การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรโพรทิสตา

อาณาจักรพืช

     :: กำเนิดและลักษณะสำคัญของพืช

     :: แบบฝึกที่ 4.1

     :: ความหลากหลายของพืช

     :: พืชไม่มีท่อลำเลียง

            ไฟลัมเฮปาโทไฟตา

            ไฟลัมแอนโทซีโรไฟตา

            ไฟลัมไบรโอไฟตา

            ประโยชน์ของพืชไม่มีท่อลำเลียง

     :: พืชมีท่อลำเลียง

         พืชมีท่อลำเลียงไร้เมล็ด

                ๐ไฟลัมไลโคไฟตา

                ๐ไฟลัมเทอโรไฟตา

                ๐ ประโยชน์ของพืชมีท่อลำเลียงไร้เมล็ด

         พืชมีท่อลำเลียงมีเมล็ด

                ๐ พืชเมล็ดเปลือย

                    < ไฟลัมไซแคโดไฟตา

                    < ไฟลัมกิงโกไฟตา

                    < ไฟลัมโคนิเฟอโรไฟตา

                    < ไฟลัมนีโทไฟตา

                ๐ พืชมีดอก (ไฟลัมแอนโทไฟตา)

     :: แบบฝึกที่ 4.2

อาณาจักรฟังไจ

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

Download เอกสารเผยแพร่

กลับหน้าหลัก

 

 

 

ไฟลัมโคนิเฟอโรไฟตา (Phylum Coniferophyte)

       

         พืชส่วนใหญ่ในคลาสนี้ถูกเรียกว่า Conifer ได้แก่สนชนิดต่าง ๆ ที่แพร่กระจายมาตั้งแต่
ยุค Triassic และ Jurassic จนถึงปัจจุบัน พบได้ตั้งแต่เขตหนาวขั้วโลกจนถึงเขตอบอุ่น และบนภูเขาสูงในเขตร้อนอย่างประเทศไทยเช่น สนสามใบหรือสนเกี๊ยะ สนสองใบ เป็นต้น  ส่วนใหญ่พืชกลุ่มนี้เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและเป็นที่รู้จักกันดีหลายชนิดเช่น สน (Pine)  , ต้นสปรูซ (Spruce) , ต้นเฟอร์(Fir) ,  ต้นซีดาร์(Cedar), ต้นจูนีเปอร์(Juniper), ลาร์ช(Larch) , เฮมล็อก (Hemlock), ไซเปรซ (Cypress) , ต้นยิว (Yew) , เรดวูด (Redwood) ในประเทศไทยพบพืชกลุ่มสน 2 ชนิด คือ สนสองใบ และสนสามใบ หรือที่เรียกกันว่า สนเกี๊ยะ ส่วนพืชกลุ่ม อื่นในไฟลัมนี้ที่พบในประเทศไทย เช่น สนสามปี และพญาไม้ เป็นต้น

        พืชในกลุ่มนี้เนื้อไม้มีการเจริญขั้นที่สอง ใบเรียงตัวติดกับลำต้นแบบวนเป็นเกลียวหรือตรงข้าม ใบมักมีรูปร่างเป็นรูปเข็ม บางชนิดใบมีลักษณะเป็นเกล็ด ใบสีเขียว ระบบรากเป็นรากแก้วมักพบ Mycorhyza ที่รากด้วย ไซเล็มประกอบด้วยเทรคีตเป็นส่วนใหญ่ คอร์เทกซ์ของต้นมักมีน้ำมันหรือยางที่มีกลิ่นเฉพาะ ในการสืบพันธุ์พบว่า สโตรบิลัสเพศผู้และสโตรบิลัสเพศเมียมักเกิดอยู่บนต้นเดียวกัน (Monoecious) สโตรบิลัสเพศเมียประกอบด้วยสเกล (Megasporophyll) ทำหน้าที่สร้างออวุล (Ovuliferous scale) ในแต่ละสโตรบิลัสมีสเกลหลายอัน แต่ละสเกลมักมีออวุล 2 อัน ส่วนสโตรบิลัสเพศผู้จะประกอบด้วยสเกล (Microsporophyll) จำนวนมาก แต่ละสเกลจะมีการ สร้างละอองเกสรตัวผู้อยู่ภายในถุง (Pollensac) เมื่อออวุลได้รับการผสมจะเจริญเป็นเมล็ดที่ภายในมีต้นอ่อนที่มีใบเลี้ยงตั้งแต่ 2 ใบจนถึงเป็นจำนวนมาก

        

(ก) (ข)

ภาพที่ 23  (ก) โคนตัวผู้ (ข) โคนตัวเมีย
(ก-ข) (ที่มา : http://web.gccaz.edu/~lsola/NonFlwr/conif105.htm)

         

 

   

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ