การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรโพรทิสตา

อาณาจักรพืช

     :: กำเนิดและลักษณะสำคัญของพืช

     :: แบบฝึกที่ 4.1

     :: ความหลากหลายของพืช

     :: พืชไม่มีท่อลำเลียง

            ไฟลัมเฮปาโทไฟตา

            ไฟลัมแอนโทซีโรไฟตา

            ไฟลัมไบรโอไฟตา

            ประโยชน์ของพืชไม่มีท่อลำเลียง

     :: พืชมีท่อลำเลียง

         พืชมีท่อลำเลียงไร้เมล็ด

                ๐ไฟลัมไลโคไฟตา

                ๐ไฟลัมเทอโรไฟตา

                ๐ ประโยชน์ของพืชมีท่อลำเลียงไร้เมล็ด

         พืชมีท่อลำเลียงมีเมล็ด

                ๐ พืชเมล็ดเปลือย

                    < ไฟลัมไซแคโดไฟตา

                    < ไฟลัมกิงโกไฟตา

                    < ไฟลัมโคนิเฟอโรไฟตา

                    < ไฟลัมนีโทไฟตา

                ๐ พืชมีดอก (ไฟลัมแอนโทไฟตา)

     :: แบบฝึกที่ 4.2

อาณาจักรฟังไจ

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

Download เอกสารเผยแพร่

กลับหน้าหลัก

----------------------๐๐๐--------------------
๐ พันธมิตร ๐

HSK

MUIC

MSU EPT

 

 

ไฟลัมกิงโกไฟตา (Phylum Ginkgophyta)

       

        พืชกลุ่มนี้ได้แก่ แปะก๊วย (Ginkgo biloba ) หรือที่เรียกว่า Maldenhair tree จัดเป็น
Living fossil อีกชนิดหนึ่งพบได้ตั้งแต่ยุค Permian ปัจจุบันมีเพียงสปีชีส์เดียว คือ
Ginkgo biloba Linn. มีชื่อสามัญว่าแปะก๊วย พบเป็นพืชพื้นเมืองในจีน และญี่ปุ่น และเจริญ แพร่พันธุ์เข้าสู่ยุโรปและอเมริกาในบริเวณอบอุ่นถึงหนาว พืชในกลุ่มนี้เป็นพืชขนาดใหญ่สูงถึง 100 ฟุต มีกิ่งก้านสาขา เนื้อไม้ไม่มีเวสเซล (Vessel)  มัดท่อลำเลียงน้ำมีเทรคีต ใบเป็นใบเดี่ยวรูปพัดที่ยอดของปลายใบมักเว้าลึกเข้ามาในตัวแผ่นใบ ทำให้ดูเหมือนตัวแผ่นใบแยกเป็น 2 ส่วน (Bifid) เส้นใบเห็นชัดว่ามีการแยกสาขาแบบแยกเป็น 2 แฉก (Dichotomous) แต่จะไม่เป็นร่างแห ใบติดกับกิ่งแบบสลับ จัดเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่และผลัดใบ มีต้นแยกเพศกัน ต้นเพศผู้สร้างโคนเพศผู้เป็นกลุ่มแบบหลวมๆ บนปลายกิ่งสั้น และต้นเพศเมียสร้างโคนเพศเมียซึ่งมีออวุลติดอยู่บนก้านชูออวูลบนกิ่ง ก้านละ 2 ออวุล แต่จะมีเพียง 1 ออวุล เท่านั้น ที่เจริญไปเป็นเมล็ด

ภาพที่ 21 แสดงลักษณะใบของแปะก๊วย
(ที่มา: http://www.herbs.org/greenpapers/ginkgo.jpg)

         กิ่งบนลำต้นจะมี 2 ชนิดคือ กิ่งยาว (Long shoot) เป็นกิ่งที่มีใบธรรมดาไม่มีการสร้างอวัยวะที่ใช้ในการสืบพันธุ์ ส่วนกิ่งอีกชนิดหนึ่งคือ กิ่งสั้น (Spur shoot) จะเป็นกิ่งสั้น ๆ มีใบติดอยู่เป็นกลุ่ม และมีการสร้างอวัยวะที่ใช้ในการสืบพันธุ์คือ อวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้เกิดบนช่องสโตรบิลัสเพศผู้ และอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียเกิดบนช่องสโตรบิลัสเพศเมีย ซึ่ง สโตรบิลัสทั้งสองชนิดนี้จะเกิดอยู่คนละต้นกันจึงแยกเป็นต้นเพศผู้และต้นเพศเมีย สโตรบิลัสเพศผู้มีลักษณะเป็นช่อยาวแบบแคทกิน ไม่มีแบรค บนช่อจะมีใบสปอโรฟิลจำนวนมาก ซึ่งแต่ละใบเปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะเป็นก้านชูที่ปลายก้านมีอับสปอร์เพศผู้ 2 อับติดอยู่ ส่วนสโตรบิลัสเพศเมียมีลักษณะเป็นก้านยาว ปลายสุดเห็นออวุลติดอยู่ 2 อัน ซึ่งมักจะเป็นหมันเสีย 1 อัน เมื่อออวุลนี้ได้รับการผสมก็จะเจริญเป็นเมล็ด มีลักษณะคล้ายผล เพราะภายนอกมีเนื้อนุ่ม ต้นอ่อนภายในเมล็ดมีใบเลี้ยง 2 ใบ

(ก) (ข)

ภาพที่ 22 แสดงโคนของต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย (ก) โคนของต้นตัวผู้ (ข) โคนของต้นตัวเมีย
(ก) (ที่มา: http://www.biogang.net/upload_img/biodiversity/biodiversity)
(ข) (ที่มา: http://www.bloggang.com/data/f/fasaiwonmai/picture)

 

   

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ