การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรโพรทิสตา

อาณาจักรพืช

อาณาจักรฟังไจ

อาณาจักรสัตว์

    :: ความหลากหลายของสัตว์

    :: สัตว์ที่ไม่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง

    :: สัตว์ที่มีเนื้อเยื่อ

           ไฟลัมไนดาเรีย

           ไฟลัมแพลทีเฮลมินทิส

           ไฟลัมมอลลัสคา

           ไฟลัมแอนเนลิดา

           ไฟลัมนีมาโทดา

          ไฟลัมอาร์โทรโพดา

          ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา

           ไฟลัมคอร์ดาตา

    :: แบบฝึกที่ 6.1

    :: แบบฝึกที่ 6.2

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

    :: กลุ่มที่โนโทคอร์ดไม่พัฒนาเป็นกระดูกสันหลัง

    :: กลุ่มที่มีกระดูกสันหลัง 

          ปลากระดูกอ่อน

           ปลากระดูกแข็ง

           คลาสแอมฟิเบีย

           คลาสเรปทิเลีย

           คลาสเอเวส

           คลาสแมมมาเลีย  

      :: แบบฝึกที่ 7.1

Download เอกสารเผยแพร่

กลับหน้าหลัก

----------------------๐๐๐--------------------
๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

 

 

คลาสแมมมาเลีย (Class Mammalia)

            เรียกสัตว์ในคลาสนี้ว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (mammal)  ได้มีวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานตั้งแต่มหายุคมีโซโซอิก เมื่อไดโนเสาร์เริ่มสูญพันธุ์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเริ่มแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว  ลักษณะสำคัญ สัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยน้านม ร่างกายปกคลุมด้วยขน (hair) มีต่อมเหงื่อ ส่วนของกะโหลกที่เชื่อมกับกระดูกคอมีลักษณะเป็นปุ่มคู่ (2 occipital condyles) มีกระดูกหู 3 ชิ้น  มีเพดานปากด้านในที่แยกช่องจมูกออกจากช่องปาก  ฟันมี 2 ชุด คือ ฟันน้ำนมและฟันแท้ และมีลักษณะต่างกันตามการใช้งาน มีรยางค์ 2 คู่ หัวใจมี 4 ห้อง มีกระบังลมกั้นแยกระหว่างช่องอกและช่องท้อง สมองพัฒนาดีมาก มี
โวคอลคอร์ด (vocal cord) เป็นแหล่งกำเนิดเสียง  มีอุณหภูมิร่างกายคงที่เกิดจากการสร้างพลังงานภายใน มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นภายใน และมีการแยกเพศออกจากกัน      

ภาพแสดงส่วนของกะโหลกที่ต่อกับกระดูกคอมีลักษณะเป็นปุ่มคู่
(ที่มา: http://www.sysp.ac.th/files/1403271111004763_14042614140852.pdf)

 

ภาพแสดงภาพหูมีกระดูกหู 3 ชิ้น
(ที่มา: http://www.sysp.ac.th/files/1403271111004763_14042614140852.pdf)

 

ภาพ แสดงเพดานปากด้านในที่แยกช่องจมูกออกจากช่องปากออกจากกัน
(ที่มา: http://www.sysp.ac.th/files/1403271111004763_14042614140852.pdf)

 

ภาพ แสดง vocal cord เป็นแหล่งกำเนิดเสียงและมีสมองพัฒนาดี
(ที่มา: http://www.sysp.ac.th/files/1403271111004763_14042614140852.pdf)

 

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในปัจจุบันแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
          กลุ่มมอโนทรีม (Monotremes) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีลักษณะ โบราณคือ ออกลูกเป็นไข่ แต่มีขนและต่อมน้ำนม ตัวอ่อนฟักออกจากไข่ แล้วเลียน้ำนมบริเวณหน้าท้องของแม่กิน รูขับถ่าย สืบพันธุ์และปัสสาวะเป็นรูเดียวกัน  ได้แก่ตุ่นปากเป็ด(Duck-billed Platypus) และตัวกินมดมีหนาม(Echidna) เป็นสัตว์ที่พบเฉพาะในประเทศออสเตรเลีย และ นิวกีนี เท่านั้น

          กลุ่มมาร์ซูเพียล (Marsupials) เป็นสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้อง (Marsupial) ลูกอ่อนอยู่ในกระเป๋าหน้าท้อง มีรกแต่ไม่พัฒนา สัตว์ในกลุ่มนี้มีวิวัฒนาการขนานไปกับกลุ่ม Euthelians สัตว์กลุ่มนี้จะตั้งท้องในระยะเวลาที่สั้นมาก ทำให้ลูกอ่อนที่คลอดออกมามีขนาดเล็กและจะคลานเข้าไปอยู่ในถุงหน้าท้องของแม่ซึ่งภายในจะมีต่อมน้ำนม ที่มีหัวนมสำหรับให้ลูกอ่อนดูดนม ลูกจะอยู่ในถุงหน้าท้องจนกว่าจะเจริญเติบโตเต็มที่จึงจะออกจากถุงหน้าท้องของแม่ สัตว์กลุ่มนี้ เช่น โอพอสซัม (opossum) ,จิงโจ้ (Kangaroo) ,โคอาลา(Koala) และ วอมแบทธรรมดา (Common Wombat)เป็นต้น

          กลุ่มยูเทเรียน (Eutherians) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรกอย่างแท้จริง มีวิวัฒนาการเกิดขึ้นในยุคครีเทเชียส เมื่อประมาณ 100 ล้านปีที่ผ่านมา ยูเทเรียนมีระยะเวลาในการตั้งท้องนานกว่ามาร์ซูเพียล ตัวอ่อนจะมีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ภายในมดลูกของแม่ และได้รับสารอาหารจากแม่ผ่านทางรก ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนใหญ่ รวมทั้งสัตว์กลุ่มไพรเมต

          ไพรเมต (primate) เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ขนาดใหญ่ ได้แก่ ลิงลม กระแต ลิง ชะนี อุรังอุตัง ชิมแปนซี และมนุษย์ สัตว์กลุ่มนี้มีมือและเท้าสำหรับยึดเกาะ นิ้วหัวแม่มือพับขวางได้  มีสมองขนาดใหญ่ มีขากรรไกรสั้น ทำให้ใบหน้าแบน มีตาที่ใช้มอง ไปข้างหน้า มีเล็บแบนทั้งนิ้วมือและนิ้วเท้า ซึ่งพัฒนาดีกว่าอุ้งเล็บในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ชนิดอื่น มีพฤติกรรมในการเลี้ยงลูกอ่อนและพฤติกรรมทางสังคมที่ซับซ้อนกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่มอื่น

          สัตว์ในกลุ่มไพรเมตมีวิวัฒนาการแบ่งออกเป็น 2 สาย คือ โพรซิเมียน (Prosimian) และ แอนโทรพอยด์ (Anthropoid)
          โพรซิเมียน เป็นสัตว์กลุ่มไพรเมตระยะเริ่มแรกที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ ลำตัวมีขนาดเล็กตากลมโต มีนิ้ว 4 นิ้ว และออกหากินเวลากลางคืน สัตว์ในกลุ่มนี้ได้แก่ ลิงทาร์ซิเออร์ พบอยู่ในเขตร้อนแถบแอฟริกา และเอเชียใต้
          แอนโทรพอยด์ เป็นสัตว์กลุ่มไพรเมต มีนิ้ว 5 นิ้ว มองเห็นได้ดีในเวลากลางวันสมองเริ่มมีขนาดใหญ่ และหน้าผากแบน สัตว์กลุ่มนี้ ได้แก่ ลิงมีหาง ลิงไม่มีหาง และมนุษย์

          ลิงมีหาง        
          ลิงมีหาง จากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์พบว่า ลิงมีหาง ได้แก่ ลิงโลกเก่า และลิงโลกใหม่ มีวิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 45 ล้านปีที่ผ่านมา และมีการแพร่กระจายอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน โดยลิงโลกใหม่ทุกชนิดยังคงอาศัยอยู่บนต้นไม้ มีแขนขายาว ใช้ประโยชน์ ในการปีนป่าย และห้อยโหน มีการแพร่กระจายอยู่ตามธรรมชาติเฉพาะทวีปอเมริกากลาง และ อเมริกาใต้ ส่วนลิงโลกเก่าเริ่มมาอาศัยอยู่บนพื้นดิน พบในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ลิงโลกเก่ามีก้นเป็นแผ่น หนังหนา เกลี้ยง ลิงทั้งสองกลุ่มต่างก็เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางวัน อยู่รวมกันเป็นฝูง มีการควบคุมกันโดยใช้พฤติกรรมทางสังคม โดยลิงเพศผู้ที่แข็งแรง เป็นจ่าฝูง และมีอำนาจในการควบคุมฝูงลิงทั้งหมด

         ลิงไม่มีหาง
         ลิงไม่มีหางหรือ เอพ (ape) ได้แก่ ชะนี อุรังอุตัง กอริลลา และชิมแปนซี มีการสืบสายวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษซึ่งเป็นลิงโลกเก่าเมื่อประมาณ 25-30 ล้านปีที่ผ่านมามีแขนยาวแต่ขาสั้นและไม่มีหาง สามารถห้อยโหนไปมาได้ มีเพียงชะนีและอุรังอุตังเท่านั้นที่ยังคงอาศัยอยู่บนต้นไม้ ลิงไม่มีหางมีพัฒนาการทางสมองดีกว่าลิงโลกเก่ามากสมองมีรอยหยักคล้ายคน ทำให้สามารถแสดงพฤติกรรมที่ซับซ้อนได้ มีการสื่อสารระหว่างกลุ่มมีการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมดี มีการอยู่รวมกันเป็นครอบครัว เช่น ชะนี ขณะที่ชิมแปนซี และ กอริลลา จะดำรงชีวิตเป็นฝูงเล็กๆ มีจ่าฝูงเป็นผู้นำ เป็นสัตว์หากินเวลากลางวันและมักสร้างที่อยู่อย่างง่าย 

 

   

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ