การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรโพรทิสตา

อาณาจักรพืช

     :: กำเนิดและลักษณะสำคัญของพืช

     :: แบบฝึกที่ 4.1

     :: ความหลากหลายของพืช

     :: พืชไม่มีท่อลำเลียง

            ไฟลัมเฮปาโทไฟตา

            ไฟลัมแอนโทซีโรไฟตา

            ไฟลัมไบรโอไฟตา

            ประโยชน์ของพืชไม่มีท่อลำเลียง

     :: พืชมีท่อลำเลียง

         พืชมีท่อลำเลียงไร้เมล็ด

                ๐ไฟลัมไลโคไฟตา

                ๐ไฟลัมเทอโรไฟตา

                ๐ ประโยชน์ของพืชมีท่อลำเลียงไร้เมล็ด

         พืชมีท่อลำเลียงมีเมล็ด

                ๐ พืชเมล็ดเปลือย

                    < ไฟลัมไซแคโดไฟตา

                    < ไฟลัมกิงโกไฟตา

                    < ไฟลัมโคนิเฟอโรไฟตา

                    < ไฟลัมนีโทไฟตา

                ๐ พืชมีดอก (ไฟลัมแอนโทไฟตา)

     :: แบบฝึกที่ 4.2

อาณาจักรฟังไจ

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

Download เอกสารเผยแพร่

กลับหน้าหลัก

 

 

 

ไฟลัมไซแคโดไฟตา (Phylum Cycadophyta)

       

        เป็นพืชที่เรียกทั่วไปว่า Cycads หรือปรง พบได้ตั้งแต่ยุค  Permian  และแพร่กระจาย
มากในยุค Jurassic ในปัจจุบันเหลือประมาณ 9 สกุล 100 ชนิด ชอบขึ้นในเขตร้อน พบทั่วไปในป่าเต็งรัง ในประเทศไทยพบ 1 สกุลคือ Cycad เช่น C. rumpii (ปรงทะเล) C. siamensis (มะพร้าวเต่า) C. circinalis(มะพร้าวสีดา) C. micholitzii (ปรง) พืชในกลุ่มนี้เป็นพืชบก มีลักษณะคล้ายพวกปาล์ม ลำต้นตรง ไม่มีการแตกกิ่ง อาจมีลำต้นใต้ดิน หรือลำต้นอยู่ใต้ดินทั้งหมด มีแต่ใบที่โผล่ขึ้นเหนือดินเป็นกอ มีการเติบโตช้ามากโดยทั่วไปสูงประมาณ 1 เมตรแต่บางชนิดอาจสูงถึง 18 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ติดกับลำต้นแบบวนเป็นเกลียว ใบมักเป็นกระจุกอยู่ที่ยอดลำต้น ที่ลำต้นส่วนล่าง ๆ จะเห็นรอยแผลเป็นที่ก้านใบเก่าร่วงไป ใบจะมีอายุยืนติดทนนาน ใบอ่อนมีลักษณะคล้ายใบเฟินคือ ม้วนงอ โดยปลายใบย่อยจะม้วนงอเข้าหาแกนกลางของก้านใบ มีการสร้างสปอร์ 2 ชนิดคือ ไมโครสปอร์ จะเกิดอยู่ในไมโครสปอแรนเจียม ซึ่งอยู่บนไมโครสปอโรฟิล และอยู่กันเป็นกลุ่มในสโตรบิลัสเพศผู้ (Male strobilus) ส่วนเมกะสปอร์จะอยู่ในเมกะสปอแรนเจียมซึ่งเกิดอยู่บนเมกะสปอโรฟิลและอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า สโตรบิลัสเพศเมีย (Female strobilus) จะทำหน้าที่สร้างเมกะสปอร์ ซึ่งสโตรบิลัสเพศผู้และสโตรบิลัสเพศเมียจะแยกกันอยู่คนละต้น (Dioecious plant)โดยมักเกิดอยู่ที่ยอดลำต้นเมื่อไข่ในเมกะสปอแรนเจียมได้รับการผสมก็จะเจริญเป็นเมล็ด ปรงมีรากแก้วขนาดใหญ่ มีระบบรากแขนง  และอาจพบ Nastoc หรือ Anabaena อาศัยอยู่ร่วมด้วย วงชีวิตเป็นแบบสลับSporophyte มีขนาดใหญ่เป็นที่อยู่ของ Gametophyte

(ก) (ข)

ภาพที่ 19 แสดงตัวอย่างพืชในไฟลัมไซแคโดไฟตา (ก) C. circinalis (ข) C. siamensis

  1. (ที่มา : http://www.dkimages.com/discover/previews/903/718172.JPG)
  2. (ที่มา: http://www.pacsoa.org.au/cycads/Cycas/siamensis1.jpg)

 

(ก) (ข)

ภาพที่ 20 แสดงสโตรบิลัสพืชกลุ่มไซแคส (ก) โคนตัวผู้ (ข) โคนตัวเมีย

  1. (ที่มา : http://www.pacsoa.org.au/cycads/Cycas/revoluta04.jpg)
  2. (ที่มา: http://www.botany.uga.edu/images/greenhouses/cycad53.jpg)

 

   

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ