การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรโพรทิสตา

อาณาจักรพืช

อาณาจักรฟังไจ

อาณาจักรสัตว์

    :: ความหลากหลายของสัตว์

    :: สัตว์ที่ไม่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง

    :: สัตว์ที่มีเนื้อเยื่อ

           ไฟลัมไนดาเรีย

           ไฟลัมแพลทีเฮลมินทิส

           ไฟลัมมอลลัสคา

           ไฟลัมแอนเนลิดา

           ไฟลัมนีมาโทดา

          ไฟลัมอาร์โทรโพดา

          ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา

           ไฟลัมคอร์ดาตา

    :: แบบฝึกที่ 6.1

    :: แบบฝึกที่ 6.2

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

    :: กลุ่มที่โนโทคอร์ดไม่พัฒนาเป็นกระดูกสันหลัง

    :: กลุ่มที่มีกระดูกสันหลัง 

          ปลากระดูกอ่อน

           ปลากระดูกแข็ง

           คลาสแอมฟิเบีย

           คลาสเรปทิเลีย

           คลาสเอเวส

           คลาสแมมมาเลีย  

      :: แบบฝึกที่ 7.1

Download เอกสารเผยแพร่

กลับหน้าหลัก

----------------------๐๐๐--------------------
๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

 

 

คลาสออสติอิคไทอิส (Class Osteicthyes)

        คลาสออสติอิคไทอิส (Class Osteicthyes) เรียกสัตว์ในคลาสนี้ว่า ปลากระดูกแข็ง
เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังจำนวนชนิดมากที่สุด พบดำรงชีวิตทั้งในน้ำจืด และน้ำเค็ม มีโครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็ง ที่มีสารประกอบแคลเซียมฟอสเฟต ส่วนใหญ่ผิวหนังมีเกล็ดปกคลุม มีรยางค์หน้าและหลังเปลี่ยนไปเป็นครีบ มีครีบคู่ 2 คู่ คือ ครีบอกและครีบสะโพก หายใจโดยใช้เหงือกมีแผ่นปิดเหงือก (operculum) มีถุงลม (air bladder) ช่วยควบคุมการลอยตัวในน้ำ ส่วนใหญ่มีการปฏิสนธิภายนอกหลายชนิดเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นแหล่งอาหารของมนุษย์ แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 2 กลุ่มดังนี้

     1. แอกตินอพเทอริจิไอ (Actinopterygii)
     2. ซาร์คอพเทอริจิไอ (Sarcopterygii) ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มดังนี้ กลุ่มแอกตินิสต้า (Actinista) กลุ่มไรพิดิสเทีย กลุ่มย่อย ดิพนอย (Dipnoi)

          แอกตินอพเทอริจิไอ (Actinopterygii) มีลักษณะเฉพาะดังนี้ เป็นปลาที่มีก้านครีบลักษณะเป็นเส้นรัศมี (fin ray) มีครีบคู่ซึ่งเป็นกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งมีลักษณะเป็นชิ้นเล็กๆหลายชิ้นเรียก เรเดียล (radials)  เช่นครีบอก ครีบสะโพก และครีบก้น อาจมีครีบเดี่ยวอยู่ที่กลางหลัง มีกระดูกคลุมเหงือกเรียกว่า แผ่นปิดเหงือก (operculum) มีเหงือกที่พัฒนาดีใช้ในการหายใจ มีหางที่สมมาตรกัน มีเกล็ดแบบ กานอย (ganoid)  มักพบในปลาโบราณเช่น ปลาสเตอร์เจียน (Sturgeon) สำหรับเกล็ดแบบ ไซคลอย (cycloid) และเกล็ดแบบ              ทีนอย (ctenoid)  พบในกลุ่มปลาปัจจุบันเช่นกลุ่มปลา เทเรออสติไอ (Teleostei) ปากอยู่ปลายด้านหน้าและพบทั้งที่มีฟันหรือไม่มีฟัน มีกระเพาะลม (swim bladder) ช่วยในการลอยตัว หัวใจมี 2 ห้อง เลือดที่ผ่านหัวใจเป็นเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ อวัยวะเพศมักอยู่แยกกัน อาศัยอยู่ทั้งในน้ำจืด น้ำเค็มและน้ำกร่อย

 

ภาพที่ 4 แสดงครีบคู่ซึ่งเป็นกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็ง

 

ภาพที่ 5 แสดงกระดูกคลุมเหงือก เหงือก เกล็ดแบบ ganoid และหางที่สมมาตร
(ที่มา: http://www.sysp.ac.th/files/1403271111004763_14042614140852.pdf)

 

ภาพที่ 6 แสดงกระเพาะลม (swim bladder) และ หัวใจห้อง ventricle ของปลา
(ที่มา: http://www.sysp.ac.th/files/1403271111004763_14042614140852.pdf)

          ตัวอย่างของปลากลุ่มนี้ เช่น ปลาตะพัด (Malayan Bonytonque) , ปลาการ์ตูน (False Clown Anemonefish) , ปลาผีเสื้อ (Coral Fish) , ปลาปักเป้าหนามทุเรียน (Porcupine Fish) , ปลานกแก้ว (Blue-barred Parrotfish) , ปลาช่อน (Snake-headed Fish) ,ปลาทู (Short Bodied Mackerel) , ปลาหลังเขียว (Herring) , ปลากัด(Siamese Fighting Fish) , ปลาหมอเทศ (Java Tirapia) , ปลาสวาย (Striped Catfish) , ปลาพลวง (Soro Brook Carp) , ปลาบึก (Giant Catfish) ,ปลาก้างพระร่วง (Glass Sheath Fish) , ปลาทอง (Gold Fish) ,ปลาตะเพียนขาว (Common Silver Barb) และปลาม้าน้ำ (Seahorse)

 

          ซาร์คอพเทริจิไอ (Sarcopterygii)
           มีลักษณะเฉพาะดังนี้เป็นปลาที่มีครีบอกและครีบสะโพกประกอบด้วยกระดูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรียกว่ากระดูกเบซอล (basals bone) และมีกล้ามเนื้อบริเวณครีบจึงได้ชื่อว่า ปลาครีบเนื้อ หรือโลบฟินฟิช (Lobe fin fish) Sarcopterygii แบ่งย่อยได้เป็นดังนี้

          - Actinistia (แอกตินิสเทีย) ตัวอย่างของปลากลุ่มนี้คือปลา ซีลาแคนท์ (Coelacanth) เป็นปลาโบราณที่ยังมีชีวิตในปัจจุบันอาศัยอยู่ในทะเลลึกเคยจับได้แถบแอฟริกาและอินโดนีเซีย

ภาพที่ 7 แสดงปลา Coelacanth
http://www.geol.umd.edu/~jmerck/honr219d/notes/12.html

 

          - ไรพิดิสเทีย (Rhipidistia) กลุ่มย่อย ดิพนอย (Dipnoi) เป็นปลาที่หายใจด้วยปอด อาศัยใต้ท้องน้ำของแหล่งน้ำจืด มีรูจมูกภายใน (internal nostrils) มีรยางค์หน้าสามารถเดินได้ เมื่ออากาศแห้งแล้งจะฝังตัวในโคลนสร้างเมือกล้อมรอบตัว จากการศึกษาชีววิทยาโมเลกุลพบว่า Dipnoi เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการใกล้เคียงกับสัตว์สี่ขา (tetrapod) มากที่สุด ตัวอย่างของปลากลุ่มนี้เช่น ปลาปอดออสเตรเลีย (Australian Lungfish)  ปลาปอดแอฟริกา (African Lungfish) และปลาปอดอเมริกาใต้ (South American Lungfish)

ภาพที่ 8 แสดงปลาปอดออสเตรเลีย
http://www.fishwallpapers.com/wallpapers/australian-lungfish-at-the-bottom-pic.jpg

          ปลากระดูกแข็งส่วนใหญ่ ที่พบในปัจจุบันดำรงชีวิตในน้ำ โดยอาศัยแก๊สออกซิเจน ที่ละลายในน้ำหายใจ แต่มีปลากระดูกแข็ง 2 กลุ่ม คือปลาครีบเนื้อและปลาปอดที่สามารถหายใจจากอากาศได้ในช่วงเวลาสั้นๆ กลุ่มนี้เป็นหลักฐานที่สนับสนุนการเกิดวิวัฒนาการเพื่อมาดำรงชีวิตบนพื้นดิน โดยการพัฒนาถุงลมไปทำหน้าที่เป็นปอด และครีบอกมีวิวัฒนาการเป็นขาในสัตว์บกนั่นเอง

 

 

   

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ