การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

     :: ความหลากหลายทางชีวภาพ

     :: แบบฝึกที่ 1.1

     :: การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต

     :: ชื่อของสิ่งมีชีวิต

     :: การระบุชนิดของสิ่งมีชีวิต

     :: แบบฝึกที่ 1.2

     :: กำเนิดของชีวิต

     :: กำเนิดเซลล์โพรคาริโอต,เซลล์ยูคาริโอต

     :: แบบฝึกที่ 1.3

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรโพรทิสตา

อาณาจักรพืช

อาณาจักรฟังไจ

       :: ลักษณะสำคัญของฟังไจ

       :: ความหลากหลายของฟังไจ

            ไฟลัมไคทริดิโอไมโคตา

            ไฟลัมไซโกไมโคตา

             ไฟลัมแอสโคไมโคตา

             ไฟลัมเบสิดิโอไมโคตา         

         :: แบบฝึกที่ 5.1  

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

Download เอกสารเผยแพร่

กลับหน้าหลัก

 

 

 

ความหลากหลายของอาณาจักรฟังไจ

          

          จากหลักฐานทางชีวโมเลกุล พิสูจน์ให้เห็นว่าอาณาจักรฟังไจมีวิวัฒนาการใกล้ชิดกับอาณาจักรสัตว์มากกว่าอาณาจักรพืช และมีบรรพบุรุษร่วมกับสิ่งมีชีวิตจาพวกโพรติสต์(protists)
ฟังไจมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและแบบไม่อาศัยเพศโดยการสร้างสปอร์ การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรฟังไจ โดยอาศัยลักษณะการสร้างสปอร์ที่เกิดจากการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเป็นเกณฑ์ แต่ยังมีฟังไจอีกหลายชนิดที่ยังไม่พบระยะที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ และไม่สามารถจัดอยู่ไฟลัมใดได้ จึงจัดไว้เป็นฟังไจอิมเพอร์เฟคไท (fungi imperfecti) หมายถึง กลุ่มของราหลายชนิดที่ไม่พบว่ามีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ หรือ ไฟลัมดิวเทอโรไมโคตา(Phylum Deuteromycota) ซึ่งฟังไจกลุ่มนี้จะสร้างสปอร์ไม่ทราบว่าชนิดใดเนื่องจากนิวเคลียสของสปอร์หลอมรวมกัน (พบว่าส่วนใหญ่ดูเหมือนเป็นพวกแอสโคสปอร์)  กลุ่มของราหลายชนิดที่ไม่พบว่ามีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้แก่ ราที่นำมาผลิตเพนิซิลลิน(Penicilium sp.) ราที่ใช้ผลิตกรดซิตริก (Aspergillus niger) รวมทั้งราที่ใช้ผลิตเนยแข็ง ราที่ทำให้เกิดโรคกลากเกลื้อน เท้าเปื่อย เป็นต้น


          เมื่อจัดจำแนกฟังไจออกเป็นไฟลัมตามลักษณะการสร้างสปอร์ ในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ และจากการวิเคราะห์ลำดับเบสของฟังไจ ทำให้สามารถแบ่งฟังไจออกเป็น 4 ไฟลัม ดังนี้
          1. ไฟลัมไคทริดิโอไมโคตา (Phylum Chytridiomycota)
          2. ไฟลัมไซโกไมโคตา (Phylum Zygomycota)
          3. ไฟลัมแอสโคไมโคตา (Phylum Ascomycota)
          4. ไฟลัมเบสิดิโอไมโคตา (Phylum Basidiomycota)

 

 

   

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ