การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรโพรทิสตา

อาณาจักรพืช

     :: กำเนิดและลักษณะสำคัญของพืช

     :: แบบฝึกที่ 4.1

     :: ความหลากหลายของพืช

     :: พืชไม่มีท่อลำเลียง

            ไฟลัมเฮปาโทไฟตา

            ไฟลัมแอนโทซีโรไฟตา

            ไฟลัมไบรโอไฟตา

            ประโยชน์ของพืชไม่มีท่อลำเลียง

     :: พืชมีท่อลำเลียง

         พืชมีท่อลำเลียงไร้เมล็ด

                ๐ไฟลัมไลโคไฟตา

                ๐ไฟลัมเทอโรไฟตา

                ๐ ประโยชน์ของพืชมีท่อลำเลียงไร้เมล็ด

         พืชมีท่อลำเลียงมีเมล็ด

                ๐ พืชเมล็ดเปลือย

                    < ไฟลัมไซแคโดไฟตา

                    < ไฟลัมกิงโกไฟตา

                    < ไฟลัมโคนิเฟอโรไฟตา

                    < ไฟลัมนีโทไฟตา

                ๐ พืชมีดอก (ไฟลัมแอนโทไฟตา)

     :: แบบฝึกที่ 4.2

อาณาจักรฟังไจ

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

Download เอกสารเผยแพร่

กลับหน้าหลัก

 

 

 

ไฟลัมนีโทไฟตา (Phylum  Gnetophyta)

       

        เป็นพืชกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีสมาชิกเพียง 3 สกุลคือ Gnetum Ephedra และ Welwitshia
มีลักษณะบางอย่างคล้ายคลึงกับพืชดอก จึงจัดเป็น Gymnosperm ที่มีวิวัฒนาการสูงสุด ส่วนใหญ่พบในเขตแห้งแล้งหรือทะเลทราย บางชนิดพบในเขตร้อนพืชในกลุ่มนี้มีทั้งไม้พุ่ม ไม้เลื้อย ใบเป็นใบเดี่ยวติดกับลำต้นแบบตรงข้ามหรือเรียงรอบข้อ เนื้อไม้มีการเจริญขั้นที่สองและมี เวสเซล โดยทั่วไปจะแยกเป็นต้นเพศผู้และต้นเพศเมีย มีการสร้างอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียบนช่องสโตรบิลัส เพศเมียซึ่งมีออวุลแต่ละออวุลมีนูเซลลัส (Nucellus) ล้อมรอบเซลล์สีบพันธุ์เพศผู้สร้างบนช่อสโตรบิลัสเพศผู้ ผสมพันธุ์แล้วได้เมล็ดที่ต้นอ่อนภายในเมล็ดมีใบเลี้ยง 2 ใบตัวอย่างของพืชกลุ่มนี้ที่พบในประเทศไทยเช่น มะเมื่อย  (Gnetum gnemon L.) วงศ์นี้เป็นวงศ์ที่พืชมีลักษณะเจริญที่สุด พืชมีลักษณะเป็นไม้เลื้อยหรือไม้ยืนต้น เนื้อไม้มีการเจริญขั้นที่สอง ใบเดี่ยวแผ่กว้าง มีเส้นใบเรียงตัวเป็นร่างแห ใบติดกับลำต้นแบบตรงข้าม ต้นแยกเป็นตัวเพศผู้และต้นเพศเมีย สโตรบิลัสมีลักษณะคล้ายช่อดอกแบบสไปค์ พืชวงศ์นี้มีลักษณะใกล้เคียงคล้ายใบเลี้ยงคู่มาก

ภาพที่ 24 แสดงเมล็ดมะเมื่อย และสโตรบิลัสเพศผู้ และสโตรบิลัส เพศเมีย
(ที่มา: http://www.botanik.uni-karlsruhe.de/garten/fotos-knoch/Gnetum)

 

          ส่วน อีเฟดรา (Ephedra) เป็นพืชที่มีลักษณะทั่วไปเป็นไม้พุ่ม ขึ้นอยู่ในที่แห้งแล้งดินทรายอาจสูงถึง 2 เมตร ลำต้นยืดยาวมีสีเขียวเห็นข้อและปล้องชัดเจน ใบเป็นใบเกล็ดที่ข้อลำต้นข้อละ 2 ใบ แบบตรงข้าม หรือแบบรอบข้อ มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์อยู่คนละต้น โดยต้นเพศผู้จะสร้างสโตรบิลัสเพศผู้ ซึ่งประกอบด้วยแบรคซ้อนกันและมีไมโครสปอรโรฟิลที่สร้างอับสปอร์เพศผู้ ส่วนต้นเพศเมียจะสร้างสโตรบิลัสเพศเมียซึ่งประกอบด้วยแบรคที่สร้างออวุลไว้ภายใน ซึ่งหลังจากการผสมพันธุ์ แล้วก็เจริญเป็นเมล็ด Ephedra นี้มีความสำคัญทางการแพทย์เพราะเป็นแหล่งให้สารเอฟฟิดริน (Ephedrine) ซึ่งใช้รักษาโรคหอบหืดเพราะมีฤทธิ์ขยายหลอดลม

          พืชในสกุล เวลวิชเซีย (Welwitschia) มักขึ้นอยู่ตามทะเลทรายแห้งแล้ง ลักษณะลำต้นเป็นทรงแท่งรูปกรวย มีรากยาว มีใบ 2 ใบ ใหญ่ยาวเป็นแถบติดกับลำต้นแบบตรงข้าม เส้นใบเรียงขนาน ใบคู่นี้จะติดกับลำต้นไปจนตลอดชีวิต ซึ่งอาจมากกว่า 100 ปี ใบที่ยาวประมาณ 2 เมตรนี้ จะม้วนงอเป็นริบบิ้น ปลายใบจะเหี่ยวแห้งขาดไปขณะที่ ฐานใบจะงอกออก มาใหม่ในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ อาจแยกเป็นต้นเพศผู้ ซึ่งจะสร้างสโตรบิลัสเพศผู้ ซึ่งมีไมโครสปอร์ ส่วนต้นเพศเมียจะสร้างสโตรบิลัสเพศเมียซึ่งมีออวุล เมื่อผสมพันธุ์จะเจริญเป็นเมล็ด

(ก) (ข)

ภาพที่ 25 (ก) Ephedra  (ข) Welwitschia
(ก)(ที่มา : http://www.naturephoto-cz.com/photos/bilek/ephedra-0134.jpg
(ข)(ที่มา: http://www.biolib.cz/IMG/GAL/18227.jpg)

 

          ประโยชน์ของพืชเมล็ดเปลือย
          พืชกลุ่มปรงนิยมนำมาจัดสวน หรือ สนนำเนื้อไม้มาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่น เช่น ทำเยื่อกระดาษ แปะก๊วยสามารถนำเมล็ดมารับประทาน นอกจากนี้สารสะกัดจากใบแปะก๊วยเชื่อว่าจะช่วยป้องกันและรักษาความสมบูรณ์ของผนังหลอดเลือดฝอย และปรับระบบหมุนเวียนของเลือด ต่อต้านการอักเสบ การบวมได้ และเนื่องจากสารสกัดจากใบแปะก๊วยมีความเป็นพิษต่ำมากจึงนิยมใช้ในผู้ป่วยที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ หรือมีผนังหลอดเลือดแดงทำงานผิดปกติ เพื่อป้องกันการเกิดอัมพาตและใช้กับโรคที่เกี่ยวกับความชราเป็นต้น นอกจากนี้พืชกลุ่มอีเฟดรา (Ephedra) ยังสามารถนำมาสะกัดสารเอฟฟิดริน (Ephedrine) ซึ่งใช้รักษาโรคหอบหืดเพราะมีฤทธิ์ขยายหลอดลมได้

 

   

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ