก่หมายเลข

2.2 ไฟลัมไนดาเรีย ได้แก่หมายเลข

2.3 ไฟลัมแพลทีเฮลมินทิส ได้แก่หมายเลข

2.4 ไฟลัมมอลลัสคา ได้แก่หมายเลข

2.5 ไฟลัมแอนเนลิดา ได้แก่หมายเลข

2.6 ไฟลัมนีมาโทดา ได้แก่หมายเลข

2.7 ไฟลัมอาร์โทโพดา
     2.7.1 คลาสเมอโรสโตมาตา ได้แก่หมายเลข
     2.7.2 คลาสอะแรคนิดา ได้แก่หมายเลข
     2.7.3 คลาสไดโพลโพดา ได้แก่หมายเลข
     2.7.4 คลาสชิโลโพดา ได้แก่หมายเลข
     2.7.5 คลาสอินเช็คตา ได้แก่หมายเลข
     2.7.6 คลาสครัสเทเชีย ได้แก่หมายเลข

2.8 ไฟลัมเอไคโนเดอมาตา ได้แก่หมายเลข

2.9 ไฟลัมคอร์ดาตา ได้แก่หมายเลข

 

3.ให้นักเรียน ศึกษาบทความเกี่ยวกับปะการัง ที่กำหนดให้ต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม

ปะการัง

          ปะการังเป็นสัตว์ในไฟลัม (Phylum) Cnidaria ชั้น (Class) Anthozoa อันดับ (Order) Scleractinia มีลักษณะ เด่นคือหนวดที่เรียงรายอยู่รอบปากมีจํานวน 6 เส้น หรือทวีคูณของ 6 ปะการังที่กล่าวถึงในที่นี้ จะหมายถึงปะการัง กลุ่มที่สามารถสร้างโครงร่างแข็งซึ่งเป็นสารประกอบหินปูนขึ้นเป็นฐานรองรับเนื้อเยื่ออันอ่อนนุ่ม ปะการังมี ส่วนประกอบสําคัญ 2 ส่วน คือโครงร่างแข็ง (skeleton) ซึ่งเป็นสารประเภทหินปูนเกิดจากการสร้างของตัวปะการัง และส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อซึ่งเรียกว่าโพลิป (polyp) ประกอบด้วยปากซึ่งเป็นช่องเปิดเขาไปในช่องว่างภายในลําตัว มี หนวดเรียงกันเป็นวงโดยรอบ ปะการังแต่ละก้อนจะประกอบด้วยโพลิปจํานวนมากอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยเนื้อเยื่อ ของแต่ละโพลิปเชื่อมโยงถึงกันหมด เรียกว่าโคโลนี (colony) แต่มีบางชนิดที่อยู่เดี่ยวๆ (solitary) คือทั้งก้อนมีอยู่ เพียงโพลิปเดียว เช่น ปะการังเห็ด

          ปะการังกินอาหารโดยใช้หนวดจับสัตว์เล็กๆ ที่ล่องลอยอยู่ในน้ำส่งเข้าปากซึ่งอยู่ตรงกลาง นอกจากนี้ ปะการังยังได้รับสารอาหารจากสาหร่ายเซลล์เดียวซึ่งมีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า ซูแซนเทลลี่ (Zooxanthellae) สาหร่าย ชนิดนี้อยู่ในเนื้อเยื่อของปะการัง โดยสาหร่ายจะอาศัยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้งธาตุอาหารต่างๆที่ได้ จาก  กระบวนการเมตาโบลิซึมของปะการังในการเจริญเติบโตและเพิ่มจํานวนเซลล์ ขณะเดียวกันปะการังจะได้รับก๊าซออกซิเจน และสารอาหารที่เป็นผลผลิตจากการสังเคราะห์แสงของสาหร่าย การอยู่ร่วมกันของปะการังและ ซูแซนเทลลี่ทําให้กระบวนการสร้างหินปูนของปะการังเกิดได้เร็วขึ้น ดังนั้นซูแซนเทลลี่จึงมีบทบาทอย่างยิ่งต่อตัวปะการัง และการสร้างแนวปะการัง โดยปะการังชนิดที่มีซูแซนเทลลี่อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อซึ่งอยู่ในระดับความลึกที่แสงส่องถึง จะมีอัตราการสะสมหินปูนรวดเร็วและก่อตัวเป็นแนวปะการังได้ (Hermatypic coral) ส่วนปะการังชนิดที่มีซูแซนเทลลี่อยู่น้อยหรือไม่มีเลย ซึ่งอยู่ได้ในน้ำระดับลึกและมีอุณหภูมิต่ำจะมีการสร้างหินปูนได้ช้า จึงไม่สามารถสร้าง เป็นแนวปะการังได้ (Ahermatypic coral)  การเกิดโครงสร้างแข็งเนื้อปูนด้านนอกเกิดจากการสะสมตัวของแร่อะราโกไนต์ ซึ่งพัฒนาต่อไปเป็นสารพวกแคลเซียมคาร์บอเนต โดย โพลิฟทำหน้าที่จับไอออนของแคลเซียมจากน้ำทะเลให้ทำปฏิกิริยากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากสาหร่าย อัตราการตกสะสมตัวมีความแปรผันอย่างมากในระหว่างชนิดพันธุ์และสภาพสิ่งแวดล้อมรอบข้างที่อาจจะมากถึง 10 กรัม/ตารางเมตรของโพลิฟ/วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแสงสว่าง กล่าวคือในช่วงกลางคืนจะผลิตได้เพียงประมาณร้อยละ 90 ต่ำกว่าการผลิตในช่วงกลางวัน

 

การฟอกขาวของปะการัง (coral bleaching)

          โดยปกติแล้วปะการังที่มีโครงร่างหินปูนหรือปะการังแข็งทั้งหลายจะมีสาหร่ายเซลเดียวที่มีชื่อว่า Zooxanthellae อยู่ในเนื้อเยื่อ ซึ่งปะการังจะได้อาหารจากการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายนี้ถึงกว่า 90% นอกจากนี้ การที่เราเห็นปะการังเป็นสีต่างๆ  นอกจากรงควัตถุของปะการังเองแล้ว ก็ยังเป็นเพราะรงควัตถุของสาหร่ายซูแซนเทลลี่ นี้ด้วย ส่วนสาหร่ายได้ธาตุอาหารจากการขับของเสียและคาร์บอนไดออกไซด์ จากการหายใจของปะการังมา ใช้ในการสังเคราะห์แสง ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างปะการังและสาหร่ายซูแซนเทลลี่นี้เป็นความสมพันธ์แบบพึ่งพา อาศัยกันและกันและจะขาดซึ่ง กันและกันไม่ได้

          แต่หากปะการังเกิดความเครียดขึ้น เช่น หากอุณหภูมิและ แสงมากเกินไป สาหร่ายจะผลิตอนุมูล อิสระของ ออกซิเจน (free radical oxygen) ซึ่งเป็นพิษต่อเนื้อเยื่อของปะการังขึ้น ปะการังจึงขับเอาสาหร่ายชนิดนี้ออกจาก เซลล์เราจึงเห็นปะการังกลายเป็นสีขาวเนื่องจากสามารถมองผ่านตัวใส ๆ ของปะการังผ่านลงไปถึงโครงร่างหินปูน ที่รองรับตัวปะการังอยู่ด้านล่าง สาเหตุของความเครียดของปะการังก็เกิดจากหลายประการ ส่วนใหญ่เกิดจาก สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น ความเค็ม, สารเคมี , ตะกอน, อุณหภูมิ ในระดับที่ไม่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของ ปะการัง

          หากอยู่ในสภาพนี้นานๆ ปะการังกจะตายในที่สุด แต่หากสภาพแวดล้อมกลับมาเป็นปกติในเวลาไม่นาน สาหร่ายก็ยังจะกลับเข้ามาอยู่ร่วมกับปะการังเหมือนเดิม และปะการังก็กลับมามีชีวิตอยู่ได้ทั้งนี้ปะการังแต่ละชนิดมีความต้านทาน (resistance) หรือทนทาน (tolerance) ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมแตกต่างกันไป กลุ่มที่มี ความต้านทาน ต่อการฟอกขาว คือปะการังที่ไม่เกิดการฟอกขาว  ส่วนกลมที่ทนทานต่อการฟอกขาวคือปะการังที่เกิด การฟอกขาวแต่สามารถฟื้นตัวได้หลังจากที่สิ่งแวดล้อม กลับสู่สภาพปกติ และพบว่าปะการังในกลุ่มเขากวาง (Acropora spp.) มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอุณหภูมิค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับปะการัง ชนิดอื่น ๆ ดังนั้นปะการังชนิดนี้จึงเกิดการฟอกขาวได้เร็วรุนแรงและมีโอกาสสูงที่จะตายเนื่องจากปรากฏการณ์นี้

ภาพ ปะการังเขากวางฟอกขาว
(ที่มา : http://hilight.kapook.com/img_cms2/news/coral_problem08.jpg)

 

           ในช่วงยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้รายงานว่าอุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงผิดปกติ เป็นปัจจัยสําคัญ ที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวเป็นพื้นที่กว้างและรุนแรง ซึ่งในบางปีสามารถเกิดครอบคลุมพื้นที่ระดับ ภูมิภาคเช่น ในปีพ.ศ. 2541 เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวทั่วเขตมหาสมุทรอินโดแปซิฟิค สําหรับในประเทศ ไทยเกิด ปรากฏการณ์ ปะการังฟอกขาวรุนแรงเนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลสูงผิดปกติในปีพ.ศ. 2534, 2538, 2541 ส่วน ปีต่อ ๆ มาคือ 2546, 2548 และ 2550 เกิดไม่รุนแรงมากนัก มีรายงานว่าการฟอกขาวของปะการังส่วนใหญ่เกิดจาก อุณหภูมิที่สูงเกินไป หากยิ่งประกอบกับแสงแดดที่แรงเกินไปยิ่งทําให้ปะการังฟอกขาวได้ง่ายและมากขึ้น
ที่มา: http://www.pmbc.go.th/web/webpmbc/public%20files/swpphuket/
swpphuket59.pdf

 

3. เมื่อนักเรียนอ่านบทความแล้วให้พิจารณาข้อความต่อไปนี้ หากเป็นข้อความที่ถูกให้ทำเครื่องหมาย /  หากเป็นข้อความที่ผิดให้ทำเครื่องหมาย X หน้าข้อความ


ข้อที่

คำตอบ

ข้อความ

1

 

เนื้อเยื่อของปะการังเป็นโครงร่างแข็งที่มีหินปูนเป็นองค์ประกอบ

2

 

ปะการังทุกชนิดสามารถสร้างแนวปะการังได้

3

 

ในเนื้อเยื่อของปะการังน้ำลึกจะมีสาหร่ายเข้าไปอาศัยอยู่มากกว่าปะการังที่อาศัยอยู่ในน้ำตื้น

4

 

สีสันของปะการังส่วนหนึ่ง เกิดจากสาหร่ายซูแซนเทลลี่

5

 

ปะการังเป็นสัตว์ในไฟลัมไนดาเรียที่มีรูปร่างแบบระฆังคว่ำ

6

 

ความเครียดของปะการังเกิดจากอุณหภูมิ ความเค็ม ความขุ่น และปริมาณสารเคมีในน้ำที่เปลี่ยนแปลงไปจนทำให้การดำรงชีวิตของปะการังไม่เหมาะสม

7

 

ปะการังทุกชนิดตอบสนองต่อความเครียดทุกชนิด ในปริมาณที่เท่ากัน

8

 

ความสัมพันธ์ของปะการัง กับ สาหร่ายซูแซนเทลลี่ เป็นความสัมพันธ์แบบได้ประโยชน์ร่วมกัน (Protocooperation)

9

 

เมื่อปะการังเกิดความเครียด จะขับสาหร่ายซูแซนเทลลี่ออกมาทำให้เกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวเกิดขึ้น

10

 

เมื่อเกิดปะการังฟอกขาวหากสภาพแวดล้อมไม่กลับสู่สภาพปกติ ในระยะเวลานาน จะทำให้ปะการังตายได้

11

 

ภาวะโลกร้อน ไม่ใช่ ปัจจัยที่ทำให้เกิดการฟอกขาวของปะการัง

12

 

ปรากฏการณ์ แอลนีโญ และ ลานีญา เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มโอกาสให้เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว

 

4.ให้นักเรียน ศึกษาบทความเกี่ยวกับหอยเต้าปูน ที่กำหนดให้ต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม

พิษร้ายใต้เปลือกสวย

          ว่ากันว่าหนึ่งในสัตว์ที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก อาศัยอยู่ในท้องทะเลอย่างสงบเสงี่ยม ภายใต้เปลือกที่แข็งแรงและสวยงาม ความสวยงามของเปลือกที่อาจอำพรางเข็มพิษที่อาบด้วยน้ำพิษอานุภาพร้ายแรง พอที่จะปลิดชีวิตสัตว์ขนาดใหญ่อย่างไดโนเสาร์ได้โดยง่าย และพร้อมจะยิงผู้บุกรุกได้ทุกเมื่อ และนั่นเป็นที่มาของคำขนานนามว่า “หอยมรณะ” ทั้งที่ชื่อจริงๆ ของหอยชนิดนี้ก็คือ “หอยเต้าปูน” (Cone Shell)

 

สำรวจลึกถึงก้นเปลือก

           หอยเต้าปูนเป็นสัตว์ในไฟลัม mollusca วงศ์ Conidae เป็นหอยฝาเดียวมีเปลือกเป็นรูปกรวย (Cone) หนาและหนัก ขนาดเปลือกมีตั้งแต่ 2-3 เซนติเมตร ไปจนถึงใหญ่ขนาด 20 เซนติเมตร ลวดลายบนเปลือกแตกต่างกันไปตามชนิดของหอย ทางด้านหน้าของลำตัว (ปลายเรียวเล็กของกรวย) มีท่อน้ำยื่นยาวออกมา เรียกว่า ไซฟอน (Siphon) อยู่ที่ส่วนบนสุดทางด้านหน้า สำหรับทางน้ำออก ช่วยขับให้ตัวหอยเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้แบบเจ็ต (jet) ใต้ไซฟอนเป็นหนวด (Tentacles) สองเส้นใช้เป็นประสาทสัมผัส กับงวง (Proboscis) หนึ่งอันเป็น ท่อกลมยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ภายในงวงมีฟัน (Radula) ซึ่งมีวิวัฒนาการเปลี่ยนรูปไปคล้ายฉมวกหรือลูกธนู ตามแต่จินตนาการของคนมอง ภายในฟันรูปฉมวกนั้นกลวง มีท่อน้ำพิษซึ่งต่อมาถึงถุงใส่พิษที่ติดอยู่กับคอหอย (Pharynx) ในตัวหอย ถุงน้ำพิษใช้เก็บเข็มพิษและน้ำพิษซึ่งสร้างจากท่อน้ำพิษ โดยมีเซลล์ภายในมากมายทำหน้าที่ผลิตน้ำพิษ (Conotoxin)

ภาพ โครงสร้างของหอยเต้าปูน
(ที่มา: http://update.se-ed.com/206/coneshell.htm)

 

หอยเต้าปูนหลากหลายชนิด

          หอยเต้าปูนสามารถแบ่งตามลักษณะอาหารที่กินได้สามประเภทคือกลุ่มกินหนอน (Vermivorous) หอยกลุ่มนี้จะกินพวกไส้เดือนทะเล (Neanthes sp.) และหนอนตัวแบน (Flat worm) ตามพื้นทะเล ดังนั้นพิษที่ใช้ล่าเหยื่อของหอยกลุ่มนี้จึงไม่จำเป็นต้องแรงนักกลุ่มกินหอยอื่นๆ (Molluscivorous) พิษจะแรงกว่ากลุ่มกินหนอน เนื่องจากเหยื่อของมันคือหอยซึ่งอาจมีขนาดใหญ่ ดังนั้นมันจึงต้องมีพิษที่แรง เพื่อทำให้เหยื่อเป็นอัมพาตก่อนที่จะกินเข้าไปกลุ่มกินปลา (Piscivorous) หอยเต้าปูนกลุ่มนี้มีพิษแรงที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เหยื่อว่ายหนีไปไกล พิษจะมีผลโดยตรงต่อระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) เหยื่อของหอยเต้าปูนชนิดนี้ได้แก่ ปลาบู่จิ๋ว, ปลานกแก้ว ฯลฯ หอยเต้าปูนที่มีพิษร้ายแรง ได้แก่ หอยเต้าปูนลายแผนที่ (Geography cone หรือ Conus geographus) พิษของเจ้าหอยชนิดนี้ ทำให้คนเสียชีวิตไปแล้วกว่า 36 ราย ส่วนอีกชนิดที่ควรจับตามองเช่นกันคือหอยเต้าปูนลายผ้า (Textile cone) ซึ่งมีพิษร้ายแรงใกล้เคียงกับชนิดแรก นอกจากนี้ยังมีหอยเต้าปูนลายหินอ่อน (Conus marmoreus) และหอยเต้าปูนจักรพรรดิ (Conus imperialis) ที่มีพิษเช่นกัน ทั้งสี่ชนิดพบได้ในประเทศไทย

หอยเต้าปูลายแผนที่ หอยเต้าปูนลายผ้า
หอยเต้าปูนลายหินอ่อน หอยเต้าปูนลายจักรพรรดิ

ภาพ หอยเต้าปูน 4ชนิดที่มีพิษร้ายแรง
(ที่มา: http://update.se-ed.com/206/coneshell.htm)

 

มุมสงบของหอยเต้าปูน

          จากการสำรวจพบว่าหอยเต้าปูนทั่วโลกมีมากกว่า 500 ชนิด พบมากในเขตอินโดแปซิฟิก รวมทั้งน่านน้ำ ไทยซึ่งพบกว่า 300 ชนิด โดยจะอยู่ตามพื้นทะเลใกล้แนวปะการังที่ชายฝั่งความลึกประมาณ 1-2 ฟุต หรืออาจอยู่ลึกเป็น 10 ฟุต ในขณะที่บางชนิดอาจอยู่ได้ที่ก้นทะเลความลึกนับ 100 ฟุตเลยทีเดียว

เวลาอาหาร

          หอยเต้าปูนเป็นสัตว์กินเนื้อ จะออกล่าเหยื่อในตอนกลางคืน โดยการตามกลิ่นไปจนเจอเหยื่อซึ่งปกติจะนอนหลับอยู่ตามพื้นทราย มันจะเริ่มสำรวจโดยการยื่นงวงออกไปสัมผัสก่อนที่จะยิงเข็มพิษใส่ โดยกล้ามเนื้อจะหดตัวดันเข็มพิษเข้าไปในคอหอย เมื่อเข็มพิษถูกเคลือบด้วยน้ำพิษแล้วมันก็จะยิงเหยื่อได้ทันที แม้ว่าในระยะการยิงเข็มพิษจะไกลไม่เกินหนึ่งฟุต แต่งวงของหอยเต้าปูนซึ่งยืดได้ไกลกว่าความยาวของเปลือก 2-3 เท่า บวกกับความเร็วและความคมของเข็มพิษที่สามารถเจาะทะลุได้แม้กระทั่งชุดดำน้ำ ก็สามารถสยบเหยื่อได้โดยง่าย เมื่อเหยื่อถูกเข็มพิษจะเป็นอัมพาต เจ้าหอยเต้าปูนก็จะค่อยๆ ใช้งวงดูดเข้าไปทั้งตัวแล้วจึงย่อย กระบวนการนี้อาจใช้เวลานานเป็นวันเลยทีเดียว ก่อนที่หอยจะพ่นก้างปลาซึ่งย่อยไม่ได้ออกมา

 

โดนพิษ ทำไงดี??

          พิษของหอยเต้าปูนเป็นสารประกอบประเภทโปรตีนที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางและการทำงานของ กล้ามเนื้อ เก็บอยู่ในถุงน้ำพิษภายในตัวหอย เมื่อมันเจอเหยื่อหรือต้องการป้องกันตัว ก็จะยิงเหยื่อหรือศัตรูด้วยเข็มพิษอาบน้ำพิษ พิษที่เข้าสู่ตัวเหยื่อจะทำให้เกิดอาการแตกต่างกันไป ตาม แต่ความแรงและชนิดของหอย อาการเมื่อถูกพิษอาจเล็กน้อยแค่ผื่นคัน บวม แดง ปวดคล้ายผึ้งต่อย คลื่นไส้ ตาพร่า เจ็บหน้าอก หายใจขัด จนอาจถึงเสียชีวิตได้ภายใน 5ชั่วโมง

          การปฐมพยาบาลเบื้องต้น จะทำคล้ายปฐมพยาบาลผู้ถูกงูกัดคือ ใช้เชือกหรือยางรัดเหนือบาดแผล ป้องกันพิษไหลเข้าสู่หัวใจ จากนั้นให้ผู้ป่วยนอนหรือเคลื่อนไหวน้อยที่สุด แล้วให้นำส่งโรงพยาบาลพร้อมหอยคู่กรณี การรักษาในปัจจุบันยังไม่มียาแก้พิษโดยตรง แพทย์อาจใช้เซรุ่มแก้พิษงูที่มีประสิทธิภาพคล้ายคลึงกัน

 

มีพิษผิดตรงไหน??


          หลายๆ คนอาจคิดว่าในเมื่อเจ้าหอยเต้าปูนมีพิษร้ายแรง ทำไมเราไม่กำจัดให้หมดไปจากท้องทะเลเพื่อป้องกันอันตรายเสียเลย นั่นเป็นความคิดที่ค่อนข้างโหดร้ายต่อเพื่อนร่วมโลกตาดำๆ อย่างหอยเต้าปูนจริงๆ เพราะถึงหอยเต้าปูนจะมีเข็มพิษที่อาบด้วยน้ำพิษอานุภาพร้ายแรง แต่ก็มีเจตนาเพียงเพื่อหาอาหารและป้องกันตัวเท่านั้น มันมีสิทธิ์เต็มที่ที่จะอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ และแม้ว่าพิษของหอยจะร้ายแรงเพียงใด ก็ไม่สามารถหยุดยั้งผู้ล่าตัวฉกาจอย่างมนุษย์ได้ เปลือกหอยจึงกลายเป็นของหายากราคาแพง และเป็นที่ต้องการของนักสะสมเปลือกหอย ส่วนตัวหอยนั้นพบน้อยมากแล้วในทะเลไทย จึงแทบไม่ต้องกังวลเรื่องที่จะถูกเข็มพิษของหอยเต้าปูนง่ายๆ แต่อย่างไรก็ตาม หอยเต้าปูนไม่ได้มีแต่พิษภัยอย่างที่หลายๆ คนคิด ในทางตรงกันข้ามพิษของหอยเต้าปูนยังมีประโยชน์ทางการแพทย์อย่างมหาศาล  เช่น omega-conotoxin สามารถนำมาประยุกต์เป็นสารช่วยบรรเทาความเจ็บปวด ซึ่งได้ผลดีกว่ามอร์ฟีนถึง 1000 เท่า และเจ้าหอยชนิดนี้ยังช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศ ด้วยความสวยงามของเปลือกและประโยชน์มากมาย ทำให้หอยเต้าปูนกลายเป็นทรัพยากรมีชีวิตที่มีค่า รอให้ผู้คนลงไปศึกษาและชื่นชมความงามอยู่ใต้ท้องทะเล...
ที่มา : http://update.se-ed.com/206/coneshell.htm

 

4) เมื่อนักเรียนอ่านบทความแล้วให้พิจารณาข้อความต่อไปนี้ หากเป็นข้อความที่ถูกให้ทำเครื่องหมาย /  หากเป็นข้อความที่ผิดให้ทำเครื่องหมาย X หน้าข้อความ

ข้อที่

คำตอบ

ข้อความ

1

 

หอยเต้าปูนกลุ่มที่พิษร้ายแรงที่สุด คือหอยเต้าปูนกลุ่มกินปลา

2

 

หากนักเรียนเล่นน้ำทะเลตอนกลางคืน มีโอกาสโดนพิษของหอยเต้าปูนได้

3

 

ในประเทศไทยสามารถพบหอยเต้าปูนที่มีพิษร้ายแรง เมื่อโดนพิษอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

4

 

พิษของหอยเต้าปูนเป็นสารประกอบประเภทโปรตีนที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง

5

 

เมื่อโดนพิษหอยเต้าปูนพยายามอย่าเคลื่อนไหว และให้ใช้เชือก หรือผ้ารัดเหนือแผล

6

 

พิษของหอยเต้าปูนเกิดจาการที่เราไปสัมผัสที่ตัวของหอย

7

 

พิษของหอยเต้าปูนมีประโยชน์ทางการแพทย์ในแง่ของการลดความเจ็บปวด

8

 

พิษของหอยเต้าปูนพัฒนาความรุนแรงขึ้นมาเพื่อ ใช้ในการล่าเยื่อที่มีขนาดใหญ่

9

 

หอยเต้าปูนสามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วในธรรมชาติ เนื่องจากมีพิษร้ายแรง และไม่มีศัตรูทางธรรมชาติ

 

5.ให้นักเรียนพิจารณาไดโคโตมัสคีย์ระดับคลาสของสัตว์ในไฟลัมอาร์โทรโพดา พร้อมทั้งระบุว่า     A, B, C ,D, E, F  คือคลาสใดในไฟลัมอาร์โทรโพดา

 

5.1  (A) คือ……………………………………………………………………………….
5.2 (B) คือ……………………………………………………………………………….
5.3 (C) คือ……………………………………………………………………………….
5.4 (D) คือ……………………………………………………………………………….
5.5 (E) คือ……………………………………………………………………………….
5.6 (F) คือ……………………………………………………………………………….

 

6. ให้นักเรียนพิจารณาสัตว์ในไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา ในแต่ละคลาสต่อไปนี้ พร้อมนำตัวอย่างสัตว์ในตารางที่กำหนดให้เติมลงใน ตารางในช่องตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตให้ถูกต้อง


เม่นทะเล

ดาวเปราะ

เหรียญทะเล

ปลิงทะเล

ดาวทะเล

พลับพลึงทะเล

 

Phylum

Class

ตัวอย่างสิ่งมีชีวิต

Echinodermata

Crinoidea

 

Asteroidea

 

Ophiuroidea

 

Echinodea

 

Holothuroidea

 

 

 

 

 

 

          

   

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ