banner leave
 
 

๐ โครงสร้างหน้าที่ของพืชดอก

    :: เนื้อเยื่อพืช
    :: เนื้อเยื่อเจริญ
    :: เนื้อเยื่อถาวร

อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช 

    :: โครงสร้างและหน้าที่ของราก
         >> โครงสร้างของราก    
         >> การเจริญขั้นที่สองของราก
         >> ประเภทของราก
    :: โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น
         >> โครงสร้างของลำต้น
         >>  ประเภทของลำต้น
         >> การเจริญขั้นที่สองของลำต้น  
    :: โครงสร้างและหน้าที่ของใบ
          >> โครงสร้างของใบ
          >> ใบเดี่ยวใบประกอบ
          >> โครงสร้างภาคตัดขวางของใบ
          >> ใบที่เปลี่ยนไปทำหน้าที่พิเศษ
การแลกเปลี่ยนก๊าซและการคายน้ำของพเลียงน้ำของพืช

๐ การลำเลียงสารอาหารของพืช

๐ การลำเลียงอาหารของพืช
    :: การเคลื่อนย้ายอาหารในพืช
    :: กระบวนการลำเลียงอาหาร

เฉลยคำถามท้ายบท

กลับหน้าหลัก

 

โครงสร้างในภาคตัดขวางของใบ

          ตามปกติใบไม้จะกางเพื่อรับแสงแดด ด้านของใบที่รับแสงแดด จะอยู่ด้านบนเรียกว่า หลังใบ (Dorsal side of leaf) และผิวด้านนี้เรียกว่า Dorsal surface (Upper surface) ส่วนด้านที่อยู่ด้านล่างไม่ได้รับแสงแดด เรียกว่าท้องใบ (Ventral side of leaf) และผิวด้านนี้ก็เรียกว่า Ventral surface (Lower surface)
          โดยด้านหลังใบมักมีสีเขียวเข้มกว่าด้านท้องใบ เพราะมีคลอโรฟิลล์มากกว่า แต่ด้านท้องใบเส้นใบจะนูนออกมาเห็นได้ชัดเจน ในขณะที่ด้านหลังใบเส้นใบจะราบไปกับตัวใบ หรือบางทีก็เป็นร่องบุ๋ม

leaf
 

 

โครงสร้างภาคตัดขวางของใบแท้ ประกอบด้วย 3 ส่วนด้วยกัน คือ

leaf cross
ภาพโครงสร้างภาคตัดขวางของใบ

 

2.1 ชั้นเอพิเดอร์มิส (Epidermis) เป็นชั้นนอกสุด ประกอบด้วยเซลล์เอพิเดอร์มิส และ เซลล์เอพิเดอร์มิสที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่พิเศษ เช่น เซลล์คุม หรือ ขน (Trichrom) มี 2 ด้านคือ เอพิเดอร์มิสด้านบน(Upper epidermis) กับ เอพิเดอร์มิสด้านล่าง (Lower epidermis)โดยทั่วไปเนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิสจะไม่มีสีเขียวของคลอโรฟิลล์ ยกเว้นเอพิเดอร์มิสที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์คุม
           ๐ เอพิเดอร์มิสด้านบน(Upper epidermis) เป็นเนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิสที่เรียงตัวชั้นเดียวไมมีช่องว่าง พบด้านผิวใบที่หงายขึ้นเพื่อรับแสงอาทิตย์ ซึ่งด้านนี้จะมีสีเขียวเข้มกว่าด้านท้องใบ และมักจะมีความมันวาวกว่าด้านท้องใบเนื่องจากมีคิวตินสะสมค่อนข้างหนา ใบไม้ที่อยู่บนบกทั่วไปด้านนี้จะไม่พบเซลล์คุมหรือ ไม่พบปากใบ ซึ่งเป็นกลไกของพืช ที่ป้องกันไม่ให้พืชสูญเสียน้ำมากขึ้น ส่วนพืชที่ใบอยู่ปริ่มน้ำ เช่น บัว จะมีปากใบอยู่ด้านบนของใบเพื่อช่วยให้สามารถระบายน้ำได้ง่ายและเร็วขึ้น เพราะหากพืชกลุ่มนี้ระบายน้ำออกช้าอาจทำให้เกิดการเน่าเปื่อยของต้นและใบได้ ส่วนพืชที่ลำต้นและใบอยู่ใต้น้ำตลอดเวลาใบจะไม่พบปากใบ หรือเซลล์คุมอยู่เลยทั้งสองด้าน เช่น ใบของสาหร่ายหางกระรอก
          ๐ เอพิเดอร์มิสด้านล่าง (Lower epidermis) เป็นเนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิสที่อยู่ด้านท้องใบ
    

2.2 ชั้นมีโซฟีลล์ (Mesophyll) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่อยู่ระหว่างชั้นเอพิเดอร์มิสด้านบนและ ชั้นเอพิเดอร์มิสด้านล่าง แบ่งออกเป็น 2 ชั้นย่อยคือ แพลิเซดมีโซฟีลล์(Palisade mesophyll) และ สปองจีมีโซฟีลล์ (Spongy mesophyll)
          ๐ แพลิเซดมีโซฟีลล์(Palisade mesophyll) มักอยู่ติดกับเอพิเดอร์มิสด้านบน ประกอบด้วยเซลล์พาเรงคิมา รูปร่างยาว เรียงตัวเป็นแถวเดียวตั้งฉากกับผิวใบ โดยผนังเซลล์ด้านบนติดกับเอพิเดอร์มิสด้านบน ผนังเซลล์ด้านล่างติดกับเซลล์ด้านล่าง ผนังเซลล์ด้านข้างจะไม่สัมผัสกัน และมีระยะห่างกันค่อนข้างสม่ำเสมอ แพลิเสดมีโซฟิลล์อาจมี 1 แถว หรือมากกว่า ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสต์หนาแน่นมาก

        ๐ สปองจีมีโซฟีลล์ (Spongy mesophyll)อยู่ถัดจากแพลิเสดมีโซฟิลล์ลงมาถึงั้นเอพิเดอร์มิสด้านล่างประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่างไม่แน่นอน ช่องว่างระหว่างเซลล์กว้างซึ่งในพืชบางชนิดมีการเรียงตัวอย่างหลวมๆ จึงทำให้ช่องว่างระหว่างเซลล์ กว้างมากจนเห็นเป็นช่องอากาศ
ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสต์หนาแน่นเช่นกันแต่น้อยกว่าแพลิเซดมีโซฟิลล์
   

2.3 มัดท่อลำเลียง (Vascular bundle) มัดท่อลำเลียงของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและ พืชใบเลี้ยงงคู่มีหลายกลุ่ม เรียงเป็นแนวระนาบเดียวตามแนวแผ่นใบ มีขนาดแตกต่างกัน ขนาดใหญ่อยู่บริเวณเส้นกลางใบ ขนาดเล็กลดหลั่นกันไปอยู่บริเวณเส้นใบ และเส้นใบย่อย ประกอบด้วยไซเล็ม และโฟลเอ็ม ในพืชบางชนิดที่เป็นพืใบเลี้ยงเดี่ยว จะพบบันเดิลชีท (Bundle sheeth cell) ล้อมรอบมัดท่อลำเลียง เช่น ข้าวโพด อ้อย ข้าว ข้าวฟ่าง การะเกด

 

 


จัดทำโดย
ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ