การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

     :: ความหลากหลายทางชีวภาพคือ

     :: แบบฝึกที่ 1.1

     :: การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต

     :: ชื่อของสิ่งมีชีวิต

     :: การระบุชนิดของสิ่งมีชีวิต

     :: แบบฝึกที่ 1.2

      :: กำเนิดของชีวิต

     :: กำเนิดเซลล์โพรคาริโอต,เซลล์ยูคาริโอต

     :: แบบฝึกที่ 1.3

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรโพรทิสตา

อาณาจักรพืช

อาณาจักรฟังไจ

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

Download เอกสารเผยแพร่

กลับหน้าหลัก

----------------------๐๐๐--------------------
๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

 

 

การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต


           ปัจจุบันนี้คาดว่ามีสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ที่สามารถจำแนกชนิดได้อยู่ในโลกนี้ถึง 1.4 ล้านชนิด และคาดว่าจะมีจำนวนสิ่งมีชีวิตอีกประมาณ 4 - 30 ล้านชนิดที่ยังไม่ได้รับการค้นพบและจัดจำแนก การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตจะอาศัยลักษณะต่างๆเป็นหลักโดยเปรียบเทียบความเหมือนหรือแตกต่าง ซึ่งความเหมือนของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการที่สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นผ่านขบวนการทางวิวัฒนาการที่เหมือนกัน ดังนั้นการจัดหมวดหมู่จึงเป็นการบอกว่าสิ่งมีชีวิตแต่ละกลุ่มมีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตอีกกลุ่มหนึ่งหรือไม่ ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่นำมาใช้ในการจัดหมวดหมู่ เช่น ลักษณะทางสัณฐานวิทยา (morphological characteristics) นอกจากนี้ยังอาจใช้ลักษณะทางกายวิภาค (anatomy) และสรีรวิทยา (physiology) มาใช้ในการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ได้
          

          การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ไม่ใช่เพียงเป็นการบอกชื่อชนิดของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น แต่จะต้องสามารถบ่งบอกถึงลำดับของสิ่งมีชีวิตและตำแหน่งในการเกิดขึ้นของชนิดในขบวนการวิวัฒนาการได้ด้วย การศึกษาชนิด ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและความสัมพันธ์ในเชิงวิวัฒนาการระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ เรียกว่า อนุกรมวิธาน taxonomy หรืออาจเรียกว่า Systematics แต่นักชีววิทยาบางส่วนอาจจะแยกทั้งสองศาสตร์นี้ออกจากกัน โดยถือว่า Taxonomy เป็นการศึกษาเพื่อให้คำอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนั้นๆ (description of species) ส่วน systematics เป็นการศึกษาเพื่อจัดกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการมาเหมือนกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งสามารถใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์ของชาติวงศ์วานและนำมาจัดเป็นประวัติชาติพันธุ์ (phylogeny) ของสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่างๆ ได้
          

          อนุกรมวิธาน (Taxonomy) จะทำการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต (Classification) โดยการจัดลำดับหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตเริ่มจัด เป็นกลุ่มใหญ่ก่อน  แล้วจึงแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มย่อย ๆอีกหลายระดับ  โดยพิจารณาจาก กลุ่มใหญ่สุดของสิ่งมีชีวิต คือ อาณาจักร(Kingdom)  กลุ่มย่อยรองลงมา สำหรับสัตว์เรียกไฟลัม (Phylum)  สำหรับพืชในอดีตเรียก ดิวิชัน (Division) ปัจจุบันใช้ไฟลัมเช่นเดียวกับสัตว์ ในดิวิชันหรือไฟลัมหนึ่ง ๆ  แยกออกเป็นคลาส หลายคลาส (Class)  หรือชั้น ในแต่ละคลาสแยกออกเป็นหลายออร์เดอร์ (Order) หรืออันดับแต่ละ ออร์เดอร์แยกออกเป็นหลายแฟมิลี (Family) หรือวงศ์  ในแต่ละแฟมิลียังแยกออกเป็นจีนัส (Genus) หรือสกุล  แต่ละจีนัสแบ่งย่อยออกเป็นหลายสปีชีส์ (species) หรือชนิด
                อาณาจักร (Kingdom)
                       ดิวิชัน (Division) หรือ ไฟลัม (Phylum)
                           คลาสหรือชั้น (Class)
                               ออร์เดอร์หรือ อันดับ (Order)
                                    แฟมิลี่หรือวงศ์ (Family)
                                           จีนัสหรือสกุล (Genus)
                                                  สปีชีส์หรือชนิด (species)

          ในระหว่างกลุ่ม  อาจมีกลุ่มย่อยอีก  เช่น Sub  Kingdom, Sub  division เป็นต้น  พืชแต่ละชนิด อาจมีลักษณะต่างกันเล็กน้อย เรียกว่า พันธุ์    สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในสปีชีส์ เดียวกันต้องมีความสัมพันธ์ ใกล้ชิดกันทางบรรพบุรุษสามารถสืบพันธุ์กันได้ ลูกที่ได้จะต้องไม่เป็นหมัน 

ตัวอย่างการจะเรียกมนุษย์สายพันธุ์ปัจจุบันโดยใช้หลักอนุกรมวิธาน จะเรียกได้ดังนี้
     Kingdom                Animalia
     Phylum                   Chordata
     Subphylum              Vertebrate
     Class                      Mammalia
     Subclass                Theria
     Order                     Primates
     Family                   Hominidae
     Genus                    Homo
     Species                  Homo sapiens

 

 

 

 

 

 

 

 

จัดทำโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ