การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรโพรทิสตา

อาณาจักรพืช

อาณาจักรฟังไจ

อาณาจักรสัตว์

    :: ความหลากหลายของสัตว์

    :: สัตว์ที่ไม่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง

    :: สัตว์ที่มีเนื้อเยื่อ

           ไฟลัมไนดาเรีย

           ไฟลัมแพลทีเฮลมินทิส

           ไฟลัมมอลลัสคา

           ไฟลัมแอนเนลิดา

           ไฟลัมนีมาโทดา

          ไฟลัมอาร์โทรโพดา

          ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา

           ไฟลัมคอร์ดาตา

    :: แบบฝึกที่ 6.1

    :: แบบฝึกที่ 6.2

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

    :: กลุ่มที่โนโทคอร์ดไม่พัฒนาเป็นกระดูกสันหลัง

    :: กลุ่มที่มีกระดูกสันหลัง 

          ปลากระดูกอ่อน

           ปลากระดูกแข็ง

           คลาสแอมฟิเบีย

           คลาสเรปทิเลีย

           คลาสเอเวส

           คลาสแมมมาเลีย  

     :: แบบฝึกที่ 7.1

Download เอกสารเผยแพร่

กลับหน้าหลัก

----------------------๐๐๐--------------------
๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

 

 

คลาสเรปทิเลีย (Class Reptilia)

             เรียกสัตว์ในคลาสนี้ว่า สัตว์เลื้อยคลาน (reptile)เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังกลุ่มแรกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริงสัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานกับสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในยุคไทรแอสซิก และมีการแพร่กระจายมากที่สุด ในยุคจูแรสซิกและ ครีเทเชียส จึงเรียกโลกในยุคนั้นว่ายุคของ สัตว์เลื้อยคลาน      สัตว์เลื้อยคลานในอดีตที่รู้จักกันดี คือ ไดโนเสาร์(dinosaurs) มีขนาดตั้งแต่ความยาวไม่เกิน 1 เมตร จนถึงยาวประมาณ 24 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 50,000 กิโลกรัม ซึ่งไดโนเสาร์ส่วนใหญ่ที่พบมีขนาดใหญ่มาก มีทั้ง 2 ขาและเดิน 4 ขา ดำรงชีวิตโดยการกินพืชหรือกินเนื้อสัตว์

          มีลักษณะเฉพาะคือ มีลำตัวยาว ผิวหนังเป็นเกล็ดเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำเมื่ออาศัยอยู่บนบก มีการป้องกันการสูญเสียน้ำโดยผิวหนังมี keratin (เคราติน) หนา ไข่มีเยื่อหุ้ม (extraembryonic membranes ) ประกอบด้วย amnion (แอมเนี่ยน) เป็นถุงน้ำคร่ำหุ้มตัวอ่อน yolk sac (โยกแซค) เป็นแหล่งอาหาร allantoic sac (อลันโตอิกแซก) เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนก๊าซและกำจัดของเสียไนโตรเจน chorion (โคเรี่ยน) เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนก๊าซ มีขา 2 คู่ หายใจด้วยปอด มีกระดูกสันหลังครบทุกส่วนตั้งแต่ คอ (cervical) อก (thoracic) เอว (lumbar) กระเบนเหน็บ (sacral) และกระดูกหาง (caudal) รวมทั้งกระดูกค้ำจุนรยางค์หน้า (pectoral girdle)และรยางค์หลัง (pelvic girdle) อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิของสภาพแวดล้อม

ภาพ แสดงกระดูกสันหลังของสัตว์เลื้อยคลาน มีครบทุกส่วน
(ที่มา: http://www.sysp.ac.th/files/1403271111004763_14042614140852.pdf)

สัตว์เลื้อยคลาน แบ่งย่อยได้ดังนี้
     กลุ่มที่กะโหลกไม่มีรูบริเวณขมับ กระดองมีลักษณะแข็ง กระดูกสันหลังเชื่อมติดกับกระดองหลัง (carapace)  ด้านท้องมีกระดูกไหปลาร้าเชื่อมติดกับกระดองท้อง (plastron) ปากมีจะงอยแหลมและไม่มีฟัน ตัวอย่างของสัตว์ในกลุ่มนี้เช่น เต่าตนุ (Green Turtle ) เป็นเต่าทะเล เต่าเหลือง (Yellow Tortois) เป็นเต่าบก ตะพาบม่านลาย (Giant Soft-shelled turtle) เป็นตะพาบอาศัยในน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในไทย

ภาพ (ซ้าย) แสดงกะโหลกไม่มีรูขมับ  (ขวา) แสดงกระดูกสันหลังเชื่อมติดกับกระดองหลัง
(ที่มา: http://www.sysp.ac.th/files/1403271111004763_14042614140852.pdf)

          กลุ่มที่สองกะโหลกมีรู 2 รูบริเวณขมับ แบ่งออกเป็นสองกลุ่มย่อย คือ กลุ่มที่มีเกล็ดที่ผิวหนังเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ มีหัวใจ 3 ห้องตัวอย่างของสัตว์ในกลุ่มนี้ ตุ๊กแกบ้าน (Gecko) , งูแมวเซา (Russell’s Viper), จิ้งเหลนบ้าน (Common Sun Skink), เหี้ย (Monitor Lizard)
และกลุ่มที่มีหัวใจ 4 ห้อง ลำตัวยาวและล่ำ ปากกว้าง ขากรรไกรแข็งแรง มีกระดูกเพดานกั้นระหว่างช่องอากาศหายใจและช่องปาก ตัวอย่างของสัตว์ในกลุ่มนี้ เช่น จระเข้น้ำเค็ม (Saltwater Crocodile) จระเข้น้ำจืด (Siamese Crocodile) และตะโขง (False Gavial)

ภาพ แสดงกะโหลกที่มี 2 รูบริเวณขมับ
(ที่มา: http://www.sysp.ac.th/files/1403271111004763_14042614140852.pdf)

 

ภาพ แสดงหัวใจสี่ห้องของสัตว์เลื้อยคลาน
(ที่มา: http://www.sysp.ac.th/files/1403271111004763_14042614140852.pdf)

     

 

   

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ