คำชี้แจงตอนที่ 1 ให้นักเรียนสืบค้นชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่ระบุให้ต่อไปนี้ เขียนให้ถูกต้อง
พร้อมทั้งแยกส่วนประกอบทั้ง 3 ส่วนของชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
จีนัส |
สปีชีส์ |
ผู้ตั้งชื่อ |
กระเจี๊ยบแดง |
|
|
|
|
ฝรั่ง |
|
|
|
|
ขมิ้น |
|
|
|
|
กระเทียม |
|
|
|
|
ตะขบฝรั่ง |
. |
|
|
|
หางนกยูงไทย |
|
|
|
|
มะพร้าว |
|
|
|
|
มะขาม |
|
|
|
|
คำชี้แจงตอนที่ 2
1.ให้นักเรียนศึกษาตัวอย่างการสร้างไดโคโตมัสคีย์ในการจำแนกแมลงต่อไปนี้
2.ให้ลงมือสร้างไดโคโตมัสคีย์ของสิ่งมีชีวิตที่กำหนดให้
 |
 |
แมงปอ |
แมลงทับ |
 |
 |
ผีเสื้อ |
ด้วง |
 |
 |
แมลงเต่าทอง |
จิ้งหรีด |
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาลักษณะของแมลงแต่ละชนิด
แมลงปอ
คือ แมลงที่มีตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ ตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่บนบกมีปีกบินได้ แมลงปอมีการเจริญเติบโตแบบเป็นขั้นตอนประเภทไม่สมบูรณ์แบบ คือ มีระยะไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ไม่มีระยะดักแด้ โดยระยะไข่และตัวอ่อนมีชีวิตอยู่ในน้ำ ตัวอ่อนที่อยู่ในน้ำมีรูปร่างแตกต่างจากตัวเต็มวัยมาก เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะลอกคราบครั้งสุดท้าย กลายเป็นตัวเต็มวัยที่มีปีกและจะใช้ชีวิตบนบกได้ต่อไป
อ้างอิงจาก
วิกิพีเดีย,แมลงปอ,กรกฎาคม 2558,จาก https://th.wikipedia.org/wiki
แมลงทับ
เป็นแมลงในอันดับแมลงปีกแข็ง (Coleoptera) แมลงทับมีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวยาวโค้งนูน ส่วนที่เป็นปีกแข็งมีความแข็งมากหัวมีขนาดเล็กซ่อนอยู่ใต้อกปล้องแรกซึ่งโค้งมนเรียวไปทางหัวเชื่อมกับอกปล้องกลางซึ่งกว้างกว่าส่วนอื่น ๆ ท้องมนเรียวไปทางปลายหาง ปีกแข็งหุ้มส่วนท้องจนหมด มีหนวดที่เป็นแบบใบไม้ มีลักษณะเด่น คือ มีสีสันที่สวยงามมาก หลายชนิด หลายสกุลมีสีเงางามแวววาวราวกับ อัญมณี หลายชนิดเป็นสีที่หลากหลาย ทั้ง น้ำเงิน, แดง, ดำ และเหลือง จึงทำให้แมลงทับถูกมนุษย์จับนำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ มานานแล้วในหลายชนชาติ
แมลงทับเมื่อขยายพันธุ์จะเจาะเข้าไปวางไข่ในต้นไม้หรือวางไข่ไว้ในดินใกล้รากของไม้ที่ตัวหนอนจะกินเป็นอาหาร จึงนับเป็นแมลงศัตรูพืชอีกจำพวกหนึ่ง ซึ่งแมลงทับใช้เวลาในการเป็นไข่-ตัวหนอน-ดักแด้ราว 1 ปี เหมือนเช่นแมงคีมหรือด้วงกว่าง อันเป็นแมลงปีกแข็งแต่ต่างวงศ์กันแมลงทับนับเป็นแมลงปีกแข็งที่บินได้เร็วและสูงมาก และเมื่อถูกรบกวนจะมีพฤติกรรมแกล้งตาย โดยจะอยู่เฉย ๆ หรือหล่นจากต้นไม้ที่เกาะอยู่เพื่อลวงศัตรูให้เข้าใจผิดว่าตายแล้ว
อ้างอิงจาก
วิกิพีเดีย,แมลงทับ,กรกฎาคม 2558,จาก https://th.wikipedia.org/wiki
ผีเสื้อ
มีปีกเป็นแผ่นบางสองคู่ ลำตัว ปีก และขาปกคลุมด้วยเกล็ดขนาดเล็กมากคล้ายฝุ่น เมื่อมองด้วยตาเปล่า เกล็ดเหล่านี้ทำให้เกิดสีต่าง ๆ กัน ปากเป็นงวงยาวม้วนเข้าอยู่ใต้หัวได้ มีทั้งชนิดหากินในเวลากลางวัน เรียก ผีเสื้อกลางวัน, และชนิดหากินในเวลากลางคืน เรียก ผีเสื้อกลางคืน,
มีวงชีวิตเริ่มแรกตั้งแต่ระยะไข่ ระยะหนอน ระยะดักแด้ ตราบจนระยะการเปลี่ยนสัณฐานเข้าสู่ระยะการโตเต็มวัยที่มีปีกหลากสีต้องตาผู้คน ในทางกีฏวิทยาการจัดจำแนกแมลงกลุ่มนี้จะใช้เส้นปีกในการจัดจำแนก
อ้างอิงจาก
วิกิพีเดีย,ผีเสื้อ,กรกฎาคม 2558,จาก https://th.wikipedia.org/wiki
ด้วง
ด้วง หรือ แมลงปีกแข็งนั้น มีลักษณะเด่นโดยรวม คือ ในวัยเต็มตัวจะมีปีก 2 คู่ โดยปีกคู่หน้าเป็นปีกที่มีความแข็งเท่ากันหรือเกือบเท่ากันตลอดทั้งแผ่น ส่วนปีกคู่หลังเป็นแผ่นปีกใหญ่ค่อนข้างโปร่งแสง เมื่อเวลาเกาะอยู่ปีกคู่หลังจะพับซ้อนกันอย่างมีระเบียบและซ่อนอยู่ภายใต้ปีกคู่หน้าอย่างมิดชิด และเมื่อต้องการบิน ปีกคู่หลังนี้จะกางออก โดยการเปิดกางออกของปีกคู่หน้าขึ้นก่อนที่จะเหยียดกางปีกคู่หลังนี้ออกมาบินอย่างรวดเร็ว ปีกคู่หน้าจึงทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันตัวและปีกคู่หลัง ในขณะที่บินปีกคู่หน้านี้จะไม่ช่วยในการบินแต่จะช่วยในการทรงตัว
ส่วนหัว มีตารวม 1 คู่ มีส่วนน้อยเท่านั้นที่มีตาเดี่ยว 1-2 ตาด้วย มีหนวด ส่วนของปากประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ แต่ส่วนที่แข็งและมีพละกำลังมากที่สุด คือ กรามปาก นอกจากนี้แล้วยังมีส่วนของริมฝีปากบน, ริมฝีปากล่างช่วยในการส่งผ่านอาหารเข้าปาก
ส่วนอก ส่วนอกของด้วงสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ปล้อง คือ อกปล้องแรก ซึ่งมีขนาดใหญ่อยู่ติดกับส่วนหัว เป็นส่วนอกปล้องเดียวที่สามารถมองเห็นได้จากด้านบน ซึ่งอกส่วนนี้อาจดูคล้ายส่วนหัวมาก แต่หากสังเกตให้ดีจะเห็นรอยต่อของส่วนหัวกับอกปล้องแรกนี้แยกจากกันชัดเจน, อกปล้องสอง และป้องสาม มักถูกปีกแข็งปิดคลุมด้านบนไว้ ส่วนของอกปล้องทั้ง 3 มีขาติดอยู่กับปล้องละ 1 คู่ อกปล้องกลาง หรืออกปล้องที่สอง มีปีกแข็งหรือปีกคู่หน้าติดอยู่
ส่วนท้อง โดยปกติแล้วจะมี 7 ปล้อง แต่บางชนิดก็มี 8 ปล้อง ปล้องท้องแต่ละปล้องมีแผ่นแข็งแต่ละแผ่นคลุมไว้ทั้งด้านบน และด้านล่าง ส่วนของท้องมักถูกปีกแข็งคู่หน้าคลุมไว้จนมิด แต่บางครั้งก็มีส่วนปลายสุดโผล่ยื่นออกมา
อ้างอิงจาก
วิกิพีเดีย,ผีเสื้อ,กรกฎาคม 2558,จาก https://th.wikipedia.org/wiki
แมลงเต่าทอง
แมลงเต่าทองมีช่วงการเจริญเติบโตครบทั้ง 4 ระยะ คือ ระยะตัวเต็มวัย ระยะไข่ ระยะตัวอ่อน และระยะดักแด้ ตัวเต็มวัยหลังจากฟักออกจากดักแด้จะเป็นแมลงปีกแข็ง ลำตัวยาว 3-6 มิลลิเมตร ลำตัวมีลักษณะมันวาว มีหลายสีตามชนิด อาทิ สีน้ำตาลแดง สีแดง สีเหลืองปนน้ำตาลแดง และสีเหลือง เป็นต้นส่วนหัว และอกมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับส่วนท้อง ปีกแต่ละข้างมีลายหยักขวาง 2 เส้น โดยส่วนปีกอาจมีได้หลายสี แต่ทุกชนิดจะมีจุดสีดำแต้มติดบนส่วนปีก จุดนี้อาจมี 4 จุด หรือมากกว่า และมักพบจุดแต้มสีดำที่แต้มเชื่อมกันบริเวณกึ่งกลางโคนปีกที่เชื่อมติดกับส่วนอก บางชนิดอาจมีหนวด แต่บางชนิดไม่มีหนวด อาจมีขนปกคลุม และอาจไม่มีขนปกคลุมขามี 6 ขา สีดำ ขาคู่แรกอยู่ที่ส่วนอก ส่วนขาอีก 2 คู่ อยู่ที่ตอนต้นติดกับส่วนอก 1 คู่ และตอนกลางของส่วนท้อง 1 คู่ ขามีลักษณะเป็นปล้องต่อกัน 3 ปล้อง แบ่งเป็นโคนขา ขา และเท้าที่เป็นปล้องสุดท้าย มีระยะตัวเต็มวัยประมาณ 55-92 วัน มีวงจรชีวิตประมาณ 71-117 วัน
อ้างอิงจาก
ปสุสัตว์.คอม,แมลงเต่าทองและแมลงเต่าลาย,กรกฎาคม 2558,จาก http://pasusat.com/
จิ้งหรีด
จิ้งหรีด เป็นแมลงที่มีลำตัวขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ขาคู่หลังส่วนต้นมีขยายใหญ่ และแข็งแรง ใช้สำหรับกระโดด ขาคู่หน้ามีขนาดเล็กกว่าขาคู่หลังมาก ใช้สำหรับเดิน และเขี่ยอาหาร มีหนวดยาว 2 เส้น ขนาดเท่าเส้นผมคนเรา ความยาวหนวดประมาณ 3-5 ซม. และมากกว่าลำตัว หนวดมีหน้าที่รับความรู้สึก และรับกลิ่นอาหาร มีปากเป็นแบบกัดกิน ปีกขวาทับปีกซ้าย ปีกคู่หน้าปกคลุมด้วยฟิล์มบางๆการทำเสียงเสียงจิ้งหรีดเกิดจากการใช้ขอบปีกคู่หน้าถูเสียดสีกันจนทำให้เกิดเสียง เสียงที่ทำขึ้นใช้เพื่อการสื่อสาร และช่วยดึงดูดเพศตรงข้ามเพื่อหาคู่ผสมพันธุ์
อ้างอิงจาก
ปสุสัตว์.คอม,จิ้งหรีดและการเลี้ยงจิ้งหรีด,กรกฎาคม 2558,จาก http://pasusat.com/
ขั้นที่ 2 สร้างแผนผังพิจารณาความแตกต่างของแมลงออกเป็นรายคู่
ขั้นที่ 3 การนำเอาลักษณะที่แตกต่างตรงข้ามกันอย่างเด่นชัดมาเปรียบเทียบกันเป็นคู่ๆ จึงมีลักษณะเป็น 2 ใน1หัวข้อและมีหมายเลขกำกับ
1 ก) แมลงปีกแข็ง_________________________________________ดูข้อ 2 ( แมลงเต่าทอง , แมลงทับ , ด้วง)
ข) แมลงปีกอ่อน_________________________________________ดูข้อ 3 (ผีเสื้อ , จิ้งหรีด , แมลงปอ)
2 ก) ขนาดตัวยาวมากกว่า 1 cm_______________________________ดูข้อ 4 (แมลงทับ , ด้วง)
ข) ตัวขนาดเล็กยาวไม่เกิน 1 cm______________________________แมลงเต่าทอง
3 ก) ปากเป็นงวงยาวม้วนเข้า__________________________________ผีเสื้อ
ข) ปากแบบกัด___________________________________________ดูข้อ 5 (จิ้งหรีด , แมลงปอ)
4 ก) ปีกสีเขียวอมน้ำเงิน _____________________________________แมลงทับ
ข) ปีกมีสีน้ำตาลเข้ม_______________________________________ด้วง
5 ก) ปีกสามารถทำให้เกิดเสียงได้_______________________________จิ้งหรีด
ข) ปีกแผ่ออกและโปร่งแสง__________________________________แมลงปอ
ขั้นที่ 4 อธิบายลักษณะของแมลงแต่ละชนิดที่ได้จากการจัดจำแนก
แมลงเต่าทอง เป็นแมลงปีกแข็ง ลำตัวขนาดเล็กยาวไม่เกิน 1 เซนติเมตร
ผีเสื้อ เป็นแมลงปีกอ่อน ปากเป็นงวงม้วนเข้า
แมลงทับ เป็นแมลงปีกแข็ง ขนาดตัวยาวมากกว่า 1เซนติเมตร มีปีกสีเขียวอมน้ำเงินแวววาว
ด้วง เป็นแมลงปีกแข็ง ขนาดตัวยาวมากกว่า 1เซนติเมตร มีปีกสีน้ำตาลเข้ม
จิ้งหรีด เป็นแมลงปีกอ่อนปากแบบกัด มีปีกที่สามารถทำให้เกิดเสียงได้
แมลงปอ เป็นแมลงปีกอ่อน ปากแบบกัด มีปีกที่แผ่ออกและโปร่งแสง
2.ให้นักเรียนสร้างไดโคโตมัสคีย์ สิ่งมีชีวิตที่กำหนดให้ต่อไปนี้
 |
 |
ดอกราชพฤกษ์ |
ดอกกล้วยไม้แวนด้า |
 |
 |
ดอกซิมปอร์ |
ดอกลำดวน |
 |
 |
ดอกกล้วยไม้ราตรี |
ดอกบัว |
 |
 |
ดอกจำปา |
ดอกชบา |
 |
 |
ดอกพุดแก้ว |
ดอกประดู่ |
ขั้นที่ 1 สืบค้นลักษณะของดอกไม้แต่ละชนิด
ดอกราชพฤกษ์
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิงจาก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดอกกล้วยไม้แวนด้า
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิงจาก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดอกซิมปอร์
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิงจาก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดอกลำดวน
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิงจาก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดอกกล้วยไม้ราตรี
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิงจาก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดอกบัว
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิงจาก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดอกจำปา
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิงจาก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดอกชบา
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิงจาก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดอกพุดแก้ว
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิงจาก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดอกประดู่
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิงจาก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขั้นที่ 2 สร้างแผนผังพิจารณาความแตกต่างของดอกไม้แต่ละชนิดออกเป็นรายคู่

ขั้นที่ 3 การนำเอาลักษณะที่แตกต่างตรงข้ามกันอย่างเด่นชัดมาเปรียบเทียบกันเป็นคู่ๆ จึงมีลักษณะเป็น 2 ใน1หัวข้อและมีหมายเลขกำกับ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขั้นที่ 4 อธิบายลักษณะของดอกไม้แต่ละชนิดที่ได้จากการจัดจำแนก
ดอกราชพฤกษ์………………………………………………………………………………………………
ดอกกล้วยไม้แวนด้า………………………………………………………………………………………….
ดอกซิมปอร์………………………………………………………………………………………………….
ดอกลำดวน…………………………………………………………………………………………………..
ดอกกล้วยไม้ราตรี…………………………………………………………………………………………….
ดอกบัว………………………………………………………………………………………………………
ดอกจำปา…………………………………………………………………………………………………….
ดอกชบา…………………………………………………………………………………………………….
ดอกพุดแก้ว………………………………………………………………………………………………….
ดอกประดู่…………………………………………………………………………………………………….

จัดทำโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ