การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรโพรทิสตา

อาณาจักรพืช

อาณาจักรฟังไจ

อาณาจักรสัตว์

    :: ความหลากหลายของสัตว์

    :: สัตว์ที่ไม่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง

    :: สัตว์ที่มีเนื้อเยื่อ

           ไฟลัมไนดาเรีย

           ไฟลัมแพลทีเฮลมินทิส

           ไฟลัมมอลลัสคา

           ไฟลัมแอนเนลิดา

           ไฟลัมนีมาโทดา

          ไฟลัมอาร์โทรโพดา

          ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา

           ไฟลัมคอร์ดาตา

    :: แบบฝึกที่ 6.1

    :: แบบฝึกที่ 6.2

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

    :: กลุ่มที่โนโทคอร์ดไม่พัฒนาเป็นกระดูกสันหลัง

    :: กลุ่มที่มีกระดูกสันหลัง 

          ปลากระดูกอ่อน

           ปลากระดูกแข็ง

           คลาสแอมฟิเบีย

           คลาสเรปทิเลีย

           คลาสเอเวส

           คลาสแมมมาเลีย  

      :: แบบฝึกที่ 7.1

Download เอกสารเผยแพร่

กลับหน้าหลัก

----------------------๐๐๐--------------------
๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

 

 

คลาสแอมฟิเบีย (Class Amphibia)

        

          เรียกสัตว์ในคลาสนี้ว่า สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (amphibian) มีลักษณะเฉพาะคือ สัตว์ในกลุ่มนี้ไม่มีถุงน้ำคร่ำ อาศัยทั้งในน้ำและบนบก ผิวเรียบลื่นมีต่อมเมือก ไม่มีเกล็ด หัวและลำตัวเชื่อมกันทำให้ไม่เห็นส่วนคอแต่มีกระดูกคอ 1 ชิ้น มีรูจมูกด้านนอก (nair) 1 คู่เปิดสู่ภายในช่องปาก (choana) ขณะเป็นตัวอ่อนหายใจด้วยเหงือกแต่บางชนิดอาจหายใจด้วยเหงือกตลอดชีวิต เมื่อโตเต็มวัย หายใจด้วยปอดและผิวหนัง มีกระดูกหูชิ้นเดียว อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงตามสิ่งแวดล้อม หัวใจมี 3 ห้อง ปัจจุบันพบประมาณ 4,800 สปีชีส์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ
          1.กลุ่มงูดิน
          2. กลุ่มซาลามานเดอร์
          3. กลุ่มกบ

          กลุ่มเขียดงู (Caecilians) หรืองูดิน  มีลำตัวยาว ไม่มีขา อาศัยทั้งบนดินและในดิน มีตาเล็กมากและบางชนิดตามองไม่เห็น

ภาพ งูดิน
ที่มา :: https://sites.google.com/site/bangchansnake/

 

          กลุ่มซาลามานเดอร์ (salamander) หรือ กระท่างหรือจิ้งจกน้ำ มีลำตัวยาว มีขา 2 คู่ มีหางยาว อาศัยในน้ำและในดินที่มีความเย็นและชื้น

ภาพ กระท่างหรือจิ้งจกน้ำ
ที่มา :: https://twitter.com/mengie/status/547050329527709697

 

          กลุ่มกบ , อึ่งอ่าง, คางคก เป็นสัตว์สะเทินน้าสะเทินบกที่ไม่มีหาง เคลื่อนที่โดยการกระโดด มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างจากที่อาศัยในน้ำมีหางเมื่อขึ้นบกหางจะหายไป ในฤดูแล้งมักจำศีล มีการแยกเพศ สืบพันธุ์โดยการปฏิสนธิภายนอก ตัวอย่างของสัตว์ในกลุ่มนี้ เช่น
กบภูหลวง (Phuloang Frog) ,ปาดดอยอินทนนท์ ( Doi Inthanoon Tree Frog) และจงโคร่ง (Asian Jungle Toad)

ภาพ กบ
ที่มา http://halalinthailand.com/
ภาพ อึ่งอ่าง
ที่มา:: https://pantip.com/topic/30340775
ภาพ คางคก

 

          สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเป็นสัตว์เลือดเย็น มีผิวหนังเปียกชื้นทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส ไม่มีเกล็ดปกคลุม มีการปฏิสนธิภายนอก ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำและหายใจด้วยเหงือกภายนอก เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัย จะดำรงชีวิตบนบกและใช้ปอดในการหายใจ ยกเว้นซาลามานเดอร์ บางชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำตลอดชีวิต
          กบ อึ่งอ่าง คางคก มีขาหลังที่แข็งแรงสามารถ กระโดดได้ไกล นอกจากนี้กบยังสามารถเปลี่ยนสีที่ผิวหนังเพื่อการพรางตัว และอึ่งอ่างสามารถปล่อยสารเมือกจากต่อมที่ใต้ผิวหนัง ทำให้มีความสามารถในการหลบหลีกอันตรายจากผู้ล่าที่มีขนาดใหญ่ได้ดี

 

 

   

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ