root banner
 
 
 

๐ โครงสร้างหน้าที่ของพืชดอก

    :: เนื้อเยื่อพืช
    :: เนื้อเยื่อเจริญ
    :: เนื้อเยื่อถาวร

อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช 

    :: โครงสร้างและหน้าที่ของราก
         >> โครงสร้างของราก    
         >> การเจริญขั้นที่สองของราก
         >> ประเภทของราก
    :: โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น
         >> โครงสร้างของลำต้น
         >>  ประเภทของลำต้น
         >> การเจริญขั้นที่สองของลำต้น  
    :: โครงสร้างและหน้าที่ของใบ

การแลกเปลี่ยนก๊าซและการคายน้ำ
ของพืช

๐ การลำเลียงน้ำของพืช

๐ การลำเลียงสารอาหารของพืช

๐ การลำเลียงอาหารของพืช
    :: การเคลื่อนย้ายอาหารในพืช
    :: กระบวนการลำเลียงอาหาร

เฉลยคำถามท้ายบท

กลับหน้าหลัก

 

 

การเจริญเติบโตขั้นที่ 2 หรือ การเจริญทุติยภูมิของรากพืชใบเลี้ยงคู่

         เป็นการเจริญเติบโตที่ทำให้ รากมีขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากมีการสร้างเนื้อเยื่อถาวรเพิ่มเติม จากการแบ่งเซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง คือ วาสคิวลาร์แคมเบียม (Vascular cambium) กับ คอร์กแคมเบียม (Cork cambium) โดยวาสคิวลาร์แคมเบียมเป็นเนื้อเยื่อที่แปลี่ยนสภาพมาเป็นเจริญที่อยู่ระหว่าง เนื้อเยื่อไซเล็มขั้นปฐมภูมิ และ โฟลเอ็มขั้นปฐมภูมิ เมื่อวาสคิวลาร์แคมเบียมแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวน จะแบ่งเซลล์ออกสองทิศทาง คือ แบ่งเข้าด้านใน และแบ่ง ออกด้านนอก การแบ่งเข้าด้านในเพื่อ สร้างเนื้อเยื่อไซเล็ม แบ่งออกด้านนอกเพื่อสร้างเนื้อเยื่อโฟลเอ็ม ทำให้เกิดกลุ่มของเนื้อเยื่อลำเลียงเพิ่มขึ้น โดยเนื้อเยื่อลำเลียงที่ เจริญเปลี่ยนแปลงมาจากวาคิวลาร์แคมเบียม หรือเกิดการเจริญในขั้นทุติยภูมิ
เรียกว่าโฟลเอ็มทุติยภูมิ (Secondary phloem) และ ไซเล็มทุติยภูมิ (Secondary xylem) ดังนั้นเซลล์ที่อยู่ห่างจาก
วาสคิวลาร์แคมเบียมมากกว่าจะเป็นเซลล์ที่มีอายุมากกว่า เซลล์ที่อยู่ใกล้วาสคิวลาร์แคมเบียม (Vascular cambium)

          ส่วนเนื้อเยื่อคอร์กของรากเกิดจาก เนื้อเยื่อบริเวณเพอริไซเคิล (Pericycle) เปลี่ยนสภาพมาเป็นคอร์กแคมเบียม (Cork cambium) แล้ว มีการแบ่งเซลล์ออกไปสองทิศทาง คือแบ่งเข้าด้านในสร้างเนื้อเยื่อพาเรงคิมา เรียกชั้นนี้ว่า เฟลโลเดิร์ม (Phelloderm) แบ่งออกด้านนอกสร้างเนื้อเยื่อคอร์กทดแทนเนื้อเยื่อผิวเดิมคือเอพิเดอร์มิส เรียกชั้นที่มีเนื้อเยื่อคอร์กนี้ว่า เฟลเลม (Phellem) ส่วนชั้นของเนื้อเยื่อคอร์กแคมเบียม (Cork cambium) เรียกชั้นนี้ว่า เฟลโลเจน(Phellogen)

       เรียกเนื้อเยื่อ ในชั้น เฟลโลเดิร์ม (Phelloderm) เฟลเลม (Phellem) และ เฟลโลเจน(Phellogen) ว่า เพริเดิร์ม (Periderm)

 

        

ภาพ รากที่เจริญขั้นทุติยภูมิและบริเวณเนื้อเยื่อเพอริเดิร์มของราก
https://en.ppt-online.org/406449

 

       ในรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวไม่พบการเจริญเติบโตระยะทุติยภูมิ

ภาพ เปรียบเทียบรากที่มีการเจริญขั้นปฐมภูมิ กับรากที่มีการเจริญในระยะทุติยภูมิ


สรุปการเจริญทุติยภูมิของราก

     1. เกิดจากการเนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง ชนิด วาสคิวลาร์แคมเบียม กับ คอร์กแคมเบียม
     2. โดยวาสคิวลาร์แคมเบียมเกิดจากการเปลี่ยนสภาพมาจากเนื้อเยื่อระหว่างไซเล็มขั้นที่ 1 กับโฟลเอ็มขั้นที่ 1
     3. วาสคิวลาร์แคมเบียมแบ่งเข้าข้างในเจริญไปเป็นไซเล็มขั้นที่ 2 แบ่งตัวออกด้านนอก เจริญไปเป็นโฟลเอ็มขั้นที่ 2
     4. เนื้อเยื่อส่วนเพอริไซเคิลสามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นเนื้อเยื่อเจริญคอร์กแคมเบียม และ ทำหน้าที่สร้างเนื้อเยื่อ เพอริเดิร์ม(Periderm) ได้แก่ เฟลโลเดิร์ม (Phelloderm) (พาเรงคิมา) ,เฟลเลม (Phellem)(คอร์ก) และ เฟลโลเจน (Phellogen)(คอร์กแคมเบียม) ทดแทนเนื้อเยื่อผิวเดิม คือเนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิส

root

ภาพ รากที่มีการเจริญในระยะทุติยภูมิ (Secondary growth)

ภาพ รากที่มีการเจริญในระยะทุติยภูมิ (Secondary growth)


จัดทำโดย
ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ