banner leave
 
 

๐ โครงสร้างหน้าที่ของพืชดอก

    :: เนื้อเยื่อพืช
    :: เนื้อเยื่อเจริญ
    :: เนื้อเยื่อถาวร

อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช 

    :: โครงสร้างและหน้าที่ของราก
         >> โครงสร้างของราก    
         >> การเจริญขั้นที่สองของราก
         >> ประเภทของราก
    :: โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น
         >> โครงสร้างของลำต้น
         >>  ประเภทของลำต้น
         >> การเจริญขั้นที่สองของลำต้น  
    :: โครงสร้างและหน้าที่ของใบ
          >> โครงสร้างของใบ
          >> ใบเดี่ยวใบประกอบ
          >> โครงสร้างภาคตัดขวางของใบ
          >> ใบที่เปลี่ยนไปทำหน้าที่พิเศษ
การแลกเปลี่ยนก๊าซและการคายน้ำของพเลียงน้ำของพืช

๐ การลำเลียงสารอาหารของพืช

๐ การลำเลียงอาหารของพืช
    :: การเคลื่อนย้ายอาหารในพืช
    :: กระบวนการลำเลียงอาหาร

เฉลยคำถามท้ายบท

กลับหน้าหลัก

 

ใบที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่พิเศษ (Modified leaf)

          1. มือเกาะ (leaf tendril) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นมือเกาะเพื่อพยุงลำต้นให้ไต่ขึ้นที่สูงได้ อาจเปลี่ยนแปลงมาจากใบหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของใบ เช่น มือเกาะของถั่วลันเตา มะระ ตำลึง

ภาพ มือเกาะของมะระ ภาพมือเกาะของตำลึง มือเกาะของถั่วลันเตา

2. หนาม (Leaf spine) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นหนาม เพื่อใช้เป็นเครื่องป้องกัน อันตรายต่างๆจากศัตรูหรือสัตว์ ที่จะมากิน และป้องกันการระเหยของน้ำ อาจเปลี่ยนแปลงมาจากใบหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของใบก็ได้ เช่นหนามของต้นเหงือกปลาหมอ เปลี่ยนแปลงมาจากขอบใบและหูใบ หนามของต้นกระบองเพชรและ เปลี่ยนแปลงมาจากใบทั้งใบ หนามของมะขามเทศเปลี่ยนแปลงมาจากหูใบ หนามของสับปะรด เปลี่ยนแปลงมาจากขอบใบ

ภาพ ต้นเหงือกปลาหมอ
ภาพ ต้นกระบองเพชร
ภาพ ต้นสับปะรด

3. ใบสะสมอาหาร (Storage leaf) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็น อวัยวะสำหรับเก็บหรือสะสมอาหารหรือน้ำ ใบประเภทนี้จะมีลักษณะอวบอ้วน เนื่องจากเก็บอาหาร และอมน้ำไว้มาก เช่น ใบเลี้ยงของพืชต่างๆ ใบว่านหางจระเข้ กลีบหัวหอม และ กลีบของกระเทียม

ภาพ ว่านหางจระเข้
ภาพ หัวหอม
ภาพ กระเทียม

4. ใบเกล็ด (Scale leaf) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นเกล็ดเล็กๆ ใบเกล็ดมักไม่มี คลอโรฟิลล์ เช่น เช่นใบเกล็ดของขิง ข่า เผือก

ภาพ ใบเกล็ดของขิง
ภาพ ใบเกล็ดของข่า

5. ทุ่นลอย (Floating leaf ) พืชน้ำบางชนิด เช่นผักตบชวา สามารถลอยน้ำอยู่ได้ โดยอาศัยก้านใบอาศัยก้านใบพองโตออก ภายในมีเนื้ออยู่กันอย่างหลวมๆ และมีช่องว่างอากาศใหญ่ทำให้มีอากาศอยู่มาก จึงช่วยพยุงให้ลำต้นลอยน้ำอยู่ได

ภาพ ทุ่นลอยของผักตบชวา

6. ใบประดับ หรือใบดอก (Bract ) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงพิเศษเพื่อรองรับดอก โดยอยู่บริเวณก้านดอกส่วนมากมีสีเขียว แต่มีหลายชนิดที่มีสีอื่นๆ สวยงามคล้ายดอก เช่น เฟื่องฟ้า หน้าวัว คริสต์มาส

ภาพ ใบประดับของดอกเฟื่องฟ้า
ภาพ ใบประดับของดอกหน้าวัว
ภาพ ใบประดับของต้นคริสต์มาส (Poinsettia)

7. ใบสืบพันธุ์ เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงมาเพื่อสืบพันธุ์ เพื่อช่วยในการแพร่พันธุ์ เช่น ใบของต้นตายใบเป็น

ภาพ ใบสืบพันธุ์ของต้นตายใบเป็น

8. กับดักแมลง เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นกับดักแมลง หรือสัตว์เล็ก ภายในกับดักจะมีต่อมสร้างน้ำย่อยอาหารจำพวก โปรตีน เช่นต้นกาบหอยแคลง หยาดน้ำค้าง สาหร่ายข้าวเหนียว หม้อข้าวหม้อแกงลิง เป็นต้น

ภาพ ใบกำดักของสาหร่ายข้าวเหนียว
ภาพ ดอกของสาหร่ายข้าวเหนียว

 

ภาพ ต้นหยาดน้ำค้าง

 

ภาพ ใบำดักของต้นกาบหอยแคลง

 

ภาพ ต้นกาบหอยแคลง

 

 


จัดทำโดย
ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ