การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรโพรทิสตา

อาณาจักรพืช

     :: กำเนิดและลักษณะสำคัญของพืช

     :: แบบฝึกที่ 4.1

     :: ความหลากหลายของพืช

     :: พืชไม่มีท่อลำเลียง

            ไฟลัมเฮปาโทไฟตา

            ไฟลัมแอนโทซีโรไฟตา

            ไฟลัมไบรโอไฟตา

            ประโยชน์ของพืชไม่มีท่อลำเลียง

     :: พืชมีท่อลำเลียง

         พืชมีท่อลำเลียงไร้เมล็ด

               ๐ไฟลัมไลโคไฟตา

               ๐ไฟลัมเทอโรไฟตา

               ๐ ประโยชน์ของพืชมีท่อลำเลียงไร้เมล็ด
               

         พืชมีท่อลำเลียงมีเมล็ด

     :: แบบฝึกที่ 4.2

อาณาจักรฟังไจ

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

Download เอกสารเผยแพร่

กลับหน้าหลัก

 

 

 

ไฟลัมไลโคไฟตา (Phylum Lycophyta)

       

         เป็นพืชที่มีใบ ราก ลำต้นที่แท้จริง แต่ใบมีขนาดเล็กมีเส้นใบ 1 เส้น ส่วนใหญ่เป็นพืชที่มีอายุหลายปี (perennial) มีอยู่ประมาณ 200 ชนิด ส่วนใหญ่สูญพันธุ์ไปแล้วที่ยังเหลือและรู้จักกันในปัจจุบัน คือ

          ไลโคโพเดียม (Lycopodium) ที่พบเห็นนั้นเป็นระยะ สปอโรไฟต์ จัดเป็นพืชล้มลุกมีทั้งชนิดที่เลื้อย ไปตามดิน ชนิดที่ตั้งตรง และชนิดที่เกาะอยู่กับต้นไม้อื่นๆ ใบของไลโคโพเดียมเป็นใบแท้ เป็นแผ่นสีเขียวขนาดเล็กเรียงตัวคลุม
รอบต้น มีรากเป็นรากแบบพิเศษ (Adventitious root) โดยงอกออกจากลำต้น ส่วนที่อยู่ติดกับดิน อวัยวะสืบพันธุ์ของไลโคโพเดียมเรียกว่า สโตรบิลัส (Strobilus) อยู่ที่ปลายกิ่งในสโตรบิลัสมีอับสปอร์มากมาย ทำหน้าที่สร้างสปอร์โดยวิธีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซีส ของเซลล์แม่ของสปอร์ (spore mother cell) ได้ 4 สปอร์
ที่เหมือนกัน ไลโคโพเดียมที่สำคัญคือ

Lycopodium cernuum       คือ สามร้อยยอด หรือหญ้านางรัง
Lycopodium squarrosum  คือ สร้อยหางสิงห์
Lycopodium phlegmaria   คือ สร้อยนางกี่
Lycopodium carinatum    คือ ช้องนางคลี่ หรือ สร้อยนารี

(ก) (ข)
(ค) (ง)

ภาพที่ 8 แสดงพืชกลุ่มไลโคโพเดียม (ก)สามร้อยยอด   (ข)สร้อยหางสิงห์  (ค) สร้อยนางกี่
(ง)ช้องนางคลี่  (ก) (ที่มา :http://www.samunpri.com)
(ข) (ที่มา :https://it.wikipedia.org/wiki/Lycopodium_squarrosum)
(ค) (ที่มา : http://www.apodagis.com/Ferns/Huperzia_sp)
(ง) (ที่มา:http://www.worldwidefieldguide.com/picture.php?)

          ซีแลกจิเนลลา (Selagenella) หรือ เรียกกันตามภาษาถิ่นว่า ตีนตุกแก, พ่อค้าตีเมีย, หญ้าร้องไห้, เฟือยนก ทั้งหมดนี้จัดเป็นซีแลกจิเนลลา เหมือนกัน ซีแลกจิเนลลา มีลักษณะคล้ายๆกับไลโคโพเดียม  ลำต้นแตกแขนง
เป็น 2 แฉก อาจเป็นชนิดตั้งตรงหรือเลื้อยไปตามดิน มีใบขนาดเล็กเรียงเป็น 4 แถว ตามความยาวของลำต้น /
ที่โคนมีลิกูล (ligule) ซึ่งมีลักษณะคล้ายใบเกล็ด ติดอยู่ในไลโคโพเดียมไม่มี บริเวณปลายกิ่งมีสโตรบิลัส
ซึ่งมีอับสปอร์ 2 ชนิด คือ      เมกะสปอแรงเจียม (megasporangium) มีขนาดใหญ่ทำหน้าที่สร้างเมกะสปอร์ (megaspore)ซึ่งต่อไปจะเจริญไปเป็นแกมีโทไฟต์เพศเมีย สร้างไข่ ส่วนอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า   ไมโครสปอแรงเจียม (microsporangium) มีขนาดเล็ก ซึ่งต่อไปจะเจริญไปเป็นแกมีโทไฟต์ เพศผู้สร้างสเปิร์ม

ภาพที่ 9 แสดงต้นตีนตุ๊กแก
ที่มา: (http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/192863.jpg)

          กระเทียมน้ำ (Isoetes) เป็นพืชที่ขึ้นในที่ร่มมีน้ำขังตื้นๆ จึงจัดเป็นพวกพืชน้ำ พบเหลืออยู่เพียงชนิดเดียว ลำต้นมีลักษณะเป็นกอ อยู่ใต้ดินคล้ายหัวรากเป็นแบบรากพิเศษ (adventitious root) ใบมีขนาดเล็กยาวเรียว ส่วนฐานใบกว้างห่อหุ้มอัปสปอร์ ใบมีปากใบและเส้นใบยาวตลอดใบ ภายในใบมีช่องอากาศ ช่วยในการหายใจ
และลอยน้ำ

(ก)
(ข) (ค)

ภาพที่ 10 (ก)แสดงวงชีวิตของกระเทียมน้ำ (ข)ต้นกระเทียมน้ำ (ค) เมกะสปอร์ของกระเทียมน้ำ
(ก)-(ค) (ที่มา: http://cfb.unh.edu/phycokey/Choices/Anomalous_Items)

 

   

   

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ