การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรโพรทิสตา

อาณาจักรพืช

     :: กำเนิดและลักษณะสำคัญของพืช

     :: แบบฝึกที่ 4.1

     :: ความหลากหลายของพืช

     :: พืชไม่มีท่อลำเลียง

            ไฟลัมเฮปาโทไฟตา

            ไฟลัมแอนโทซีโรไฟตา

            ไฟลัมไบรโอไฟตา

            ประโยชน์ของพืชไม่มีท่อลำเลียง

     :: พืชมีท่อลำเลียง

         พืชมีท่อลำเลียงไร้เมล็ด

         พืชมีท่อลำเลียงมีเมล็ด

     :: แบบฝึกที่ 4.2

อาณาจักรฟังไจ

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

Download เอกสารเผยแพร่

กลับหน้าหลัก

----------------------๐๐๐--------------------
๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

 

 

ไฟลัมไบรโอไฟตา (Phylum Bryophyta)

           

        พืชในไฟลัมนี้ รู้จักกันทั่วไปในชื่อของมอส (moss) ทั่วโลกมีประมาณ 10,000 ชนิด มอสยังไม่มีราก ลำต้น และใบเช่นกัน ต้นที่พบเป็นต้นในระยะแกมีโทไฟต์ ประกอบด้วยส่วนคล้ายต้น มีส่วนคล้ายใบเรียงรอบส่วนคล้ายต้น  บริเวณกลางแผ่นของส่วนคล้ายใบมีเซลล์ซ้อนกันหลายชั้นเซลล์ จึงดูคล้ายเส้นกลางใบ เรียก คอสตา (costa)  ซึ่งอาจยาวตลอดแผ่นใบหรืออาจสั้นมากจนแทบสังเกตไม่เห็นเลยก็ได้ แกมีโทไฟต์เป็นช่วงที่มีอายุยืนเช่นเดียวกับลิเวอร์-เวิร์ตและฮอร์นเวิร์ต

          ส่วนสปอโรไฟต์ของมอสเจริญอยู่บนต้นแกมีโทไฟต์  และได้รับอาหารจากต้นแกมีโทไฟต์ตลอดชีวิตเช่นเดียวกันกับสปอโรไฟต์ของลิเวอร์เวิร์ตและฮอร์นเวิร์ต ต้นสปอโรไฟต์มอสแบ่งออกเป็น 3 ส่วน  คือ ส่วนโคนที่ฝังอยู่ในต้นแกมีโทไฟต์ ส่วนก้านซึ่งอาจสั้นหรือยาวขึ้นกับชนิดของมอสและส่วนแคปซูลหรืออับสปอร์ที่สร้างสปอร์อยู่ภายใน แคปซูลของมอสมีฝาปิด (operculum)  ซึ่งจะหลุดออกเมื่อสปอโรไฟต์เจริญเต็มที่ เมื่อฝาปิดหลุดออกแล้วจะเห็นแผ่นบางๆ เป็นซี่ๆ เรียกเพอริสโทมทีธ (peristome teeth)  เรียงตัวรอบช่องเปิด แผ่น           เพอริสโทมทีธมีจานวน 4-16 แผ่นขึ้นกับชนิดของมอส เมื่อสปอร์ถูกปลดปล่อยออกจากแคปซูลแล้ว สปอร์จะเจริญเป็นแกมีโทไฟต์ ส่วนต้นสปอโรไฟต์จะตายไป ดังนั้น สปอโรไฟต์ของมอสจึงมีอายุสั้นมากเช่นกัน

          

ภาพที่ 6 ลักษณะของพืชในไฟลัมไบรโอไฟตา (ก) แกมีโทไฟต์ (ข) ส่วนคล้ายใบที่มี costa (ค) สปอโรไฟต์ของมอสส์ที่เจริญบนแกมีโทไฟต์ (ง) ฝาปิดที่ปลายแคปซูล (จ) เมื่อฝาปิดหลุดออกเห็น peristome teeth อยู่รอบช่องเปิดของแคปซูล
(ก)-(จ) (ที่มา http://www.satriwit3.ac.th/files/1211201313292364/)

 

ภาพที่ 7 แสดงวงชีวิตแบบสลับของมอส
(ที่มา: http://ecflora.cavehill.uwi.edu/bio_courses/bl14apl/)

 

 

 

 

 

 

   

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ