ชื่อของสิ่งมีชีวิต โดยปกติแล้วการเรียกชื่อของสิ่งมีชีวิต มีดังนี้ คือ
1. ชื่อพื้นเมือง (Local name) เรียกตามท้องถิ่น
2. ชื่อสามัญ (common name) คือ ชื่อที่เรียกกันทั่ว ๆ ไป อาจเรียกตามลักษณะรูปร่าง ถิ่นกำเนิดหรือสถานที่อยู่ก็ได้เช่น ปากกาทะเล หอยมุก เป็นต้น ซึ่งชื่อดังกล่าวอาจเรียกต่างกัน ในแต่ละที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้
3. ชื่อวิทยาศาสตร์ (scientific name) คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดา แห่งอนุกรมวิธาน เป็นคนกำหนดชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตโดยใช้ระบบทวินาม (Binomail nomenclature) ประกอบด้วยสองส่วนหลัก และ อีกหนึ่งส่วนรอง คือ ส่วนแรกเป็นส่วนของชื่อสกุล (generic name) ส่วนที่สองเป็นชื่อที่ระบุสปีชีส์ (Specific epithet) ทั้งสองส่วนต้องทำให้เป็นคำในภาษาลาตินเสมอ ชื่อจีนัสตัวแรกเขียนด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ ตัวแรกของสปีชีส์เป็นชื่อตัวพิมพ์เล็กธรรมดา ต้องเขียนให้ต่างจากอักษรอื่นการพิมพ์หรือเขียนชื่อวิทยาศาสตร์จะต้องขีดเส้นใต้ หรือ พิมพ์หรือเขียนเป็นตัวเอนไม่ต้องขีดเส้นใต้ ทั้ง 2 ชื่อไม่ติดกัน หรืออาจมีส่วนที่สาม ก็คือชื่อผู้ตั้งหรือผู้คนพบสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น เรียกระบบนี้ว่า การตั้งชื่อแบบทวินาม (binomial nomenclature)
ตัวอย่างเช่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วลันเตา คือ Pisum sativum L.
Genus คือ Pisum
Species คือ sativum
ผู้ตั้งชื่อ คือ L. ย่อมาจาก Linn. หรือ Carolus Linnaeus