การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรโพรทิสตา

อาณาจักรพืช

     :: กำเนิดและลักษณะสำคัญของพืช

     :: แบบฝึกที่ 4.1

     :: ความหลากหลายของพืช

     :: พืชไม่มีท่อลำเลียง

            ไฟลัมเฮปาโทไฟตา

            ไฟลัมแอนโทซีโรไฟตา

            ไฟลัมไบรโอไฟตา

            ประโยชน์ของพืชไม่มีท่อลำเลียง

     :: พืชมีท่อลำเลียง

         พืชมีท่อลำเลียงไร้เมล็ด

         พืชมีท่อลำเลียงมีเมล็ด

     :: แบบฝึกที่ 4.2

อาณาจักรฟังไจ

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

Download เอกสารเผยแพร่

กลับหน้าหลัก

----------------------๐๐๐--------------------
๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

 

 

ไฟลัมเฮปาโทไฟตา(Phylum Hepatophyta)

           

         พืชในไฟลัมนี้นี้ รู้จักกันทั่วไปในชื่อของลิเวอร์เวิร์ต (liverwort) ทั่วโลกมีประมาณ 9,000 ชนิด มักพบขึ้นตามพื้นดิน ก้อนหิน ลำต้นพืชอื่น หรือแม้แต่ใบของพืชอื่น ลิเวอร์เวิร์ตยังไม่มีราก ลำต้นและใบ ต้นที่พบทั่วไปเป็นต้นในระยะ แกมีโทไฟต์ที่มีลักษณะเป็นแบบทัลลัส (thallus) คือ มีลักษณะเป็นแผ่นแบน  หรือเป็นต้นแบบลิฟฟี (leafy)  คือ มีลักษณะที่มีส่วนคล้ายใบเรียงรอบส่วนคล้ายต้น โดยส่วนคล้ายใบมีการบิดตัวให้อยู่ในระนาบเดียวกัน ลักษณะที่โดดเด่นประการหนึ่งของแกมีโทไฟต์ลิเวอร์เวิร์ต คือ มีหยดน้ำมันภายในเซลล์  ซึ่งมีรูปร่างแตกต่างกันไป แกมีโทไฟต์เป็นช่วงที่มีอายุยืนยาว เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม จะสร้างอับเซลล์สืบพันธุ์ซึ่งจะสร้างเซลล์สืบพันธุ์อยู่ภายใน

        ต้นสปอโรไฟต์  เกิดขึ้นหลังจากการปฏิสนธิของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์
เพศเมีย และเจริญอยู่ภายในอับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียบนต้นแกมีโทไฟต์ โดยได้รับอาหารจากต้นแกมีโทไฟต์ตลอดการพัฒนา ต้นสปอโรไฟต์ ลิเวอร์เวิร์ตมีลักษณะคล้ายๆ กัน สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือส่วนโคนที่ฝังอยู่ในต้นแกมีโทไฟต์ ถัดมาเป็นส่วนก้านซึ่งอาจสั้นหรือยาวขึ้นกับชนิด  ลิเวอร์เวิร์ต และส่วนปลายสุดคือ แคปซูล (capsule) หรืออับสปอร์ที่สร้างสปอร์อยู่ภายใน เมื่อต้นสปอโรไฟต์เจริญเต็มที่แล้ว แคปซูลจะแตกออกตามยาวเป็น 4 แนว ทำให้เห็นมีลักษณะเป็นกากบาท เมื่อสปอร์ถูกปลดปล่อยออกจากแคปซูลแล้ว ต้นสปอโรไฟต์จะตายไป ดังนั้น ต้นสปอโรไฟต์ลิเวอร์เวิร์ตจึงมีอายุสั้นมาก ส่วนสปอร์จะเจริญไปเป็นแกมีโทไฟต์ต่อไป

(ก ) (ข)
(ค)

ภาพที่ 4 ลักษณะของพืชในไฟลัมเฮปาโทไฟตา (ก) แกมีโทไฟต์ของลิเวอร์เวิร์ตแบบแผ่นหรือแบบทัลลัส (ข) แกมีโทไฟต์ของลิเวอร์เวิร์ตแบบลิฟฟี (ค) Oil body ภายในเซลล์ของแกมีโทไฟต์เม็ดสีเขียวคือ คลอโพลาสต์

  1. (ที่มา: http://blogs.ubc.ca/biology321/?page_id=74)
  2. (ที่มา:http://www.bio.miami.edu/dana/226/226F08_14print.html)
  3. (ที่มา: (ที่มา:http://www.bio.miami.edu/dana/226/226F08_14print.html)

 

   

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ