การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรโพรทิสตา

อาณาจักรพืช

     :: กำเนิดและลักษณะสำคัญของพืช

     :: แบบฝึกที่ 4.1

     :: ความหลากหลายของพืช

     :: พืชไม่มีท่อลำเลียง

            ไฟลัมเฮปาโทไฟตา

            ไฟลัมแอนโทซีโรไฟตา

            ไฟลัมไบรโอไฟตา

            ประโยชน์ของพืชไม่มีท่อลำเลียง

     :: พืชมีท่อลำเลียง

         พืชมีท่อลำเลียงไร้เมล็ด

                ๐ไฟลัมไลโคไฟตา

                ๐ไฟลัมเทอโรไฟตา

         พืชมีท่อลำเลียงมีเมล็ด

     :: แบบฝึกที่ 4.2

อาณาจักรฟังไจ

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

Download เอกสารเผยแพร่

กลับหน้าหลัก

----------------------๐๐๐--------------------
๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

 

 

พืชมีท่อลำเลียง (Vascular plant)            

        

        พืชที่มีท่อลำเลียงเป็นพืชกลุ่มที่พบมากที่สุดคือ ประมาณ 250,000 ชนิด พืชกลุ่มนี้แตกต่างจาก
กลุ่มที่ไม่มีท่อลำเลียง์คือ มีขนาดใหญ่ อาศัยอยู่บนพื้นดินที่ไม่จำเป็นต้องชื้นแฉะมากเป็นส่วนใหญ่
มีการพัฒนาเนื้อเยื่อไปเป็นใบที่ทำหน้าที่รับพลังงานแสง มีรากที่ช่วยในการยึดเกาะและดูดน้ำและแร่ธาตุต่าง ๆ
มีการพัฒนาระบบท่อลำเลียง (Vascular system) และเพื่อเป็นการช่วยค้ำจุนท่อลำเลียงของพืชจึงต้องมีเนื้อเยื่อที่เสริม
ให้ความแข็งแรงคือ Ligninified tissue ซึ่งพบในผนังเซลล์ชั้นที่สอง (Secondary wall) เนื้อเยื่อลำเลียงสามารถ
ลำเลียงน้ำและสารอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืชได้ตลอดทุกส่วนของพืช นอกจากนั้นเนื้อเยื่อผิวยังทำหน้าที่
แลกเปลี่ยนแก๊สและป้องการสูญเสียน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ แบ่งเป็น

1. พืชมีเนื้อเยื่อลำเลียงที่ไม่มีเมล็ด (Seedless vascular plant)

        จากหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ ของพืชคือ คุกโซเนีย (Cooksonia sp.) มีอายุประมาณ 400 ล้านปี
ในช่วงต้นยุคซิลูเรียน สันนิษฐานว่าพืชที่มีท่อลำเลียงกลุ่มแรกและมีวิวัฒนาการกลาย
เป็นกลุ่มพืชที่มีท่อลำเลียง กลุ่มแรกและมีวิวัฒนาการกลายเป็นกลุ่มพืชที่มีท่อลำเลียงอื่นๆ
กลุ่มพืชมีท่อลำเลียงที่ไร้เมล็ดประกอบด้วย เฟินแท้ และกลุ่มใกล้เคียงเฟิน พืชกลุ่มนี้มีราก ลำต้นและใบที่แท้จริง
แกมีโทไฟต์และสปอโรไฟต์ เจริญแยกกันหรืออยู่รวมกันในช่วงสั้นๆโดย แกมีโทไฟต์จะมีช่วงชีวิตสั้นกว่าสปอโรไฟต์
จากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ของพืชโบราณพบว่ารากของพืชกลุ่มนี้อาจจะวิวัฒนาการมาจากลำต้นส่วนล่าง
หรือส่วนที่อยู่ใต้ดิน ของพืช มีท่อลำเลียงโบราณนั่นเอง พืชมีท่อลำเลียงที่ไร้เมล็ดที่พบในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ไฟลัม
ดังนี้

         ไฟลัมไลโคไฟตา (Phylum Lycophyta)
         ไฟลัมเทอโรไฟตา (Phylum Pterophyta)

2. พืชที่มีท่อลำเลียงที่มีเมล็ด (seed plant)

          พืชมีเนื้อเยื่อลำเลียงที่มีเมล็ดพวกแรกเกิดเมื่อประมาณ360ล้านปี  ในช่วงปลายของยุคดีโวเนียนและพบแพร่กระจาย
มากในยุคคาร์บอนิเฟอรัส  มีโครงสร้างสืบพันธุ์ที่แตกต่างจากพืชกลุ่มที่กล่าวมาแล้ว  โดยเซลล์ไข่เจริญอยู่ในออวุล 
 เชื่อกันว่าน่าจะมีวิวัฒนาการมาจากอับสปอร์ที่มีเนื้อเยื่อพิเศษมาหุ้ม   ซึ่งอาจมี 1 หรือ 2 ชั้น นอกจากนี้พืชมีเมล็ด
ยังมีการปรับตัวในการสืบพันธุ์ที่ไม่ต้องอาศัยน้ำ  โดยการสร้างละอองเรณูที่มีสเปิร์มอยู่ภายใน  เมื่ออับสปอร์แตกออก 
 ละอองเรณูจะกระจายไปตกที่ออวุล  โดยอาศัยลมหรือสัตว์เป็นพาหะ  เมื่อเกิด
การปฏิสนธิแล้วออวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด 

 

 

 

          

 

          

 

   

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ