การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรโพรทิสตา

อาณาจักรพืช

     :: กำเนิดและลักษณะสำคัญของพืช

     :: แบบฝึกที่ 4.1

     :: ความหลากหลายของพืช

     :: พืชไม่มีท่อลำเลียง

            ไฟลัมเฮปาโทไฟตา

            ไฟลัมแอนโทซีโรไฟตา

            ไฟลัมไบรโอไฟตา

            ประโยชน์ของพืชไม่มีท่อลำเลียง

     :: พืชมีท่อลำเลียง

         พืชมีท่อลำเลียงไร้เมล็ด

                ๐ไฟลัมไลโคไฟตา

                ๐ไฟลัมเทอโรไฟตา

                ๐ ประโยชน์ของพืชมีท่อลำเลียงไร้เมล็ด

         พืชมีท่อลำเลียงมีเมล็ด

     :: แบบฝึกที่ 4.2

อาณาจักรฟังไจ

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

Download เอกสารเผยแพร่

กลับหน้าหลัก

----------------------๐๐๐--------------------
๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

 

 

ไฟลัมเทอโรไฟตา (Phylum Pterophyta)

       

          ตัวอย่างของพืชกลุ่มนี้ ได้แก่ หวายทะนอย หญ้าถอดปล้อง และเฟิน

          หวายทะนอย หรือ ไซโลตัม (Psilotum sp.) ลักษณะของไซโลตัม คือ มีลำต้นใต้ดินเรียกว่า ไรโซม (rhizome) ไม่มีรากแต่มี ไรซอยด์ (rhizoid) ซึ่งประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียวปกคลุมอยู่ และทำหน้าที่แทนราก ส่วนที่อยู่เหนือดินเรียกแอเลียลสเตม (aerial stem) มีลักษณะเป็นเหมือนเส้นแส้ แตกกิ่งแบบไดโคโตมัส มีลักษณะเป็นเหลี่ยมทำหน้าที่สังเคราะห์แสง ไม่มีใบ แต่มี สเกลลีฟ (scale leaf) ซึ่งประกอบด้วยเซลล์พาเรงคิมา (parenchymas cell) และไม่มีท่อลำเลียงจึงไม่จัดว่าเป็นใบ เมื่อไซโลตัมเจริญเต็มที่จะสร้างอัปสปอร์ (sporangium) มีลักษณะเป็น 3 พู (three lobed) ซึ่งจะสร้างสปอร์โดยการแบ่งเซลล์แบบไมโอซีสได้ 4 สปอร์ที่เหมือนกันทั้งหมด (homosporous)

         

(ก) (ข)
(ค)

ภาพที่ 11 (ก) ต้นหวายทะนอย (ข) สเกลลีฟของหวายทะนอย (ค) วงชีวิตของหวายทะนอย
(ก)-(ค) (ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/72360)

     

        หญ้าถอดปล้อง หรือ อีควิเซตัม (Equisetum sp.) เรียกกันตามภาษาถิ่นว่า สนหางม้า หญ้าถอดปล้อง หญ้าหูหนวก หญ้าเหงือก ซึ่งจัดเป็น อีควิเซตัมทั้งสิ้น ลำต้นของพวกนี้มีทั้งชนิดที่อยู่เหนือดิน และใต้ดิน ลำต้นบนดินมีสีเขียวสังเคราะห์ด้วยแสงได้และมีลักษณะเป็นข้อและปล้องอย่างชัดเจน สามารถดึงให้หลุดออกจากกันได้การแตกกิ่งที่เป็นแขนงบริเวณรอบข้อ ทำให้มีลักษณะคล้ายแปรงล้างขวด หรือหางม้าจึงเรียกกันว่า สนหางม้า ที่ผนังเซลล์มีสารพวกซิลิกา (silica) เคลือบอยู่ทำให้หยาบและแข็งใช้ในการทำความสะอาดภาชนะต่างๆได้ดี ใบเป็นใบเกล็ดส่วนโคนจะเชื่อมต่อกัน
เป็นวงรอบข้อ ส่วนปลายใบจะแตกออกและแยกออกจากกัน แต่ละใบมีเส้นใบ 1 เส้น อับสปอร์เกิดเป็นกระจุกที่ปลายกิ่งสั้นๆ เรียกสปอรแรงจิโอฟอร์ (Sporangiophore)ซึ่งอยู่รอบแกนกลางร่วมกันเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า สโตรบิลัส 
ทำหน้าที่สร้างสปอร์ ส่วนลำต้นที่อยู่ใต้ดินอายุน้อย จะสังเคราะห์ด้วยแสงไม่ได้ ลำต้นจึงทำหน้าที่หลักในการสังเคราะห์

(ก) (ข)

ภาพที่ 12  (ก) หญ้าถอดปล้อง (ข) สโตรบิลัสของหญ้าถอดปล้อง
(ก) (ที่มา : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/c/c0/Equisetum)
(ข) (ที่มา : http://cache2.asset-cache.net/gc/77144518-horsetail-spore)

          เฟิน(Fern) พืชในกลุ่มนี้เฟิน มีสมาชิกประมาณ 12,000 ชนิด จัดเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในพืชกลุ่มไม่มีเมล็ด มีความหลากหลายมาก บางชนิดพบอยู่ในเขตร้อน บางชนิดอยู่ในเขตอบอุ่นหรือแม้กระทั่งทะเลทราย จำนวนชนิดของเฟินเริ่มลดลงเนื่องจากความชื้นที่ลดลง และเนื่องจากเฟินเป็นพืชที่มีความหลากหลายมาก บางสกุลมีใบขนาดใหญ่ที่สุดในอาณาจักรพืช เช่น Marattia เป็นสกุลหนึ่งของเฟินต้น มีใบยาวถึง 9 เมตร กว้างประมาณ 4.5เมตร นอกจากนี้ยังมี เฟินสกุลอื่นที่อาศัยอยู่ในน้ำ เช่น Salvinia (จอกหูหนู) และ Azolla (แหนแดง) มีใบขนาดเล็กมาก ส่วนเฟินที่นิยมนำมาเป็นตัวอย่างในการศึกษาถึงลักษณะทั่วไปของเฟินมักอยู่ใน Order Filicales มีสมาชิก
ประมาณ 10,000 เช่น Pteridium aquilinum

ภาพที่ 13 แสดงต้น Marattia salicina
(ที่มา : http://www.subtropicals.co.nz/fernms.jpg)

          เฟินที่ขึ้นอยู่ทั่วไปนั้นเป็นต้นสปอโรไฟต์ เป็นพืชที่มีท่อลำเลียงแต่ไม่มีแคมเบียมและเนื้อไม้ ลักษณะทั่วไป
ของเฟินคือ มีราก เป็นรากที่แตกออกจากลำต้นจึงเจริญเป็นรากวิสามัญ (Adventition root) มีลำต้นเรียกว่า ไรโซม (Rhizome) ไรโซมอาจมีลักษณะตั้งตรงหรือวางทอดขนานกับดิน หรืออาจไหลไปตามผิวดิน การเกิดใบและรากบนไรโซมจะมี 2 แบบคือแบบที่ใบและรากเกิดอยู่คนละด้านของไรโซม โดยจะอยู่ฝั่งตรงข้ามกับบนไรโซมเรียกว่า Dorsiventral construction และแบบที่ 2เป็นแบบที่ไรโซมจะตั้งตรง ส่วนใบและรากจะติดอยู่รอบไรโซมนั้น เรียกว่า  Radial construction ใบเรียกว่าฟรอน (Frond) มีทั้งเส้นใบแตกแบบไดโคโทมัส และแบบร่างแห ใบเจริญจากลำต้นใต้ดินหรือเหง้าซึ่งมี 2 แบบคือ ใบเดี่ยว และใบประกอบมีลักษณะพิเศษคือมีความแก่อ่อนในใบ ๆ เดียวกันนั้นไม่เท่ากัน โคนใบจะแก่กว่าปลายใบจะอ่อนกว่า ทำให้ปลายใบม้วนงอเข้าหาโคนใบเรียกว่า  Circinate vernation  (การเจริญไม่เท่ากันเกิดจาก ผิวด้านล่าง
เจริญเร็วกว่าด้านบน)

(ก) (ข)

ภาพที่  14 การม้วนงอของใบอ่อนของเฟิน ( Circinate vernation )
(ที่มา: http://sparkleberrysprings.com/v-web/b2/images/ferns/ferncircvern.jpg)

          ใบเฟินบางชนิดทำหน้าที่ขยายพันธุ์เช่น บริเวณปลายสุดของใบเกิดเป็นเนื้อเยื่อเจริญและแบ่งตัวให้พืชต้นใหม่เเรียกเฟินแบบนี้ว่า Walking fern (Asplenium rhizophllum )

ภาพที่ 15 แสดงใบที่เกิด Walking fern
(ที่มา : http://www.victorianvilla.com/sims-mitchell/local/nature/ferns)

          นอกจากนี้ใบเฟินยังมีลักษณะพิเศษอีกอย่างคือ ไม่สร้างสตรอบิลัส แต่บริเวณด้านท้องใบสร้างสปอร์  สปอร์อยู่ภายใน Sporangium ซึ่ง Sporangium อาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า Sorus (พหูพจน์ : Sori) บางชนิดจะมีเยื่อบางหุ้มซอรัสไว้ เรียกเยื่อนี้ว่า Indusium การสืบพันธุ์ จะมีพืชต้นสปอโรไฟต์ เด่นกว่าแกมีโตไฟต์ต้นสปอโรไฟต์จะสร้างอับสปอร์ ซึ่งภายในมีสปอร์ อับสปอร์เกิดอยู่ด้านท้องใบ (Abaxial surface หรือLower surface) สปอร์เฟินที่มีรูปร่างคล้ายกันเรียก Homospores แต่ละ Sporangia ล้อมรอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า Annulus ซึ่งมีผนังหนาไม่เท่ากัน ผนังด้านนอกบางมาก และแตกออกเมื่ออากาศแห้งทำให้สปอร์กระจายไปได้ สปอร์จะงอกเป็น Protonema เจริญเป็นแกมมีโตไฟต์รูปร่างคล้ายรูปหัวใจ (Heartshaped) ยึดกับดินโดยใช้ Rhizoid แกมมีโตไฟต์สร้างอวัยวะสืบพันธุ์ทั้ง 2 เพศ จึงจัดเป็น Monoecious โดยArchegonium เกิดบริเวณรอยเว้าตรงกลางของหัวใจ (Apical notch) ฝังลงในแกมมีโตไฟต์ ส่วนAntheridium เกิดบริเวณด้านบน สเปิร์มว่ายมาผสมกับไข่ที่ Archegonium เกิดเป็นสปอร์โรไฟต์ หลังจากนั้นแกมมีโตไฟต์จะสลายไป

ภาพที่ 16 แสดงซอรัส (Sorus) ของเฟิน
(ที่มา : http://www.farngarten.de/images/polypodiumsori3reif.JPG)

 

ภาพที่ 17 แสดงวงชีวิตของเฟิน
(ที่มา : http://cache.eb.com/eb/image?id=72159&rendTypeId=35)

          

          เฟินที่สร้าง Heterospores เช่น Azolla (แหนแดง) มีใบขนาดเล็กมาก อีกสกุลได้แก่  Marsilea (ผักแว่น) จัดเป็นเฟินน้ำ ส่วนของรากฝังอยู่ในโคลนมีเพียงใบเท่านั้นที่ยื่นขึ้นมาเหนือน้ำ สปอร์จะถูกสร้างในโครงสร้างที่เรียกว่า Sporocarps

(ก) (ข)
(ค) (ง)
(จ) (ฉ)
(ช) (ซ)
(ฌ) (ญ)
(ฎ) (ฏ)

ภาพที่ 18 แสดงพืชในกลุ่มเฟิน (ก) เฟินใบมะขาม (ข) ข้าหลวงหลังลาย (ค) ชายผ้าสีดา (ง)ย่านลิเภา (จ)แหนแดง (ฉ) จอกหูหนู  (ช) ผักแว่น (ซ) กูดเกี๊ยะ  (ฌ) กูดน้ำ (ญ) กูดแดงหรือลำเท็ง หรือกูดมอญ (ฎ) ว่านลูกไก่ทอง (ฏ) เฟินนาคราช
(ก) (ที่มา : http://www.wattano.ac.th/wattano/Web_saunpluak)
(ข) (ที่มา : http://p3.s1sf.com/gu/0/ui/0/3338/235811052007014526.jpg)
(ค) (ที่มา : http://frynn.com/wp-content/uploads/2014)
(ง) (ที่มา : http://2.bp.blogspot.com/-mJXbd0GWGWo/TWcnDYF7QuI)
(จ) (ที่มา : http://www.bloggang.com/data/maehianai/picture/1304308644.jpg)
(ฉ) (ที่มา : https://plykong27.files.wordpress.com/2014/09)
(ช) (ที่มา : http://kasettrakonthai.com/wp-content/uploads/2015/04)
(ซ) (ที่มา : https://public.dm2301.livefilestore.com)
(ฌ) (ที่มา : http://www.isaansmile.com/thai_food/pic/pkudumu.jpg)
(ญ) (ที่มา : http://www.bloggang.com/data/plaipanpim/picture/1322378035.jpg)
(ฎ) (ที่มา : http://www.oocities.org/fernparadise/Dicksoniaceae/baromz-03.jpg)
(ฏ) (ที่มา : http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/169447.jpg)

 

 

 

 

   

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ