การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

     :: ความหลากหลายทางชีวภาพคือ

     :: แบบฝึกที่ 1.1

     :: การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต

     :: ชื่อของสิ่งมีชีวิต

     :: การระบุชนิดของสิ่งมีชีวิต

     :: แบบฝึกที่ 1.2

      :: กำเนิดของชีวิต

     :: กำเนิดเซลล์โพรคาริโอต,เซลล์ยูคาริโอต

     :: แบบฝึกที่ 1.3

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรโพรทิสตา

อาณาจักรพืช

อาณาจักรฟังไจ

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

Download เอกสารเผยแพร่

กลับหน้าหลัก

----------------------๐๐๐--------------------
๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

 

 

กำเนิดของชีวิต

          

          สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาได้อย่างไรไม่มีนักวิทยาศาสตร์ท่านใดสามารถพิสูจน์ ได้อย่างชัดเจน มีเพียงสมมติฐานเกี่ยวกับการกำเนิดของสิ่งมีชีวิตเท่านั้นซึ่งนักวิทยาศาสตร์ในอดีตหลายท่านตั้งสมมติฐานเพื่ออธิบายถึง กำเนิดของสิ่งมีชีวิตชนิดแรกบนโลก

          สิ่งมีชีวิตมีกำเนิดมาบนโลกนี้เมื่อไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นความอยากรู้ของมนุษย์มานานแล้ว ในสมัยโบราณ มีความเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตมีกำเนิดมาจากพระเจ้าสร้างขึ้น บ้างก็เชื่อว่า ชีวิตเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ แล้วเปลี่ยนแปลงมาเป็นสิ่งมีชีวิตตามทฤษฎีการเกิดเองโดยธรรมชาติ (Spontaneous theory) ซึ่งมีนักปราชญ์สมัยก่อนๆ สนับสนุนแนวคิดนี้ เช่น ทาเลส (Thales) อนาซิแมนเดอร์ (Anaximader) หรือ Aristotle เป็นต้น

          ในยุคสมัยต่อมา ความรู้และวิทยากรต่าง ๆ เจริญมากขึ้น ความคิดเห็นเกี่ยวกับกำเนิดของสิ่งมีชีวิตเริ่มเปลี่ยนแปลงไปและขัดแย้งกับความคิดเดิมอยู่บ้างเช่น ฟรานเซลโก เรดิ (Francisco Redi) หลุย ปลาสเตอร์ (Louise Pasteur) ได้ทดลองโดยออกแบบและสร้างเครื่องมือขึ้นมาและได้ข้อสรุปว่าสิ่งมีชีวิตเกิดมาจากสิ่งมีชีวิตเสมอ แต่ก็ยังไม่ได้คำตอบแน่ชัดว่า สิ่งมีชีวิตเริ่มแรกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

          ความคิดในยุคสมัยปัจจุบัน วิทยาศาสตร์ได้เจริญก้าวหน้ามากขึ้น โดยเฉพาะความรู้ทางด้านชีวเคมีและอินทรีย์เคมี แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดของสิ่งมีชีวิตจึงเปลี่ยนไปจากเดิม และพยายามพิสูจน์ให้เห็นได้ชัดเจนว่าสิ่งมีชีวิตมีกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร เช่น

          ฮัลเดน (J.B.S. Haldane) 1924, มูทเนอร์ (R. Bentner) และ โอปาริน (A.I. oparin) บุคคลทั้งสามได้กล่าวทำนองเดียวกันว่า สิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นด้วยสารอินทรีย์ซึ่งต้องมีธาตุคาร์บอน ,ไนโตรเจน, ไฮโดรเจน และออกซิเจนประกอบอยู่ ทำให้เชื่อว่า โลกในสมัยแรกระยะหนึ่งนั้นมีภาวะเหมาะสมที่ทำให้ธาตุทั้ง 4 ชนิดมาประกอบกันได้แล้วกลายเป็นสารประกอบส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ต่อมาฮาโรล ซี อูเรย์ (Harold C. Urey) และ สแทนสีย์ แอลมิลเลอร์ (Stanley Lo Miller) 1930 และ 1953 ได้พิสูจน์และทดลองให้เห็นว่าสารอินทรีย์เกิดจาก
สารอนินทรีย์ โดยเอาไอน้ำแอมโมเนีย มีเทนและไฮโดรเจน มารวมกันโดยใช้กระแสไฟฟ้าช่วยทำให้เกิดเป็นสารอินทรีย์ประเภทโปรตีนขึ้น

         ค.ศ.1961 เมลวิน เคลวิน (Mellrin Calvin) ได้ทดลองคล้ายกับสแทนลีย์มิลเลอร์โดยผ่านรังสีแกมมาเข้าไป ปรากฎว่าได้สารประกอบหลายชนิดที่พบในสิ่งมีชีวิต จึงลงความเห็นว่าอินทรีย์สารรวมถึงสิ่งมีชีวิตอาจเกิดจาก อนินทรีย์สารได้

          แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการทางเคมี (chemical evolution) เมื่อพื้นผิวโลกเริ่มเย็นลง การรวมกลุ่มของกลุ่มก๊าซและสารต่าง ๆ รอบๆ ผิวโลก ซึ่งประกอบไปด้วยออกซิเจน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน คาร์บอนและธาตุหนักอื่น ๆ เช่น เหล็ก นิเกิล เงิน ซิลิกอน และอลูมิเนียมเป็นต้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการวิวัฒนาการทางเคมีของโลก เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ใช้เวลานับล้านปี สรุปเป็น 4 ระยะดังนี้
          ระยะที่ 1 การเกิดน้ำ แอมโมเนีย และมีเทน จากการรวมกันของสารต่างๆ คือ ออกซิเจน ไฮโดรเจน ไนโตรเจนและคาร์บอน
          ระยะที่ 2 การเกิดน้ำตาล กลีเซอรีน กรดไขมัน กรดอมิโน ไพริมิดีนและเพียวริน
          ระยะที่ 3 การเกิดแป้ง โปรตีน ลิปิดและกรดนิวคลีอิค
          ระยะที่ 4 การเกิดนิวคลีโอโปรตีนจากพื้นฐานการเกิดสารประกอบดังกล่าว ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตจึงทำให้วิวัฒนาการทางชีวภาพถือกำเนิดเป็นสิ่งมีชีวิตขึ้น
          ระยะที่ 5 การเกิดเซลล์ระยะเริ่มแรก และบรรพบุรุษของพืชและสัตว์ ซึ่งมีสมมุติฐานที่อธิบายว่าอินทรีย์สารต่าง ๆ ซึ่งอยู่อย่างอุดมทั้งในทะเลและมหาสมุทรจะมาจับกลุ่มกัน ซึ่ง โอปาริน เรียกชื่อว่า โคอเซอเวต (CO acervate) ไดอะเซอร์เวตจะมีหน่วยโปรตีนเป็นองค์ประกอบ หน่วยโปรตีนที่ละลายน้ำจะทำให้เกิดประจุไฟฟ้า ซึ่งพร้อมที่จะดึงน้ำและอินทรีย์สารอื่น ๆ มารวมกัน ทำให้มีขนาดใหญ่และซับซ้อนขึ้นและแปรสภาพกลายเป็นชีวิตหน่วยแรกขึ้น ซึ่งต่อมาเรียกว่า เซลล์ (Cell)
          ระยะที่ 6 เกิดสิ่งมีชีวิตที่เป็นบรรพบุรุษของพืชและสัตว์
เมื่อสิ่งมีชีวิตเริ่มเพิ่มปริมาณมากขึ้น ทำให้ต้องกรอาหารและเกลือแร่มากขึ้น จนอาหารและเกลือแร่ที่มีอยู่เดิมอย่างอุดมสมบูรณ์ ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เซลล์ที่ขาดอาหารก็ตายลง ที่เหลือเป็นเซลล์ที่มีความสามารถพิเศษในการปรับตัว (adapt) และนำสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต การปรับตัวมีวิธีการต่างๆ กัน อันเป็นสาเหตุให้วิถีการดำรงชีวิตแตกต่างกัน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตมาจนถึงปัจจุบัน
         

          ถึงแม้ว่าสารอินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตจะเกิดจากวิวัฒนาการของสารเคมี แต่ก็ยังมีข้อสงสัยว่าสารอินทรีย์เหล่านี้ประกอบขึ้นเป็นเซลล์ได้อย่างไร
          ต่อมาซิดนีย์ ฟอกซ์ (Sidney Fox) นักชีวเคมีชาวอเมริกันและคณะ ได้แสดงให้เห็นว่าเซลล์เริ่มแรกเกิดจากกรดอะมิโนได้รับความร้อนและมีการรวมกลุ่มกัน ซึ่งมีสมบัติหลายประการที่คล้ายกับเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เช่น มีการเจริญเติบโต สามารถเพิ่มจำนวนโดยการแตกหน่อและมีกระบวนการเมแทบอลิซึมเกิดขึ้น

 

 

 

 

 

จัดทำโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ